ชื่อเรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนด้วยกิจกรรมเสริมทักษะกระบวนการคิดเชิงคำนวณ
ชื่อผู้วิจัย นางสาวดรุณี บุญวงค์
สอนรายวิชา วิทยาการคำนวณ 1 รหัสวิชา ว21103 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562
กลุ่มสาระการเรียนรู้ วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี
1. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
จากการปรับปรุงหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 (ฉบับปรับปรุงพ.ศ 2560) ในกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ได้กำหนดให้ผู้เรียนมีทักษะพื้นฐานที่จำเป็น และนำไปใช้ในการดำรงชีวิตหรือศึกษาต่อในวิชาชีพที่ต้องใช้แนวคิดเชิงคำนวณ การแก้ปัญหา ด้วยเทคโนโลยีสารสนเทศ กระบวนการเรียนรู้เพื่อให้ผู้เรียนบรรลุเป้าหมายของหลักสูตรคือ ผู้เรียนจะต้องเข้าใจแนวคิดหลักของเทคโนโลยีเพื่อการดำรงชีวิตในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอย่างรวดเร็ว ใช้ความรู้ และทักษะทางด้านวิทยาศาสตร์ คณิตศาสตร์ และศาสตร์อื่น ๆ หรือพัฒนางานอย่างมีความคิดสร้างสรรค์ รวมทั้งเข้าใจและใช้แนวคิดเชิงคำนวณในการแก้ปัญหาที่พบในชีวิตจริงอย่างมีขั้นตอนและเป็นระบบ
จากการสอนในรายวิชาวิทยาการคำนวณ 1 ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่ว่าด้วยเรื่องแนวคิดเชิงนามธรรมและการแก้ปัญหา พบว่า ผู้เรียนยังขาดทักษะ กระบวนการคิด ยังสับสน ในขั้นตอนการแก้ปัญหา อย่างเป็นระบบ ไม่สามารถคัดเลือกคุณลักษณะที่จำเป็นต่อการแก้ปัญหา ขั้นตอน การแก้ปัญหา การเขียนรหัสลำลองและผังงานได้ การประชุม และร่วมมือกันของคุณครูกลุ่มสาระเทคโนโลยีสารสนเทศ เพื่อพัฒนาการเรียนรู้ของผู้เรียนหรือ PLC ได้ลงความเห็นว่าควรจัดกิจกรรม นวัตกรรมที่พัฒนา และเสริมทักษะ กระบวนการคิด ชิงคำนวณ สอดแทรก ลงในกิจกรรมการเรียนรู้รายวิชาเทคโนโลยีทุกวิชา จึงเป็นที่มาของการศึกษาวิจัยในครั้งนี้
2. วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. เพื่อพัฒนาทักษะ กระบวนการคิดเชิงคำนวณ ชองนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนวิชา วิทยาการคำนวณ 1 รหัส ว 21103
2. เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียน และหลังเรียน จากใช้กิจกรรมเสริมทักษะกระบวน การคิดเชิงคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่เรียนวิชา วิทยาการคำนวณ 1
รหัส ว21103
3. ขอบเขตของการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน จากใช้กิจกรรมเสริมทักษะ กระบวน การคิดเชิงคำนวณ สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดป่าประดู่ ที่เรียนวิชา วิทยาการคำนวณ 1 รหัส ว 21103 ภาคเรียนที่1 ปีการศึกษา 2562
4. วิธีดำเนินการวิจัย
4.1 ประชากร/กลุ่ม
ประชากรที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าครั้งนี้ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนวัดป่าประดู่ อำเภอเมือง จังหวัดระยอง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 ห้องเรียน จำนวน 277 คน
กลุ่มตัวอย่างใช้ในการศึกษาค้นคว้าคือนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/14 โรงเรียนวัดป่าประดู่ อำเภอเมือง จังหวัดระยอง ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 40 คน
4.2 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย/นวัตกรรม/หน่วยการเรียน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลได้แก่แบบทดสอบ และกิจกรรมเสริมทักษะ ดังนี้
1. แบบทดสอบก่อนเรียนและหลังเรียน จำนวน 30 ข้อ 30 คะแนน
2. กิจกรรมเสริมทักษะกระบวนการคิดเชิงคำนวณสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 แบ่งออกเป็น 5 กิจกรรม
กิจกรรม 1 ลักษณะทั่วไปและลักษณะเฉพาะ
กิจกรรม 2 แนวคิดเชิงนามธรรม
กิจกรรม 3 ปัญหานานาประการ
กิจกรรม 4 ถ่ายทอดความคิด
3. หน่วยการเรียนรู้ ที่ใช้กิจกรรมเสริมทักษะ กระบวนการคิดเชิงคำนวณสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 แบ่งออกเป็น 2 หน่วย
หน่วยที่ 1 แนวคิดเชิงนามธรรม
หน่วยที่ 2 การแก้ปัญหา
4.3 การเก็บรวบรวมข้อมูล
ผู้วิจัยได้ดำเนินการวิจัยตามขั้นตอนต่อไปนี้
1. ศึกษาและค้นคว้าเตรียมเอกสารสร้างแบบทดสอบวัดผลการเรียนจากตำราเอกสารต่าง ๆ
2. ให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน (Pre-test) เรื่องแนวคิดเชิงนามธรรมและการแก้ปัญหา จำนวน 30 ข้อ เพื่อวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียน
3.นักเรียนทำกิจกรรมเสริมทักษะกระบวนการคิดเชิงคำนวณ ก่อนปฏิบัติงาน ทุกหน่วยการเรียนรู้
4.นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน (Post- test) หลังจากเรียนครบทุกหน่วยการเรียนรู้
5.รวบรวมข้อมูลผลการสอบนำมาวิเคราะห์ค่าสถิติ
5. การวิเคราะห์ข้อมูล/สถิติที่ใช้ในการวิจัย
โดยเปรียบเทียบค่าเฉลี่ยของคะแนนก่อนและหลังการใช้กิจกรรมเสริมทักษะ กระบวน การคิดเชิงคำนวณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
สถิติที่ใช้ในการวิจัยใช้สถิติ ใช้ค่าเฉลี่ย/ร้อยละจากคะแนนก่อนและหลังการใช้กิจกรรมเสริมทักษะ กระบวน การคิดเชิงคำนวณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ คะแนนเต็ม 30 คะแนน
6. ผลการวิจัย
ตารางเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ก่อนการใช้และหลังการใช้กิจกรรมเสริมทักษะ กระบวน การคิดเชิงคำนวณของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ลำดับที่ จำนวนนักเรียน ค่าเฉลี่ย
(คะแนนเต็ม 30 คะแนน) ร้อยละ
ก่อนเรียน 40 13.30 44.33
หลังเรียน 40 24.13 80.43
ผลต่างคะแนนการทดสอบ 11.14 36.10
จากตารางเปรียบเทียบพบว่า ผลสัมฤทธิ์ก่อนการใช้และหลังการใช้กิจกรรมเสริมทักษะ กระบวน การคิดเชิงคำนวณ คิดเป็นร้อยละ 44.33/80.43 โดยมีค่าเฉลี่ย 11.14/36.10 พบว่าหลังการใช้กิจกรรมเสริมทักษะ กระบวน การคิดเชิงคำนวณ นักเรียนทั้งหมดมีผลสัมฤทธิ์ดีขึ้น
7. อภิปรายผลวิจัย
จากการวิจัยในครั้งนี้พบว่า หลังจากนักเรียนได้ใช้กิจกรรมเสริมทักษะ กระบวน การคิดเชิงคำนวณ นักเรียนมีความรู้ ความเข้าใจ มีทักษะการคิดที่เป็นระบบ สามารถวิเคราะห์ และแก้ปัญหาจากโจทย์ที่ได้รับง่ายขึ้น
8. ข้อเสนอแนะ
8.1 ควรปรับกิจกรรม ให้มีความยากง่ายสลับกัน เพื่อลดความกดดันของผู้เรียน
8.2 ควรกำหนดเวลาในกิจกรรมให้เหมาะสม เพื่อไม่ให้กระทบต่อเวลาปฏิบัติติงานของนักเรียน
8.3 ควรจัดรวบรวมทำคลังนวัตกรรมกิจกรรมเสริมทักษะ กระบวนการคิดเชิงคำนวณ เพื่อให้ครู และบุคลากรทุกคน ได้นำไปประยุกต์ใช้ร่วมกันอบ่างสร้างสรรค์