ชื่อเรื่อง การพัฒนาชุดการสอนโดยใช้การสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น ร่วมกับ
การคิดแก้ปัญหา เรื่อง วัสดุแรง ความดัน และเสียง กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5
ผู้วิจัย นางสาวนิภาพร รักบำรุง
สถานศึกษา โรงเรียนวัดขจรบำรุง อำเภอท่าชนะ จังหวัดสุราษฎร์ธานี
ปีที่ทำการวิจัย ปีการศึกษา 2561
งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาสภาพปัญหาและความต้องการจำเป็นพื้นฐานในการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ พัฒนาชุดการสอนโดยใช้การสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น ร่วมกับการคิดแก้ปัญหา เรื่อง วัสดุแรง ความดัน และเสียง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5โดยหาประสิทธิภาพของชุดการสอนตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อน หลังเรียน เปรียบเทียบการคิดแก้ปัญหาก่อน หลังเรียน เปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ก่อน หลังเรียน และเปรียบเทียบเจตคติทางวิทยาศาสตร์ก่อน-หลังเรียน กลุ่มตัวอย่างศึกษาจากประชากร ซึ่งเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนวัดขจรบำรุง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสุราษฎร์ธานี เขต 2 จำนวน 16 คน การวิจัยครั้งนี้ใช้แบบกลุ่มเดียววัดก่อนและหลัง เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ชุดการสอนโดยใช้การสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น ร่วมกับการคิดแก้ปัญหา แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน แบบทดสอบวัดการคิดแก้ปัญหา แบบทดสอบวัดทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ และแบบวัดเจตคติทางวิทยาศาสตร์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าประสิทธิภาพของชุดกิจกรรม(E1/ E2) ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลการวิจัยโดยสรุปมีดังนี้
1. ผลการสำรวจสภาพปัญหาและความต้องการจำเป็นพื้นฐานในการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ของโรงเรียนวัดขจรบำรุง ตามความคิดเห็นของครู มีดังนี้
1.1 ผลการสำรวจสภาพปัญหาในการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ของโรงเรียนวัดขจรบำรุง ตามความคิดเห็นของครู มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.28 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน .22 ซึ่งสภาพปัญหาโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
1.2 ผลการสำรวจความต้องการจำเป็นพื้นฐานในการจัดการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ของโรงเรียนวัดขจรบำรุง ตามความคิดเห็นของครู มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.29 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน .16 ซึ่งความต้องการจำเป็นพื้นฐานโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
2. ชุดการสอนที่พัฒนาขึ้น ในภาพรวมมีความสอดคล้อง โดยมีค่า IOC เท่ากับ 0.95 และมีประสิทธิภาพ 85.18/83.02 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนด (80/80)
3. ผลการตรวจสอบคุณภาพของชุดการสอนโดยใช้การสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้นร่วมกับ การคิดแก้ปัญหา เรื่อง วัสดุ แรง ความดัน และเสียง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 มีดังนี้
3.1 ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ก่อน-หลังเรียนด้วย ชุดการสอนโดยใช้การสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น ร่วมกับการคิดแก้ปัญหา เรื่อง วัสดุ แรง ความดัน และเสียง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
3.2 ผลการเปรียบเทียบการคิดแก้ปัญหาของนักเรียน ก่อน-หลังเรียนด้วยชุดการสอนโดยใช้การสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น ร่วมกับการคิดแก้ปัญหา เรื่อง วัสดุ แรง ความดัน และเสียง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่า นักเรียนมีการคิดแก้ปัญหาหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
3.3 ผลการเปรียบเทียบทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ก่อน-หลังเรียนด้วยชุดการสอนโดยใช้การสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น ร่วมกับการคิดแก้ปัญหา เรื่อง วัสดุ แรง ความดัน และเสียง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่า นักเรียนมีทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
3.4 ผลการเปรียบเทียบเจตคติทางวิทยาศาสตร์ของนักเรียน ก่อน-หลังเรียนด้วย ชุดการสอนโดยใช้การสืบเสาะหาความรู้ 7 ขั้น ร่วมกับการคิดแก้ปัญหา เรื่อง วัสดุ แรง ความดัน และเสียง กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 5 พบว่า นักเรียนมีเจตคติทางวิทยาศาสตร์หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน