บทคัดย่อ
เรื่อง รายงานการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา
เพื่อพัฒนาทักษะการอ่านและเขียน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ชื่อผู้ศึกษา โสภา จิตหวัง
ระดับชั้น ประถมศึกษาปีที่ 3
สถานศึกษา โรงเรียนวัดบ่วงช้าง
ปีการศึกษา 2560
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษา คือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนวัดบ่วงช้าง ตำบลนาโหนด อำเภอเมือง จังหวัดพัทลุง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 1 จำนวน 21 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาคือ 1) แบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา จำนวน 8 เล่ม 2) แผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 26 แผน 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การอ่านและเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตราเป็นข้อสอบปรนัย จำนวน 30 ข้อ ที่มีค่าความเชื่อมั่นที่ 0.86
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะ E1/E2(80/80) ค่าเฉลี่ย ร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานและสถิติ (t-test)
ผลการศึกษาพบว่า
1. แบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพ 85.95/87.77 สูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ที่กำหนดไว้และเป็นไปตามสมมติฐาน
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังการใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ของประชากรแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐาน
3. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย โดยรวมมีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับมาก คือ (X ̅=4.26) ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐาน