บทคัดย่อ
การวิจัยการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษาโดยใช้ชุมชนเป็นฐานร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการสำหรับการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษาโดยใช้ชุมชนเป็นฐานร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 2) พัฒนารูปแบบการเรียนการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษาโดยใช้ชุมชนเป็นฐานร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 3) ทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอน
สิ่งแวดล้อมศึกษาโดยใช้ชุมชนเป็นฐานร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการใช้รูปแบบการเรียนการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษาโดยใช้ชุมชนเป็นฐานร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในการวิจัยครั้งนี้ใช้วิธีการดำเนินการวิจัยในลักษณะของการวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D ) โดยใช้ระเบียบวิธีการวิจัยแบบผสมผสานวิธี (Mixed Methods Research) ที่มีลักษณะเป็นแบบแผนเชิงผสมผสานแบบรองรับภายใน (The Embedded Design) ด้วยการศึกษาวิธีการเชิงคุณภาพ (Qualitative Methods) เสริมด้วยวิธีการเชิงปริมาณ(Quantitative Methods) มีขั้นตอนการวิจัย 4 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนที่ 1 ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการสำหรับพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษา คือ เอกสารพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3 ) พ.ศ. 2553 หลักสูตรสิ่งแวดล้อมศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เอกสารประเมินผลตามหลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐาน เอกสารแนวคิด ทฤษฏี หลักการ เนื้อหาสาระ รูปแบบ วิธีการและงานวิจัยที่เกี่ยวข้องกับ การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎี การเรียนรู้แบบร่วมมือ ทฤษฎีการสร้างความรู้ และกระบวนการ Active Learning ผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอนวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษาผู้นำชุมชนและนักเรียน ขั้นตอนที่ 2 การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษา แหล่งข้อมูล คือ ผู้เชี่ยวชาญ และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนเทศบาลบ้านหัวหิน
(ประชาธิปถัมถ์) เทศบาลเมืองหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 ขั้นตอนที่ 3 และขั้นตอนที่ 4 การทดลองใช้รูปแบบและการประเมินความพึงพอใจ แหล่งข้อมูล คือ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 โรงเรียนเทศบาลบ้านหัวหิน (ประชาธิปถัมถ์) เทศบาลเมืองหัวหิน จังหวัดประจวบคีรีขันธ์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 1 ห้องเรียน จำนวน 50 คน ได้มาโดยการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) ด้วยการจับสลากห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบวิเคราะห์เอกสาร แบบสัมภาษณ์ รูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ ทฤษฎีการสร้างความรู้ และกระบวนการ Active Learning แผนการจัดการเรียนรู้
แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบวัดทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณ แบบประเมินความสามารถในการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียน สถิติ ที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ( ) ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และค่าสถิติ t-test
ผลการวิจัย พบว่า
1. การศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการสำหรับการพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษาโดยใช้ชุมชนเป็นฐานร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า รูปแบบ การเรียนการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษาโดยใช้ชุมชนเป็นฐานร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปี ที่ 1 เป็นกิจกรรมการเรียนการสอนที่สอดคล้องกับความต้องการของการจัดการศึกษาตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.ศ. 2542 แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 3 ) พ.ศ. 2553 ที่มุ่งสร้างสังคมไทยให้เป็นสังคมแห่งภูมิปัญญาและการเรียนรู้ สร้างโอกาสให้คนไทยทุกคนคิดเป็น ทำเป็น มีเหตุผล สามารถเรียนรู้ได้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต สอดคล้องหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ที่ได้กำหนดสมรรถนะสำคัญของผู้เรียน 5 ประการ ซึ่งสมรรถนะสำคัญประการหนึ่ง คือ เป็นความสามารถในการคิดวิเคราะห์ การคิดสังเคราะห์ การคิดอย่างสร้างสรรค์ การคิดอย่างมีวิจารณญาณ และการคิดเป็นระบบ เพื่อนำไปสู่การสร้างองค์ความรู้หรือสารสนเทศเพื่อการตัดสินใจเกี่ยวกับตนเองและสังคมได้อย่างเหมาะสม สอดคล้องกับการประเมินคุณภาพภายนอกสถานศึกษาระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน รอบ 3 จากสำนักงานรับรองมาตรฐานและประเมินคุณภาพการศึกษาองค์การมหาชน (สมศ.) มาตรฐานที่ 3 ผู้เรียนมีทักษะในการแสวงหาความรู้ด้วยตนเอง รักเรียนรู้ และพัฒนาตนเองอย่างต่อเนื่อง มาตรฐานที่ 5 ผู้เรียนมีความรู้และทักษะที่จำเป็นตามหลักสูตร ตัวบ่งชี้ที่ 5.1 ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนแต่ละกลุ่มสาระ เป็นไปตามเกณฑ์ และตัวบ่งชี้ที่ 5.2 ผลการประเมินสมรรถนะสำคัญตามหลักสูตรเป็นไปตามเกณฑ์ และยังสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริหารสถานศึกษา ครูผู้สอนวิชาสิ่งแวดล้อมศึกษา ผู้เชี่ยวชาญและผู้นำชุมชนที่ต้องการให้รูปแบบการเรียนการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษาโดยใช้ชุมชนเป็นฐานร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ต้องการมุ่งเน้นให้นักเรียนมีความสามารถในการเรียนรู้ได้ในสภาพแวดล้อมต่างๆ โดยนักเรียนเป็นเจ้าของการเรียน รับผิดชอบการเรียนของตนเอง ลงมือปฏิบัติจริง และมีการทำงานร่วมกับผู้อื่น มีมนุษยสัมพันธ์กับบุคคล อื่น ๆ ดังนั้น ความรู้ที่ได้จึงเกิดจากการที่นักเรียนสร้างขึ้นเองจากการทำกิจกรรมการมีปฏิสัมพันธ์กับสิ่งแวดล้อมและบุคคลอื่น ๆ และจากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนนักเรียนจะนำความรู้ใหม่รวมกับความรู้เดิม เกิดเป็นการขยายความรู้ หรือความรู้ใหม่ขึ้นเองที่สามารถนำไปประยุกต์ใช้กับสถานการณ์ต่างๆ ได้พร้อมกับการเกิดชิ้นงานจากการปฏิบัติงานขึ้นและนำเสนอ ต่อชั้นเรียนต่อไป โดยมีกิจกรรมต่าง ๆ เป็นตัวผลักดันให้เกิด
การเรียนรู้ในลักษณะของรูปแบบการเรียนการสอนขึ้น มีองค์ประกอบด้านครูผู้สอนที่มีความรู้ ความสามารถในการปฏิบัติงานและกระบวนการสอนให้นักเรียนฝึกปฏิบัติงานได้ จัดหาสื่อนวัตกรรมที่ส่งเสริมทักษะการปฏิบัติงานของนักเรียนเป็นกลุ่ม ให้นักเรียนได้แสดงความคิดเห็นแลกเปลี่ยนเรียนรู้กันเต็มที่ ด้านรูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎี การเรียนรู้แบบร่วมมือ ทฤษฎีการสร้างความรู้ และกระบวนการ Active Learning มีขั้นตอนการจัดการเรียนการสอนที่ส่งเสริมการปฏิบัติงานไปทีละขั้น นำสถานการณ์ ปัญหา หรือเนื้อหาสาระการเรียนรู้มาให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติ เปิดโอกาสให้นักเรียนได้นำเสนอผลงาน ด้านการประเมินผลได้มีวิธีการวัดผลและประเมินผลที่หลากหลาย ระหว่างเรียน หลังเรียน และต้องการให้รูปแบบการเรียนการสอนนี้เป็นการส่งเสริมพัฒนาทักษะ การคิดอย่างมีวิจารณญาณและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง ของนักเรียนในการที่จะนำไปใช้ในการเรียนและประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้
2. การพัฒนารูปแบบการเรียนการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษาโดยใช้ชุมชนเป็นฐานร่วมกับ
การเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า เป็นรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีชื่อเรียกว่า IPCCE Model โดยมีองค์ประกอบ ดังนี้ หลักการ วัตถุประสงค์ กระบวนการจัดการเรียนรู้ สิ่งที่ ส่งเสริมการเรียนรู้ ระบบสังคม หลักการตอบสนอง ปัจจัยสนับสนุน และเงื่อนไขสำคัญในการใช้ รูปแบบการเรียนการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษาไปใช้ให้ประสบผลสำเร็จใช้โดยรูปแบบการเรียนการสอนที่พัฒนาขึ้นมีกระบวนการเรียนการสอน 5 ขั้นตอน คือ 1) ขั้นระบุประเด็นปัญหา (Identification of problems : I) 2) ขั้นวางแผนดำเนินงาน (Planning process: P) 3) ขั้นสร้างองค์ความรู้ (Creation of Knowledge: C) 4) ขั้นใช้วิจารณญาณเชื่อมโยง (Critical linking steps: C) 5) ขั้นสรุปและประเมินผล (Evaluation ) : E มีผลการตรวจสอบความเหมาะสม/ความสอดคล้องของผู้เชี่ยวชาญด้านโครงสร้าง (Construct Validity)และความเที่ยงตรงของเนื้อหา( Content Validity) ภาษาที่ใช้มีความเหมาะสม/สอดคล้องของประเด็นในการสร้างรูปแบบการเรียนการสอนตามทฤษฎีการเรียนรู้แบบร่วมมือ ทฤษฎีการสร้างความรู้ และกระบวนการ Active Learning อยู่ในระดับมากที่สุดทุกรายการ มีค่าความเหมาะสม/สอดคล้องมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.97 ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) เท่ากับ 0.09
3. การทดลองใช้รูปแบบการเรียนการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษาโดยใช้ชุมชนเป็นฐานร่วมกับ การเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า
3.1 รูปแบบการเรียนการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษาโดยใช้ชุมชนเป็นฐานร่วมกับการเรียนรู้ แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีค่าประสิทธิภาพ E1/E2 = 80.57/81.27 ซึ่งมีค่าประสิทธิภาพ
ตามเกณฑ์ 80/80
3.2 นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังใช้รูปแบบการเรียนการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษาโดยใช้ชุมชนเป็นฐานร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3.3 การประเมินทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณที่เรียนโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษาโดยใช้ชุมชนเป็นฐานร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 25.22 จากคะแนนเต็ม 30 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 84.06 และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D) เท่ากับ 2.24 ผลการประเมินทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณอยู่ในระดับ ดีมาก
3.4 การประเมินความสามารถในการสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเองโดยใช้รูปแบบการเรียนการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษาโดยใช้ชุมชนเป็นฐานร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือเพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 พบว่า มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 43.48 จากคะแนนเต็ม 48 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 90.58 และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ 2.39 ผลการประเมินความสามารถในนความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้
รูปแบบการเรียนการสอนสิ่งแวดล้อมศึกษาโดยใช้ชุมชนเป็นฐานร่วมกับการเรียนรู้แบบร่วมมือ เพื่อส่งเสริมทักษะการคิดอย่างมีวิจารณญาณและสร้างองค์ความรู้ด้วยตนเอง สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุดทุกด้าน