ชื่องานวิจัย การพัฒนาชุดแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความโดยวิธีการอ่านแบบ SQ4R
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
ผู้วิจัย นายเวโรจน์ ทองเถาว์ ตำแหน่ง ครู วิทยฐานะ ครูชำนาญการ
ปีที่วิจัยแล้วเสร็จ 2559
บทคัดย่อ
การวิจัยในครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลองมีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาชุดแบบฝึกทักษะ การอ่านจับใจความโดยวิธีการอ่านแบบ SQ4R กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีประสิทธิภาพเป็นไปตามเกณฑ์ 80/80 2) เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ ทางการเรียนก่อนและหลังเรียนด้วยชุดแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความโดยวิธีการอ่านแบบ SQ4R กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 และ 3) เพื่อศึกษา ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีต่อการเรียนด้วยชุดแบบฝึกทักษะการอ่าน จับใจความโดยวิธีการอ่านแบบ SQ4R กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่กำลังเรียนในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 โรงเรียนน้ำคำวิทยา สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 28 รวมทั้งสิ้นจำนวน 25 คน ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง ( Purposive sampling ) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ประกอบด้วย 1) ชุดแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความโดยวิธีการอ่านแบบ SQ4R กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 7 ชุด 2) แผนการจัด การเรียนรู้ประกอบการใช้ชุดแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความโดยวิธีการอ่านแบบ SQ4R กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 9 แผน รวมเวลาทั้งสิ้น 16 ชั่วโมง 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การอ่านจับใจความโดยวิธีการอ่านแบบ SQ4R กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 แบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 50 ข้อ มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.94 ค่าความยากระหว่าง 0.35 - 0.76 ค่าอำนาจจำแนก ระหว่าง 0.41-0.76 และ 4) แบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่มีต่อการเรียนด้วยชุดแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความโดยวิธีการอ่าน แบบ SQ4R กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 แบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 15 ข้อ มีค่าดัชนีความสอดคล้องอยู่ระหว่าง 0.80 1.00 มีค่าอำนาจจำแนก อยู่ระหว่าง 0.79 - 0.85 ค่าความเชื่อมั่นของแบบสอบถามทั้งฉบับ เท่ากับ 0.87 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสถิติ t แบบ Dependent Samples
ผลการวิจัยพบว่า
1) ชุดแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความโดยวิธีการอ่านแบบ SQ4R กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น มีประสิทธิภาพ เท่ากับ 81.94/80.40 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐาน 80/80 ที่ตั้งไว้
2) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 ที่เรียนด้วยชุดแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความ โดยวิธีการอ่านแบบ SQ4R กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีคะแนนเฉลี่ยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้
3) นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 มีความพึงพอใจต่อการเรียนด้วยชุดแบบฝึกทักษะการอ่านจับใจความโดยวิธีการอ่านแบบ SQ4R กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยรวมอยู่ในระดับ มาก