บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
รายงานการประเมินโครงการการจัดกิจกรรมการเรียนรู้และการบริหารจัดการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนวัดหัวเขาชัยสน มีวัตถุประสงค์ของการประเมินโครงการเพื่อ 1) เพื่อประเมินความเหมาะสมของโครงการในด้านกระบวนการ ได้แก่ การวางแผนการประชาสัมพันธ์ การรับสมัคร การอำนวยความสะดวก การจัดกิจกรรม ปัญหาและอุปสรรคของโครงการ 2) เพื่อประเมินความเหมาะสมของโครงการในด้านปัจจัยนำเข้า ได้แก่ ความพร้อมและความเหมาะสม ด้านบุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ และการบริหารจัดการของโครงการวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 3) เพื่อประเมินด้านสภาพแวดล้อมของโครงการ ได้แก่ วัตถุประสงค์ของโครงการที่สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นและวัตถุประสงค์ของโครงการวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 4) ประเมินผลผลิตของโครงการ (1) ประเมินความสำเร็จโดยภาพรวมของโครงการ (2) ประเมินผลสำเร็จของกิจกรรม (3) ประเมินความพึงพอใจของ ครู กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน และผู้นำชุมชน (4) ประเมินความพึงพอใจของนักเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมิน คือ ครู 8 คน (เลือกเจาะจงเฉพาะครูผู้สอน) กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 6 คน (เลือกเจาะจงเฉพาะบุคคลที่ไม่ได้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารและครูโรงเรียนวัดหัวเขาชัยสน) ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 25 คน (เลือกเจาะจงเฉพาะผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 ) ผู้นำชุมชน 2 คน (เลือกเจาะจงเฉพาะ ผู้ที่ไม่ดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน) นักเรียนจำนวน 40 คน (เลือกเจาะจงเฉพาะนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6)
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ แบบสอบถามลักษณะมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 7 ฉบับ ฉบับที่ 1 ด้านสภาพแวดล้อม มีข้อคำถาม 10 ข้อ สำหรับถามครูและกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับที่ 2 ด้านปัจจัยนำเข้า มีข้อคำถาม 10 ข้อ สำหรับถามครูและกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับที่ 3 ด้านกระบวนการมีข้อคำถาม 10 ข้อ สำหรับถามครูและกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับที่ 4 ด้านผลผลิตเกี่ยวกับความสำเร็จของโครงการ มีข้อคำถาม 10 ข้อ สำหรับถามครู กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้นำชุมชน ฉบับที่ 5 ด้านผลผลิตเกี่ยวกับความสำเร็จ
ของกิจกรรม มีข้อคำถาม 10 ข้อ สำหรับถามครู กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้นำชุมชน ฉบับที่ 6 ด้านความพึงพอใจ มีข้อคำถาม 10 ข้อ สำหรับถามครู กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน และผู้นำชุมชน และฉบับที่ 7 ด้านความพึงพอใจ มีข้อคำถาม 10 ข้อ สำหรับถามนักเรียน
สรุปผลการประเมิน
1. ผลการประเมินในภาพรวมของโครงการ พบว่า ผลการประเมินโครงการในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าทั้ง 4 ด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากที่สุดไปหาน้อยที่สุด ดังนี้ 1) การประเมินด้านกระบวนการ อยู่ในระดับมาก ( = 4.52, S.D. = 0.37) 2) การประเมินด้านสภาพแวดล้อม อยู่ในระดับมาก ( = 4.42, S.D. = 0.41) 3) การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า อยู่ในระดับมาก ( = 4.42, S.D. = 0.41) ซึ่งมีค่าเท่ากัน และ 4) การประเมินด้านผลผลิตโดยรวม อยู่ในระดับมาก ( = 4.42, S.D. = 0.54) เมื่อพิจารณาองค์ประกอบของด้านผลผลิต พบว่า ทุกองค์ประกอบอยู่ในระดับมากเช่นเดียวกัน โดยเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากที่สุดไปหาน้อยที่สุด ได้แก่ 1) ความพึงพอใจของนักเรียน อยู่ในระดับมาก ( = 4.47, S.D. = 0.59) 2) ความพึงพอใจของครู กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียนและผู้นำชุมชน อยู่ในระดับมาก ( = 4.35, S.D. = 0.60) 3) ความสำเร็จของโครงการ อยู่ในระดับมาก ( = 4.42, S.D. = 0.54) และ 4) ความสำเร็จของกิจกรรม อยู่ในระดับมาก ( = 4.29, S.D. = 0.72)
2. ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อม พบว่า ความคิดเห็นของครู และกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในด้านสภาพแวดล้อมของโครงการโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ( = 4.42, S.D. = 0.41) และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ โครงการสอดคล้องกับนโยบายและเป้าหมายของโรงเรียน และหน่วยงานต้นสังกัด โครงการตอบสนองความต้องการของนักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน และความร่วมมือและสนับสนุนจากชุมชน อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.79, S.D. = 0.43 ) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ โรงเรียนมีนโยบายจัดการเรียนรู้ตามกิจกรรมโครงการวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนมีการประชุมเพื่อวางแผนและเตรียมความพร้อมในการดำเนินโครงการ อยู่ในระดับมาก ( = 4.07, S.D. = 0.27)
3. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า ความคิดเห็นของครู และคณะกรรมการ สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในด้านปัจจัยนำเข้า ของโครงการโดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.52, S.D. = 0.37) และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการมีจำนวนและความรู้ ความสามารถเหมาะสม อยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากัน ( = 4.93, S.D. = 0.27) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ วัสดุอุปกรณ์ในการดำเนินงานโครงการมีอย่างเพียงพอ และชุมชนให้ความร่วมมือและสนับสนุนกิจกรรมของโครงการ อยู่ในระดับมาก ( = 4.07, S.D = 0.27)
4. ผลการประเมินด้านกระบวนการ พบว่า ความคิดเห็นของครู และคณะกรรมการ สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในด้านกระบวนการของโครงการโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ( = 4.42, S.D. = 0.54) และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ โรงเรียนมีการวางแผนการดำเนินโครงการทุกขั้นตอน และรายงานผลทุกขั้นตอน อยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากัน ( = 4.71, S.D = 0.47) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ การดำเนินกิจกรรมเป็นไปตามวิธีและขั้นตอนที่ระบุไว้ในโครงการ อยู่ในระดับมาก ( = 4.07, S.D. = 0.47 )
5. ผลการประเมินด้านผลผลิต พบว่า
5.1 ผลการประเมินความสำเร็จของโครงการ พบว่า ความคิดเห็นของครู กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้นำชุมชนในด้านผลผลิต ความสำเร็จของโครงการโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ( = 4.29, S.D. = 0.72) และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ โครงการวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงตอบสนองความต้องการของนักเรียนและชุมชน อยู่ในระดับมาก ( = 4.50, S.D. = 0.63) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ โรงเรียนนำผลผลิตที่ได้จากการจัดกิจกรรมโครงการวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาสนับสนุนโครงการอาหารกลางวัน อยู่ในระดับมาก ( = 4.06, S.D. = 0.85) 5.2 ผลการประเมินความสำเร็จของกิจกรรม พบว่า ความคิดเห็นของครู กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้นำชุมชน ในด้านผลผลิต ผลสำเร็จของกิจกรรมโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.42, S.D. = 0.23) และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ โรงเรียนได้รับผลผลิตจากกิจกรรมการเรียนรู้อย่างเหมาะสมและพอเพียง อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.71, S.D. = 0.54) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจกิจกรรมการขนมไทยใจอิ่มบุญ อยู่ในระดับมาก ( = 4.08, S.D. = 0.59)
5.3 ด้านความพึงพอใจ
5.3.1 ผลการประเมินความพึงพอใจของครู กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน และผู้นำชุมชน พบว่า ความพึงพอใจของครู กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองนักเรียน และผู้นำชุมชน ต่อการดำเนินโครงการวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีความพึงพอใจโดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก ( = 4.36, S.D. = 0.67 ) และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจในการผลิตผลทางการ เกษตรและสามารถนำประสบการณ์ไปใช้ในชีวิตประจำวัน อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.59, S.D. = 0.63 ) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือครูผู้รับผิดชอบโครงการวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีความรู้และพัฒนาทักษะการทำงาน อยู่ในระดับมาก ( = 4.05, S.D. = 0.71)
5.3.2 ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียน พบว่า ความพึงพอใจของนักเรียน ต่อการดำเนินโครงการวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีความพึงพอใจโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.47,S.D. = 0.59) และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อพบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ผู้ปกครองนักเรียนสนับสนุนให้บุตรหลานร่วมกิจกรรมโครงการวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.75, S.D. = 0.49) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุดคือ กิจกรรมในฐานความรู้โครงการวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียน อยู่ในระดับมาก ( = 4.08,S.D. = 0.62)
ข้อเสนอแนะ
1. การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการปฏิรูปการเรียนการสอน ตามนโยบายการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ดังนั้นควรส่งเสริมสนับสนุนให้ครูได้ตระหนักถึงการปฏิรูปการเรียนการสอน โดยการใช้เทคนิคและวิธีการอย่างหลากหลาย โดย
เฉพาะอย่างยิ่งการวางแผนการสอน ครูต้องทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับแนวทางการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาบูรณาการทุกกลุ่มสาระ และจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ให้เป็นปัจจุบัน และสามารถใช้สอนแทนกันได้ โดยผ่านการตรวจสอบจากผู้บริหารหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
2. การมอบหมายให้บุคลากรในโรงเรียนรับผิดชอบ ควรพรรณนางานไว้ด้วย เพื่อผู้ปฏิบัติจะรู้ขอบข่ายของงาน และบุคลากรอื่นสามารถปฏิบัติแทนได้เมื่อมีเหตุจำเป็น
3. นโยบายการจัดการศึกษาของโรงเรียนในแต่ละปีการศึกษา ควรสื่อสารให้ผู้เกี่ยวข้องทราบและเข้าใจตรงกันเพื่อว่า จะมีการตรวจสอบทบทวนนโยบายของโรงเรียน ซึ่งบริบทของสังคมได้เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
4. กิจกรรมต่าง ๆ ของโครงการ ควรปรับปรุงให้เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียนและชุมชน เพื่อเอื้อต่อการเรียนรู้ พร้อมนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน ควรมีการประสานความร่วมมือกับบุคคลและหน่วยงานอื่น ๆ เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่กำหนด ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น และควรกำหนดขั้นตอนในการปฏิบัติให้ชัดเจนและสื่อความหมายที่เข้าใจได้ง่าย พร้อมปฏิบัติได้ทันที
5. การประชาสัมพันธ์โครงการ เป็นสิ่งจำเป็น เพราะชุมชนจะได้ทราบและให้ความร่วมมือ