ชื่อผลงานวิจัย รายงานผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องสิ่งมีชีวิตกับ
กระบวนการดำเนินชีวิต ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน
(Problem Based Learning : PBL) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ชื่อผู้วิจัย นายขจรศักดิ์ ไชยศลย์
ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ
สถานที่ติดต่อ โรงเรียนเทศบาล 1 สว่างวิทยา เทศบาลเมืองหนองคาย อำเภอเมือง
จังหวัดหนองคาย
ปีที่ทำวิจัย 2561
บทคัดย่อ
รายงานผลการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องสิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำเนินชีวิตด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning : PBL) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อหาประสิทธิภาพของกิจกรรมการเรียนรู้ วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องสิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำเนินชีวิต ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning : PBL) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องสิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำเนินชีวิต ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning : PBL) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 (3) เพื่อศึกษาความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning : PBL) กับเกณฑ์ร้อยละ 70 และ (4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องสิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำเนินชีวิต ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning : PBL) ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนเทศบาล 1 สว่างวิทยา อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย จำนวนนักเรียน 167 คน กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 /2 จำนวน 34 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนเมืองเทศบาล 1 สว่างวิทยา อำเภอเมือง จังหวัดหนองคาย ได้มาจากการสุ่มแบบเจาะจง (Purposive Sampling)โดยจัดห้องเรียนของโรงเรียนคละความสามารถของผู้เรียน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ (1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องสิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำเนินชีวิต ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning : PBL) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 12 แผน (2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาวิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 30 ข้อ เป็นข้อสอบแบบปรนัยเลือกตอบ 4 ตัวเลือก (3) แบบทดสอบวัดความสามารถในการแก้ปัญหา จำนวน 20 ข้อ และ (4) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ วิชาวิทยาศาสตร์ ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning : PBL) เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า จำนวน 20 ข้อ ผลการวิจัยปรากฏผล ดังนี้
1. กิจกรรมการเรียนรู้ วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องสิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำเนินชีวิต ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning : PBL) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ทั้ง 12 แผนมีประสิทธิภาพ เท่ากับ 85.94 / 86.67 ไปตามเกณฑ์ที่ตั้งไว้ คือ 80/80
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องสิ่งมีชีวิตกับกระบวนการดำเนินชีวิต ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning : PBL) สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีคะแนนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
3. ความสามารถในการแก้ปัญหาของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ตามเกณฑ์นักเรียนจำนวนร้อยละ 70 ของนักเรียนทั้งหมด มีความสามารถในการแก้ปัญหา ร้อยละ 70 ขึ้นไป พบว่าจำนวนนักเรียนทั้งหมด 34 คน ผ่านเกณฑ์ทุกคน คิดเป็นร้อยละ 100 มีคะแนนความสามารถในการแก้ปัญหาเฉลี่ยเท่ากับ 18.06 คะแนน จากคะแนนเต็ม 20 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 90.29 ซึ่งผ่านเกณฑ์ที่กำหนดไว้
4. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ วิชาวิทยาศาสตร์ เรื่องสิ่งมีชีวิตกับการดำเนินชีวิต ด้วยการจัดการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน (Problem Based Learning : PBL) โดยรวมอยู่ในระดับ มาก ( = 4.46 )