รายงานการวิจัยในชั้นเรียน
ชื่อเรื่อง เรื่อง การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางด้านการเรียนวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง การสลายสารอาหารระดับเซลล์
แบบใช้ออกซิเจน โรงเรียนแม่เจดีย์วิทยาคม อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย
ผู้วิจัย นางสาวพร ปู่แขก
ปีการศึกษา 2561
1. ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
หลักสูตรการศึกษาขั้นพื้นฐานได้มีการกำหนดให้สถานศึกษาจัดสาระการเรียนรู้ให้ครบทั้ง 8 กลุ่มสาระในทุกช่วงชั้นวิทยาศาสตร์เป็นสาระหนึ่งที่สถานศึกษาต้องจัดการเรียนการสอนที่ตอบสนองต่อหลักสูตรใหม่ เพราะตั้งแต่อดีตที่ผ่านมาจนถึงปัจจุบันวิทยาศาสตร์มีความสำคัญยิ่งต่อโลกและการดำเนินชีวิตด้วยเหตุผลประการแรกคือ โลกปัจจุบันเป็นโลกของวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเราทุกคนต้องเกี่ยวข้องตลอดเวลาไม่ว่าทางใดก็ทางหนึ่ง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเป็นเครื่องมือช่วยให้มนุษย์สะดวกสบายและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และประการที่สอง วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีมีบทบาทที่สำคัญยิ่งต่อการพัฒนาประเทศให้เจริญก้าวหน้า ฉะนั้นพลเมืองทุกคนของประเทศจำเป็นต้องมีความรู้ความเข้าใจพื้นฐานด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีเพื่อชีวิตและสังคมที่มีคุณภาพทั้งในปัจจุบันและอนาคต อันเป็นหน้าที่โดยตรงของการศึกษาด้านวิทยาศาสตร์(กรมวิชาการ. 2542: 1)
การสำรวจตรวจสอบหรือการทดลอง ซึ่งสามารถทดลองได้ทั้งในและนอกห้องเรียนหรือที่บ้านโดยไม่จำเป็นต้องใช้อุปกรณ์วิทยาศาสตร์ที่มีราคาแพง อาจจะดัดแปลงสิ่งของเหลือใช้ หรือวัสดุธรรมชาติมทดลองใช้ และ 4) เรื่องอื่น ๆ เช่น การสาธิต กระบวนการกลุ่มบทบาทสมมุติ ฯลฯผู้เรียนวัยนี้เป็นวัยที่อยากรู้อยากเห็น ผู้สอนควรเปิดโอกาสให้ผู้เรียนมีประสบการณ์กับโลกทัศน์ที่มุ่งส่งเสริมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเองอย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต ใช้เวลาอย่างสร้างสรรค์ อย่างยืดหยุ่น ซึ่งสนองต่อความต้องการของผู้เรียน ชุมชน สังคม และประเทศชาติเพื่อให้สอดคล้องกับที่กรมวิชาการ (2542: 3) กล่าวไว้ว่าเป้าหมายในการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีให้มีประสิทธิภาพคือการสอนให้ผู้เรียนได้มีความรู้ มีทักษะ และปลูกฝังอบรมให้เกิดค่านิยม และเจตคติเชิงวิทยาศาสตร์ที่เหมาะสม
ในส่วนของกระบวนการจัดการเรียนการสอนเกี่ยวกับเรื่อง การสลายสารอาหารระดับเซลล์แบบใช้ออกซิเจน ในชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 รายวิชา ชีววิทยาเพิ่มเติมนั้น เนื้อหาค่อยข้างที่จะยากและซับซ้อนนั้น ทำให้ผู้เรียนจะได้เรียนรู้ตามเนื้อหาที่ผู้สอนบอก อธิบายให้ฟังหรือจากในหนังสือเรียน ไม่มีกิจกรรมการเรียนรู้ที่ได้จากการปฏิบัติกิจกรรม และไม่ได้รับการฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ ขาดสื่อการเรียนการสอนทำให้ผู้เรียนเกิดความรู้สึกไม่อยากเรียน เบื่อและไม่ตั้งใจเรียน การพัฒนาชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ซึ่งประกอบด้วยส่วนที่เป็นเนื้อหาและส่วนที่เป็นกิจกรรมให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจะช่วยทำให้ผู้เรียนได้รับความรู้พร้อมกับการฝึกทักษะกระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เป็นการกระตุ้นให้ผู้เรียนเกิดความสนใจในการเข้าร่วมกิจกรรมการเรียนรู้ ไม่เกิดความเบื่อหน่าย มีเจตคติต่อวิทยาศาสตร์ส่งผลให้มีผลการเรียนรู้สูงขึ้นด้วย
จากความสำคัญดังกล่าวข้างต้น ทำให้ผู้วิจัยเห็นสภาพของปัญหาจึงมีความสนใจที่จะพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โดยจัดการเรียนรู้โดยชุดกิจกรรม เพื่อส่งเสริมให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ดีขึ้น
2. วัตถุประสงค์การวิจัย
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางด้านการเรียนวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง การสลายสารอาหารระดับเซลล์แบบใช้ออกซิเจน โรงเรียนแม่เจดีย์วิทยาคม อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย มีวัตถุประสงค์ คือ
1. เพื่อพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน โดยใช้จัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนแม่เจดีย์วิทยาคม
3. สมมติฐานการวิจัย
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การสลายสารอาหารระดับเซลล์แบบใช้ออกซิเจน ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนแม่เจดีย์วิทยาคม หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน
4. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางด้านการเรียนวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง การสลายสารอาหารระดับเซลล์แบบใช้ออกซิเจน โรงเรียนแม่เจดีย์วิทยาคม อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย สามารถให้ประโยชน์คือ
1. นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์สูงขึ้น
2. เป็นแนวทางสำหรับครูผู้สอน เพื่อนำไปใช้ในการปรับปรุงการเรียนการสอนให้น่าสนใจและมีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
3. เป็นประโยชน์ต่อบุคคลทั่วไปที่ต้องการศึกษาวิธีการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรม
5. ขอบเขตของการวิจัย
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางด้านการเรียนวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง การสลายสารอาหารระดับเซลล์แบบใช้ออกซิเจน โรงเรียนแม่เจดีย์วิทยาคม อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย ผู้วิจัยได้กำหนดขอบเขตของการวิจัยดังนี้
5.1 ขอบเขตด้านประชากร
ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนแม่เจดีย์วิทยาคม อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย จำนวน 1 ห้องเรียน รวมนักเรียนทั้งหมด 29 คน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนแม่เจดีย์วิทยาคม อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย ปีการศึกษา 2561 จำนวน 1 ห้อง นักเรียน 29 คน ได้มาจากการสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling)
5.2 ขอบเขตด้านตัวแปร
ตัวแปรต้น ได้แก่ การเรียนเรื่อง การสลายสารอาหารระดับเซลล์แบบใช้ออกซิเจน โดยจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์
ตัวแปรตาม ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ การสลายสารอาหารระดับเซลล์แบบใช้ออกซิเจน
5.3 ขอบเขตด้านเนื้อหา
เนื้อหาตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พ.ศ. 2551 ของหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนแม่เจดีย์วิทยาคม อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ เรื่อง การสลายสารอาหารระดับเซลล์แบบใช้ออกซิเจน
6. วิธีดำเนินการวิจัย
6.1 เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย
1. แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง การสลายสารอาหารระดับเซลล์แบบใช้ออกซิเจน โดยจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์
2. แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง การสลายสารอาหารระดับเซลล์แบบใช้ออกซิเจน จำนวน 10 ข้อ
6.2 การสร้างเครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย
แผนการจัดการเรียนรู้
แผนการจัดการเรียนรู้เรื่อง การสลายสารอาหารระดับเซลล์แบบใช้ออกซิเจน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ผู้วิจัยดำเนินการสร้างตามขั้นตอนดังนี้
1. ศึกษาหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 พร้อมกับศึกษาหลักสูตรสถานศึกษาโรงเรียนแม่เจดีย์วิทยาคม ถึงตัวชี้วัดที่หลักสูตรกำหนด โดยวิเคราะห์เนื้อหา ตัวชี้วัด และจุดประสงค์ตามที่โรงเรียนได้กำหนด
2. ศึกษาความหมาย ความรู้ และหลักเกณฑ์ต่างๆ ของเนื้อหาเรื่อง การสลายสารอาหารระดับเซลล์ จากเอกสารและหนังสือเรียนชีววิทยา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4
3. ศึกษาวิธีการเขียนแผนการเรียนรู้และสร้างสื่อ เพื่อให้ได้แนวทางจากคู่มือการจัดการเขียนแผนการจัดการเรียนรู้กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
4. เขียนแผนการจัดการเรียนรู้ จำนวน 1 แผน ใช้เวลาสอน 4 คาบ คาบละ 50 นาที โดยแผนจะประกอบไปด้วย สาระสำคัญ จุดประสงค์ เนื้อหา กิจกรรม การเรียนการสอน สื่อการเรียนการสอน การวัดผลและประเมินผล
5. นำแผนการจัดการเรียนรู้ที่สมบูรณ์ไปใช้กับกลุ่มตัวอย่างจริง
แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
แบบทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง การสลายสารอาหารระดับเซลล์แบบใช้ออกซิเจน จำนวน 10 ข้อ ผู้วิจัยดำเนินการสร้างตามขั้นตอนดังนี้
1. ศึกษาวิธีสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
2. วิเคราะห์เนื้อหาและจุดประสงค์การเรียนรู้
3. คัดเลือกเนื้อหานำมาสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง การสลายสารอาหารระดับเซลล์แบบใช้ออกซิเจน เป็นแบบทดสอบก่อนเรียน และแบบทดสอบหลังเรียน เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก โดยสร้างให้สอดคล้องกับจุดประสงค์การเรียนรู้ที่กำหนดไว้
6.3 การเก็บรวบรวมข้อมูล
แบบแผนการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงทดลอง One Group Pretest-Posttest Design (บุญชม ศรีสะอาด 2545 : 139) โดยจัดให้มีการทดสอบก่อนเรียน และทดสอบหลังเรียน ดังตารางที่ 1 ต่อไปนี้
ตารางที่ 1 แบบแผนการวิจัยแบบ One Group Pretest-Posttest Design
กลุ่ม Pretest Treatment Posttest
ทดลอง T1 X T2
X หมายถึง การทดลองจัดการเรียนรู้ เรื่องการร้อยเรียงประโยค โดยใช้เทคนิคการจัดการเรียนรู้ แบบจิ๊กซอว์ (Jigsaw)
T1 หมายถึง การทดสอบก่อนการทดลอง (Pretest )
T2 หมายถึง การทดสอบหลังการทดลอง (Posttest )
การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยดำเนินการดังนี้
1. ขั้นเตรียมการ
1.1 เลือกเนื้อหาที่จะทำการวิจัย เพื่อจัดตารางเวลาในการทดลอง โดยทำการทดลองในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2560 พร้อมทำแผนการจัดการเรียนรู้ เรื่องการสลายสารอาหารระดับเซลล์แบบใช้ออกซิเจน โดยจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์
1.2 จัดสร้างแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่อง การสลายสารอาหารระดับเซลล์แบบใช้ออกซิเจน จำนวน 10 ข้อ
2. ขั้นทดลอง
2.1 ทดสอบก่อนเรียน ด้วยแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการสลายสารอาหารระดับเซลล์แบบใช้ออกซิเจน
2.2 ดำเนินการจัดการเรียนรู้ตามแผนการจัดการเรียนรู้
2.3 ทดสอบหลังเรียน ด้วยแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องการสลายสารอาหารระดับเซลล์แบบใช้ออกซิเจน
2.4 นำกระดาษคำตอบมาตรวจให้คะแนนและนำคะแนนมาวิเคราะห์ด้วยวิธีการทางสถิติเพื่อทดสอบสมมติฐาน
6.4 การวิเคราะห์ข้อมูลและสถิติที่ใช้
ผู้วิจัยนำข้อมูลที่ได้จากการทดลองมาวิเคราะห์หาค่าสถิติ โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป ดังนี้
1. เปรียบเทียบคะแนนวัดผลสัมฤทธิ์ก่อนเรียน-หลังเรียน หาผลต่าง และผลต่างยกกำลังสอง โดยการทดสอบนัยสำคัญแบบ T test ( Dependent samples)
หลังจากวิเคราะห์ข้อมูลแล้วจะทำการแปรผล และนำเสนอในรูปแบบตารางประกอบความเรียงแล้วสรุปผลโดยการบรรยาย
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
1. สถิติพื้นฐาน
1.1 ร้อยละ (Percentage) (บุญชม ศรีสะอาด. 2545 : 101)
P = × 100
เมื่อ P แทน ร้อยละ
f แทน ความถี่ที่ต้องการแปลงให้เป็นร้อยละ
N แทน จำนวนความถี่ทั้งหมด
1.2 ค่าเฉลี่ย (Mean) (บุญชม ศรีสะอาด. 2545 : 101)
X =
เมื่อ X แทน ค่าเฉลี่ย
∑X แทน ผลรวมของคะแนนทั้งหมดในกลุ่ม
N แทน จำนวนคนในกลุ่ม
1.3 ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard deviation) (บุญชม ศรีสะอาด. 2545 : 103)
เมื่อ S แทน ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐานของกลุ่มตัวอย่าง
X แทน ค่าของข้อมูลแต่ละตัวหรือจุดกึ่งกลางชั้นแต่ละตัว
X แทน ค่าเฉลี่ยของกลุ่มตัวอย่าง
N แทน จำนวนข้อมูลทั้งหมดของกลุ่มตัวอย่าง
2. สถิติที่ใช้ในการทดสอบสมมุติฐาน ได้แก่ t test ( Dependent samples)
(บุญชม ศรีสะอาด. 2545 : 89)
เมื่อ t แทน ค่าสถิติที่ใช้จะเปรียบเทียบกับค่าวิกฤติ
D แทน ค่าผลต่างระหว่างคู่คะแนน
N แทน จำนวนกลุ่มตัวอย่างหรือจำนวนคู่คะแนน
7. ผลการวิจัย
ผลการวิเคราะห์เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนเรียนและหลังเรียน เรื่อง การสลายสารอาหารระดับเซลล์แบบใช้ออกซิเจน โดยจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนแม่เจดีย์วิทยาคม โดยใช้ T-test for dependent sample
สรุปผลการวิจัย
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางด้านการเรียนวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง การสลายสารอาหารระดับเซลล์แบบใช้ออกซิเจน โรงเรียนแม่เจดีย์วิทยาคม อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย สรุปผลได้ดังนี้
1. นักเรียนที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ โดยการใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่องการสลายสารอาหารระดับเซลล์แบบใช้ออกซิเจน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.1
อภิปรายผล
การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางด้านการเรียนวิทยาศาสตร์ ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่ได้รับการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่อง การสลายสารอาหารระดับเซลล์แบบใช้ออกซิเจน โรงเรียนแม่เจดีย์วิทยาคม อำเภอเวียงป่าเป้า จังหวัดเชียงราย สามารถอภิปรายผลได้ดังนี้
การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ที่เรียนโดยการจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ เรื่องการสลายสารอาหารระดับเซลล์แบบใช้ออกซิเจน พบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 ซึ่งเป็นไปตามสมมติฐานที่ตั้งไว้ แสดงว่า การจัดการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ สามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนให้สูงขึ้น