ชื่อเรื่อง การพัฒนาการจัดการเรียนรู้โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด หลักธรรม
ทางพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6
ผู้ศึกษา นายธฤษณุ อาจรักษา
หน่วยงาน โรงเรียนวัดคู้บอน (วัฒนานันท์อุทิศ) สำนักงานเขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร
ปีที่ศึกษา พ.ศ. 2562
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้จึงมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อสร้างและพัฒนาการหนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 2) เพื่อหาดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้ โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังเรียน โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้ โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนวัดคู้บอน (วัฒนานันท์อุทิศ) สำนักงานเขตคลองสามวา กรุงเทพมหานคร ปีการศึกษา 2562 จำนวน 5 ห้องเรียน มีนักเรียนจำนวน 175 คน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6/1 จำนวน 31 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษามี 4 ชนิด ประกอบด้วย
1) แผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 10 แผน
2) หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา จำนวน 10 เล่ม ได้แก่ เล่มที่ 1 เรื่อง ศรัทธา 4 เล่มที่ 2 เรื่อง พุทธกิจ 4 เล่มที่ 3 เรื่อง อริยสัจ 4 เล่มที่ 4 เรื่องไตรสิกขา
เล่มที่ 5 เรื่อง เบญจศีล เล่มที่ 6 เรื่อง อบายมุข 6 เล่มที่ 7 เรื่อง กุศลมูล 3 และอกุศลมูล 3
เล่มที่ 8 เรื่อง เบญจธรรม เล่มที่ 9 เรื่อง พละ 4 เล่มที่ 10 เรื่อง คารวะ 6
3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม สาระที่ 1 ศาสนา ศีลธรรม จริยธรรม หน่วยการเรียนรู้ที่ 3 หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 เป็นแบบปรนัย ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 20 ข้อ ซึ่งมีค่าความยากง่าย (P) อยู่ระหว่าง 0.50-0.80 และมีค่าอำนาจจำแนกตั้งแต่ 0.40-0.76 และมีค่าความเชื่อมั่น ทั้งฉบับเท่ากับ .70
4) แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนต่อการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ที่เรียนโดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 15 ข้อ
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย (x̄) ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) หาประสิทธิภาพของกระบวนการ (E1/E2) เปรียบเทียบคะแนน ก่อนเรียนหลังเรียน โดยใช้ t-test (Dependent Samples)
ผลการศึกษาปรากฏ ดังนี้
1. การจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา มีประสิทธิภาพ 86.65/89.70 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ที่ตั้งไว้
2. ดัชนีประสิทธิผลของการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา มีค่าดัชนีประสิทธิผลเท่ากับ 0.70 แสดงว่านักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียน คิดเป็นร้อยละ 70.00
3. นักเรียนที่เรียนโดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา
มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โดยใช้หนังสืออ่านเพิ่มเติม ชุด หลักธรรมทางพระพุทธศาสนา โดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด (x̄ = 4.70)