ชื่อผลงาน : ผลการพัฒนาชุดฝึกทักษะการอ่านการเขียนคาที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกดไทย
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ โรงเรียนบ้านนิคมสร้างตนเองธารโต
ผู้ศึกษา นางวรรลภา ถาวรสุข
ตาแหน่ง ครู วิทยฐานะ ชานาญการ โรงเรียนบ้านนิคมสร้างตนเองธารโต สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่
การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต ๓
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ ๑) หาประสิทธิภาพชองชุดฝึกทักษะการอ่านการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกดไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษา ปีที่ ๒ โรงเรียนบ้านนิคมสร้างตนเองธารโต ตามเกณฑ์ประสิทธิภาพ ๘๐/๘๐ ๒) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียนด้วยชุดฝึกทักษะการอ่านการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกดไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ โรงเรียน บ้านนิคมสร้างตนเองธารโต และ ๓) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนด้วย ชุดฝึกทักษะการอ่านการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกดไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ โรงเรียนบ้านนิคมสร้างตนเองธารโต ประชากรที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ โรงเรียนบ้านนิคมสร้างตนเองธารโต ในภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๒ จำนวน ๒๗ คน ที่ผู้รายงานเป็นครูผู้สอนและครูประจาชั้น ใช้แบบแผน การศึกษาโดยยึดแบบกลุ่มเดียว วัดผลก่อนและหลังการทดลองเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย ๑) ชุดฝึกทักษะการอ่านการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกดไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ จำนวน ๔ เล่ม ๒) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องการอ่านการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกดไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ จำนวน ๒๒ แผน ๓) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการอ่านการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกดไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ จำนวน ๒๐ ข้อ และ ๔) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อ การเรียนด้วยชุดฝึกทักษะการอ่านการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกดไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ จำนวน ๑๐ ข้อ ดำเนินการศึกษาโดยทำการสอนในชั่วโมงเรียนซ่อมเสริมประจำวัน ในระหว่างเวลา ๑๔.๓๐ น. ๑๕.๓๐ น. ของภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๒ ตั้งแต่วันที่ ๑๐ มิถุนายน ๒๕๖๒ ถึงวันที่ ๙ กรกฎาคม ๒๕๖๒
ใช้เวลาทั้งสิ้น ๒๒ ชั่วโมง ทำการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ค่าสถิติประกอบด้วย ค่าทดสอบประสิทธิภาพ E1/E2 ค่าเฉลี่ยค่าร้อยละ และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการศึกษาพบว่า
๑) ผลการทำกิจกรรมระหว่างเรียนของนักเรียนซึ่งเป็นค่าประสิทธิภาพของกระบวนการ (E1) มีค่าเท่ากับ ๘๑.๗๑ และผลการทดสอบหลังเรียนซึ่งเป็นค่าประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (E2) มีค่าเท่ากับ ๘๓.๑๓ ดังนั้น ชุดฝึกทักษะการอ่านการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกดไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ มีค่าประสิทธิภาพเท่ากับ ๘๑.๗๑/๘๓.๑๓
๒) ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกดไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๘.๖๙ และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ ๒.๐๖ ส่วนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ๑๖.๖๓ และมีค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ ๑.๖๘ โดยมีค่าพัฒนาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนเฉลี่ย ๘.๙๓
๓) ระดับความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดฝึกทักษะการอ่านการเขียนคำ ที่มีตัวสะกดไม่ตรงตามมาตราตัวสะกดไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ ๔.๔๒ ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานเท่ากับ ๐.๕๓