บทคัดย่อ
การวิจัยและพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนโรงเรียน
นาคดีอนุสรณ์ กำหนดวัตถุประสงค์การวิจัย 1) เพื่อศึกษาสภาพการดำเนินงานการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนโรงเรียนนาคดีอนุสรณ์ 2) เพื่อสร้างรูปแบบการบริหารสถานศึกษา
เพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนโรงเรียนนาคดีอนุสรณ์ 3) เพื่อศึกษาการนำรูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนโรงเรียนนาคดีอนุสรณ์ไปใช้กับกลุ่มเป้าหมาย และ 4) เพื่อพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่เหมะสมในการพัฒนาคุณภาพนักเรียน โรงเรียน นาคดีอนุสรณ์ กำหนดเนื้อหาในการวิจัยเกี่ยวกับรูปแบบการบริหารสถานศึกษา ซึ่งครอบคลุมงาน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการบริหารวิชาการ ด้านการบริหารงบประมาณ ด้านการบริหารงานบุคคล และด้านการบริหารทั่วไป เพื่อการพัฒนาคุณภาพนักเรียนโรงเรียนนาคดีอนุสรณ์ จำนวน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านดี ด้านเก่ง และด้านมีสุขกลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย ผู้บริหารสถานศึกษาโรงเรียนนาคดีอนุสรณ์ ครูโรงเรียน
นาคดีอนุสรณ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนมหาภาพกระจาดทองอุปถัมภ์ ผู้อำนวยการโรงเรียนชุมชน
วัดสาขลา ผู้อำนวยการโรงเรียนอนุบาลเคหะบางพลี (10 ปี สปช.) คณะกรรมการสถานศึกษา
ขั้นพื้นฐานโรงเรียนนาคดีอนุสรณ์ ผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 1 รองผู้อำนวยการสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ
เขต 1 ศึกษานิเทศก์เชี่ยวชาญ ผู้อำนวยการสถานศึกษาเชี่ยวชาญ ตัวแทนนักเรียนโรงเรียน
นาคดีอนุสรณ์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-มัธยมศึกษาปีที่ 3 ตัวแทนผู้ปกครองนักเรียนโรงเรียน
นาคดีอนุสรณ์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-มัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยใช้ระยะเวลาในการวิจัย 2 ปีการศึกษาได้แก่ ปีการศึกษา 2560-2561 มีวิธีดำเนินการวิจัยแบ่งเป็น 4 ขั้นตอน สามารถสรุปผลการวิจัยได้ดังนี้
 
สรุปผลการวิจัย
1. ขั้นตอนที่ 1 การศึกษาสภาพการดำเนินงานการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนโรงเรียนนาคดีอนุสรณ์ พบว่า โดยรวมการดำเนินงานการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนโรงเรียนนาคดีอนุสรณ์อยู่ในระดับการปฏิบัติปานกลาง มีปัญหาและอุปสรรคเกี่ยวกับนโยบายการจัดการศึกษาของรัฐบาลเปลี่ยนแปลงบ่อย ทิศทางการศึกษาไม่แน่นอนทำให้การบริหารจัดการศึกษาขาดความต่อเนื่อง การกระจายอำนาจในการบริหารสถานศึกษา ยังเป็นระบบการสั่งการจากส่วนกลาง การจัดการเรียนการสอนด้วยวิธีการเรียนการสอนที่เรียนแต่ในห้อง ท่องจำตำราเพื่อนำไปสอบแข่งขัน ขาดแคลนครูและบุคลากรทั้งในเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ การจัดสรรเพื่อการศึกษาขาดความเป็นเอกภาพในเชิงปฏิบัติ และหน่วยของสังคม/ชุมชน ไม่มีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเท่าที่ควร ส่วนข้อมูลความต้องการและข้อเสนอแนะเกี่ยวกับแนวทางการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียน ในมุมมองของผู้บริหารและครูโรงเรียนนาคดีอนุสรณ์ พบว่า ด้านบริหารงานวิชาการควรดำเนินการพัฒนาตามแผน ติดตาม ตรวจสอบ เพื่อให้มีการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง ตามความต้องการของสังคม ชุมชนและท้องถิ่น ด้านบริหารงานงบประมาณควรมีการตรวจสอบ ติดตามการใช้งบประมาณ การจัดทำหลักฐานการเบิกจ่าย เผยแพร่ประชาสัมพันธ์ให้ชุมชนรับทราบ ด้านบริหารงานบุคคลควรมีการวางแผนส่งเสริมให้บุคลากรปฏิบัติงานให้เกิดผลสำเร็จตามหลักการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ มีการสรรหาบุคลากรให้เพียงพอ และด้านบริหารงานทั่วไปควรดำเนินการแต่งตั้งบุคลากรที่ทำหน้าที่ดำเนินงานธุรการตามระเบียบที่กำหนดไว้โดยยึด หลักการทำงานที่ความถูกต้อง รวดเร็ว ประหยัด คุ้มค่า เสร็จทันกับเวลางาน ความต้องการและข้อเสนอแนะ ในมุมมองของผู้บริหารสถานศึกษาจากโรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการที่มีการจัดการศึกษาอย่างมีประสิทธิภาพ พบว่า ด้านนโยบายการบริหารจัดการศึกษา ควรเปิดโอกาสให้ผู้มีส่วนได้ส่วนเสียในการจัดการศึกษามีส่วนร่วม ตั้งแต่การร่วมคิด ร่วมทำ ร่วมดำเนินการ ร่วมรับผิดชอบ และร่วมชื่นชมของทุกภาคส่วน ด้านการบริหารงานวิชาการต้องมีการจัดทำหลักสูตรสถานศึกษาและการเรียนการสอนให้สอดคล้องกับนโยบายต้นสังกัด จัดการเรียนการสอน จัดการวัดผลระดับสถานศึกษาและระดับชั้นเรียนให้เหมาะสม ด้านการบริหารงบประมาณ ต้องมีความเป็นอิสระในการบริหารจัดการ มีความคล่องตัว โปร่งใส ตรวจสอบได้ ด้านการบริหารงานบุคคลต้องมีนโยบายส่งเสริมและการพัฒนาครูและบุคลากร ให้มีความรู้ ความสามารถ มีขวัญกำลังใจ ได้รับการยกย่องเชิดชูเกียรติ มีความมั่นคงและก้าวหน้าในวิชาชีพ และผลการวิเคราะห์ข้อมูลสำรวจความพร้อมของโรงเรียนนาคดีอนุสรณ์ ที่จะพัฒนาคุณภาพนักเรียนโรงเรียนนาคดีอนุสรณ์ให้เป็นนักเรียนที่ดี เก่ง และมีความสุข พบว่า สถานศึกษามีความพร้อมในทุกด้าน มีทรัพยากรทางการบริหารด้านงบประมาณ บุคลากร อาคารสถานที่พร้อมอยู่แล้ว ขาดแต่เพียงอำนาจในการบริหารจัดการอย่างเป็นอิสระเท่านั้น
2. ขั้นตอนที่ 2 การสร้างรูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนโรงเรียนนาคดีอนุสรณ์
2.1 การยกร่างรูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนโรงเรียน นาคดีอนุสรณ์ ดำเนินการโดยผู้มีส่วนเกี่ยวข้องภายในในการบริหารสถานศึกษานำข้อมูลที่ได้จากการศึกษาในขั้นตอนที่ 1 มาจัดลำดับความสำคัญและความต้องการ กำหนดตัวเลือก จากนั้นเลือกรูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่เห็นว่าดีที่สุด เหมาะสมที่สุด สอดคล้องกับสภาพความต้องการ สามารถแก้ไขปัญหาได้ โดยมีเป้าหมายสูงสุดในการพัฒนาคุณภาพนักเรียนโรงเรียนนาคดีอนุสรณ์
2.2 การตรวจสอบรูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนโรงเรียน นาคดีอนุสรณ์ ดำเนินการโดยการนำรูปแบบการบริหารฉบับร่างเสนอผู้เชี่ยวชาญ พบว่า รูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนโรงเรียนนาคดีอนุสรณ์ โดยรวมมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ผ่านเกณฑ์มาตรฐาน
3. ผลการนำรูปแบบการบริหารสถานศึกษาเพื่อพัฒนาคุณภาพนักเรียนโรงเรียนนาคดีอนุสรณ์ ไปใช้กับกลุ่มเป้าหมาย พบว่า โดยรวมก่อนการทดลองใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษา คุณภาพนักเรียนโรงเรียนนาคดีอนุสรณ์ อยู่ในระดับการปฏิบัติน้อย เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับการปฏิบัติน้อยทุกด้าน เรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านมีสุข ด้านดี และด้านเก่ง หลังการทดลองใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษา พบว่า คุณภาพนักเรียนโรงเรียน นาคดีอนุสรณ์ อยู่ในระดับการปฏิบัติมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า อยู่ในระดับการปฏิบัติมากทุกด้าน เรียงลำดับจากค่าเฉลี่ยมากไปหาน้อย ดังนี้ ด้านดี ด้านมีสุข และด้านเก่ง
4. ผลการพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่เหมาะสมในการพัฒนาคุณภาพนักเรียนโรงเรียนนาคดีอนุสรณ์ ดำเนินการโดย 1) ประเมินในภาพรวมทั้งหมดเกี่ยวกับรูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่ได้พัฒนาขึ้นมา เพื่อใช้ประกอบการตัดสินใจว่าจะปรับปรุง พัฒนาหรือจะขยายการใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่วงกว้าง (ทั้งโรงเรียน) ต่อไปหรือไม่ 2) ดำเนินการพัฒนารูปแบบการบริหารสถานศึกษาที่เหมาะสมในการพัฒนานักเรียนโรงเรียนนาคดีอนุสรณ์ พบว่า ในภาพรวมตัดสินใจปรับปรุง และพัฒนาเพื่อขยายการใช้รูปแบบการบริหารสถานศึกษาสู่วงกว้างต่อไป