การวิจัยครั้งนี้ มีจุดประสงค์ 1) เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบมุ่งเน้นส่งเสริมทักษะการอ่านจับใจความสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
โรงเรียนบ้านเฉลียง (คุรุราษฎร์บำรุง) 2) เพื่อพัฒนารูปแบบการเรียนรู้ที่ส่งเสริมทักษะการอ่าน
จับใจความสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านเฉลียง (คุรุราษฎร์บำรุง) 3) เพื่อหาประสิทธิภาพรูปแบบการเรียนรู้แบบมุ่งเน้นส่งเสริมทักษะการอ่านจับใจความสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านเฉลียง (คุรุราษฎร์บำรุง) และ 4) เพื่อประเมินความพึงพอใจรูปแบบการเรียนรู้แบบมุ่งเน้นส่งเสริมทักษะการอ่านจับใจความสำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านเฉลียง (คุรุราษฎร์บำรุง) การวิจัยครั้งนี้ใช้กรอบการวิจัยและพัฒนา (Research
and Development) กลุ่มเป้าหมายในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียน
บ้านเฉลียง (คุรุราษฎร์บำรุง) ปีการศึกษา 2561 เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย 1) แบบสำรวจสภาพปัญหาและความต้องการในการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านเฉลียง (คุรุราษฎร์บำรุง) 2) แผนการจัดการเรียนรู้แบบมุ่งเน้นส่งเสริมทักษะการอ่านจับใจความสำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านเฉลียง (คุรุราษฎร์บำรุง) และ
3) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อกิจกรรมการเรียนรู้แบบมุ่งเน้นส่งเสริมทักษะ
การอ่านจับใจความสำหรับนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านเฉลียง (คุรุราษฎร์บำรุง) การวิเคราะห์ข้อมูลสภาพปัญหาและการดำเนินงานโดยนำข้อมูลที่รวบรวมด้วยการวิเคราะห์สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าเฉลี่ยและส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัยพบว่า
1. สภาพปัญหาและต้องการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ของนักเรียนชั้นประถมศึกษา - ปีที่ 4 โรงเรียนบ้านเฉลียง (คุรุราษฎร์บำรุง) คือ นักเรียนขาดความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับทักษะ
การอ่าน อีกทั้งครูยังขาดการอธิบายและยกตัวอย่างให้นักเรียนเกิดความเข้าใจอยู่น้อย และไม่เปิดโอกาสให้มีกิจกรรมฝึกทักษะการปฏิบัติจริง นอกจากนี้กิจกรรมการเรียนการสอนยังขาดสื่อการเรียนการสอน และอุปกรณ์ในการจัดกิจกรรม
2. ผลพัฒนารูปแบบการเรียนรู้แบบมุ่งเน้นส่งเสริมทักษะการอ่านจับใจความสำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนบ้านเฉลียง (คุรุราษฎร์บำรุง) ประกอบด้วย 1) องค์ประกอบของ
การคิดวิเคราะห์ 2) แนวคิดการฝึกเพื่อพัฒนาศักยภาพการคิดสร้างสรรค์ 3) กิจกรรมการเรียนรู้ ขั้นที่ 1 สร้างมโนทัศน์ (Knowledge Concept) ขั้นที่ 2 ปฏิบัติการอ่าน (Active & Finding)
ขั้นที่ 3 พบพานประเด็นความรู้ใหม่ (New Topic & Ideal) ขั้นที่ 4 ตีความสิ่งที่ได้ (Interpretation of Data) ขั้นที่ 5 เติมเต็มให้สมบูรณ์ (Treat & Heal) และขั้นที่ 6 เพิ่มพูนการประยุกต์ใช้ (Apply)