ชื่อเรื่อง รายงานผลการใช้กระบวนการนิเทศแบบออนไลน์ ในการพัฒนาความสามารถใช้สื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศของครู เพื่อเสริมสร้างทักษะการแสวงหาความรู้ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 2
ผู้ศึกษา นางสาวพิลาวรรณ หอระดี
ปีที่ทำเสร็จ พ.ศ. 2562
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาผลการใช้กระบวนการนิเทศแบบออนไลน์
ในการพัฒนาความสามารถใช้สื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศของครู เพื่อศึกษาเจตคติต่อกระบวนการนิเทศแบบออนไลน์ ในการพัฒนาความสามารถการใช้สื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศของครู และเพื่อศึกษาทักษะการแสวงหาความรู้โดยใช้สื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 2 ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ครูผู้สอนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 2 ปีการศึกษา 2561 จำนวน 32 โรงเรียน ครูทั้งหมด 32 คน
และนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 2
ปีการศึกษา 2561 จำนวน 32 โรงเรียน นักเรียนทั้งหมด 447 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย กระบวนการนิเทศแบบออนไลน์ และเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย แบบประเมินความสามารถการใช้สื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศของครูผู้สอนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 2 ผู้รายงานสร้างขึ้นมีลักษณะเป็นแบบประเมินความสามารถที่ผู้รายงานสร้างขึ้นแบ่งเป็น 2 ตอน ประกอบด้วย ตอนที่ 1 เป็นแบบทดสอบวัดความรู้ จำนวน 10 ข้อ ตอนที่ 2 เป็นแบบประเมินทักษะและคุณลักษณะ เป็นเกณฑ์การประเมินประกอบด้วยเกณฑ์ 4 ระดับ แบบประเมินเจตคติต่อกระบวนการนิเทศแบบออนไลน์ ในการพัฒนาความสามารถการใช้สื่อเทคโนโลยีสารสนเทศของของครูผู้สอนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1โรงเรียนในสังกัด สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 2 ผู้รายงานสร้างขึ้นมีลักษณะเป็นแบบประเมินความสนใจในการใช้สื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศสามารถนำสื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศไปใช้ประกอบการจัดการเรียนการสอนได้
เป็นเกณฑ์การประเมินแบบ ถูก/ผิด จำนวน 10 ข้อ ต้องมีเจตคติ 6 จาก 10 ข้อ ผ่าน และมีเจตคติน้อยกว่า 6 ข้อ ไม่ผ่าน และแบบประเมินทักษะการแสวงหาความรู้โดยใช้สื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศของนักเรียน ผู้รายงานสร้างขึ้นมีลักษณะเป็นแบบประเมินทักษะการแสวงหาความรู้
ที่ผู้รายงานสร้างขึ้นแบ่งเป็น 2 ตอน ประกอบด้วย ตอนที่ 1 เป็นแบบทดสอบวัดความรู้ จำนวน 10 ข้อ ตอนที่ 2 เป็นแบบประเมินทักษะและคุณลักษณะ เป็นเกณฑ์การประเมินประกอบด้วยเกณฑ์ 4 ระดับ
ผลการศึกษา พบว่า ผลการประเมินคุณภาพ ของกระบวนการนิเทศแบบออนไลน์ในการพัฒนาความสามารถใช้สื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศของครู เพื่อเสริมสร้างทักษะการแสวงหาความรู้
ของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 2 มีความเหมาะสมผ่านเกณฑ์การประเมินจากผู้เชี่ยวชาญทุกข้อรายการประเมิน
ซึ่งผลการประเมินความสามารถในการใช้สื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศของครู พบว่า ด้านความรู้(K) ครูมีความรู้ในการใช้สื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศ ระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 87.50 ระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 12.50 ด้านทักษะ(P) พบว่า ครูมีทักษะในการใช้สื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศ
ระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 90.63 และระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 9.37 ด้านคุณลักษณะ(A) พบว่า ครูมีคุณลักษณะในการใช้สื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศ ระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 93.75 และระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 6.25 จากผลการวิเคราะห์ ครูมีความสามารถใช้สื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศ อยู่ในระดับมากที่สุด ผลการประเมินเจตคติต่อกระบวนการนิเทศแบบออนไลน์ ในการพัฒนาความสามารถใช้สื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศของครู ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 2 พบว่า อยู่ในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 87.50 และระดับดี คิดเป็นร้อยละ 12.50 จากผลการวิเคราะห์ ครูมีเจตคติต่อกระบวนการนิเทศแบบออนไลน์ อยู่ในระดับมากที่สุด และผลการประเมินทักษะการแสวงหาความรู้โดยใช้สื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาลำปาง เขต 2 ผลการศึกษา พบว่า ด้านความรู้(K) นักเรียนมีความรู้โดยใช้สื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศ ระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 87.02 ระดับมาก คิดเป็นร้อยละ 11.63 และระดับน้อย คิดเป็นร้อยละ 1.35 จากผลการวิเคราะห์ นักเรียนมีความรู้โดยใช้สื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศ อยู่ในระดับมากที่สุด ด้านทักษะ(P) พบว่า นักเรียนมีทักษะในการใช้สื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศ อยู่ในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 89.49 ด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์(A) พบว่า นักเรียนมีคุณลักษณะอยู่ในระดับมากที่สุด คิดเป็นร้อยละ 88.82 จากผลการวิเคราะห์ นักเรียน
มีทักษะการแสวงหาความรู้โดยใช้สื่อและเทคโนโลยีสารสนเทศ อยู่ในระดับมากที่สุด