ชื่อเรื่อง : ผลการเรียนรู้ตามรูปแบบ SLCKEEP Model ร่วมกับบทเรียนบนเครือข่าย
เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณาญาณ
เรื่อง ความหลากหลายทางชีวภาพ
สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสารคามพิทยาคม
ผู้วิจัย : อังคณา ถิรคิลาเวทย์
ตำแหน่ง : ครูชำนาญการพิเศษ
หน่วยงาน : โรงเรียนสารคามพิทยาคม จังหวัดมหาสารคาม
ปีที่ใช้ในการวิจัย : ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีจุดประสงค์เพื่อศึกษาผลการเรียนรู้ตามรูปแบบ SLCKEEP Model ร่วมกับบทเรียนบนเครือข่าย เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ เรื่อง ความหลากหลายทางชีวภาพของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนสารคามพิทยาคม โดยมีวัตถุประสงค์การวิจัย คือ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของกระบวนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ SLCKEEP Model ร่วมกับบทเรียนบนเครือข่ายตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของกระบวนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ SLCKEEP Model ร่วมกับบทเรียนบนเครือข่าย 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนของกระบวนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ SLCKEEP Model ร่วมกับบทเรียนบนเครือข่าย 4) เพื่อส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณโดยวิธีการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ SLCKEEP Model ร่วมกับบทเรียนบนเครือข่าย 5) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของผู้เรียนหลังได้รับการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ SLCKEEP Model ร่วมกับบทเรียนบนเครือข่าย กลุ่มตัวอย่าง คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/7 โรงเรียนสารคามพิทยาคม สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 26 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 40 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบยกกลุ่ม (Cluster Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยการสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย บทเรียนบนเครือข่าย จำนวน 3 หน่วยการเรียนรู้ แผนการจัดการเรียนรู้ที่ใช้การจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ SLCKEEP Model ร่วมกับบทเรียนบนเครือข่าย เรื่อง ความหลากหลายทางชีวภาพ จำนวน 3 หน่วยการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง ความหลากหลายทางชีวภาพ แบบวัดความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณของนักเรียน แบบสอบถามความพึงพอใจในการเรียนด้วยรูปแบบ SLCKEEP Model ร่วมกับบทเรียนบนเครือข่าย เรื่อง ความหลากหลายทางชีวภาพผลการวิจัยพบว่า
1. กระบวนการจัดการเรียนรู้โดยตามรูปแบบ SLCKEEP Model ร่วมกับบทเรียนบนเครือข่าย มีประสิทธิภาพเท่ากับ 77.80/78.06
2. ดัชนีประสิทธิผลของกระบวนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ SLCKEEP Model ร่วมกับบทเรียนบนเครือข่าย 26 มีค่าเท่ากับ 0.5865 นั่นคือ นักเรียนมีความก้าวหน้าเพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 58.65
3. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
4. ผลการส่งเสริมความสามารถในการคิดอย่างมีวิจารณญาณ หลังได้รับกระบวนการจัดการเรียนรู้ตามรูปแบบ SLCKEEP Model ร่วมกับบทเรียนบนเครือข่าย มีค่าเฉลี่ยโดยรวมอยู่ที่ 76.13 ซึ่งอยู่ในระดับดี
5. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ เรื่อง ความหลากหลายทางชีวภาพ โดยใช้การเรียนรู้ตามรูปแบบ SLCKEEP Model ร่วมกับบทเรียนบนเครือข่าย อยู่ในระดับมาก