ชื่อเรื่อง ผลการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการด้วยกิจกรรมการปั้นดินน้ำมัน
เพื่อพัฒนากล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัยชั้นเด็กเล็กปีที่ 2 (อายุ 3-4 ปี)
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดโพธิ์ชัยบ้านเว่อ
ชื่อผู้ศึกษา นางยุพาพร โยธาฤทธิ์ ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดโพธิ์ชัยเว่อ สังกัดเทศบาลตำบลบัวบาน
อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์
ปีที่ศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาพัฒนาการความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อ มัดเล็ก ของเด็กปฐมวัยชั้นเด็กเล็กปีที่ 2 (อายุ 3-4 ปี) ที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการด้วยกิจกรรมการปั้นดินน้ำมัน และเปรียบเทียบความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก ของเด็กปฐมวัยชั้นเด็กเล็กปีที่ 1 (อายุ 3-4 ปี) ที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการด้วยกิจกรรมการปั้นดินน้ำมัน ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการด้วยกิจกรรมการปั้นดินน้ำมัน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้คือ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดโพธิ์ชัยบ้านเว่อ สังกัดเทศบาลตำบลบัวบาน อำเภอยางตลาด จังหวัดกาฬสินธุ์ จำนวน 14 คน โดยใช้วิธีสุ่มแบบเจาะจง เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แผนการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการด้วยกิจกรรมการปั้นดินน้ำมันเพื่อพัฒนาวามสามารถใน การใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก คู่มือการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการด้วยกิจกรรมการปั้นดินน้ำมัน และแบบทดสอบความสามารถการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัยชั้นเด็กเล็กปีที่ 2 (อายุ 3-4 ปี) สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลประกอบไปด้วย ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าสวนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบ t test (Independent Sample t test)
ผลการศึกษาพบว่า
1. เด็กปฐมวัยชั้นเด็กเล็กปีที่ 2 (อายุ 3-4 ปี) ที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการด้วยกิจกรรมการปั้นดินน้ำมันเพื่อพัฒนาความพร้อมในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก ของเด็กปฐมวัยชั้นเด็กเล็กปีที่ 2 (อายุ 3-4 ปี) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดโพธิ์ชัยบ้านเว่อ ก่อนการจัดประสบการณ์มีคะแนนเฉลี่ยของกล้ามเนื้อมัดเล็ก คิดเป็นร้อยละ 62.26 และหลังการจัดประสบการณ์มีคะแนนเฉลี่ยของกล้ามเนื้อมัดเล็ก คิดเป็นร้อยละ 87.26
2. เด็กปฐมวัยชั้นเด็กเล็กปีที่ 2 (อายุ 3-4 ปี) ที่ได้รับการจัดประสบการณ์แบบบูรณาการด้วยกิจกรรมการปั้นดินน้ำมันเพื่อพัฒนาความพร้อมในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กของเด็กปฐมวัย ชั้นเด็กเล็กปีที่ 2 (อายุ 3-4 ปี) ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กวัดโพธิ์ชัยบ้านเว่อ หลังการทำกิจกรรม ด้านความคล่องแคล่วในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก ด้านความยืดหยุ่นในการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็ก ด้านการควบคุมการใช้กล้ามเนื้อมัดเล็กและด้านการประสานสัมพันธ์ระหว่างมือกับตาสูงกว่าก่อนการทำกิจกรรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05