ในการศึกษาผลการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ตามแนว Executive Functions (EF) เพื่อพัฒนาด้านสติปัญญาของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาล ตำบลเชียงดาว อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาผลการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ตามแนวExecutive Functions (EF) เพื่อพัฒนาด้านสติปัญญาของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลเชียงดาว อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ รายพฤติกรรมและภาพรวม 2) เพื่อศึกษาผลการเปรียบเทียบผลการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ตามแนวExecutive Functions (EF) เพื่อพัฒนาด้านสติปัญญาของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลเชียงดาวอำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ รายพฤติกรรมและภาพรวม ประชากรที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ นักเรียนอนุบาลชั้นปีที่ 3 ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กเทศบาลตำบลเชียงดาว อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 จำนวน 15 คน ระยะเวลาที่ศึกษา สัปดาห์ละ 3 วันจำนวน 8 สัปดาห์ เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ คู่มือชุดการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ตามแนวExecutive Functions (EF) เพื่อพัฒนาด้านสติปัญญา แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ เก็บข้อมูลโดย แบบการสังเกตพฤติกรรม การบอกการตอบคำถาม การเชื่อมโยงภาพและการสนทนาตอบคำถามและแสดงความคิดเห็น ดำเนินการทดลองโดยใช้แบบ One Group Pretest Posttest Design เก็บรวบรวมข้อมูล 2 ตอน ได้แก่ เก็บรวบรวมข้อมูลจากการวัดและประเมินในแผนการจัดประสบการณ์ จำนวน 24 แผนแล้วประเมินผลเป็นช่วงสัปดาห์และเก็บรวบรวมข้อมูลจากแบบสังเกตทักษะ Executive Functions (EF) เพื่อพัฒนาด้านสติปัญญาของนักเรียนก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลที่ศึกษาครั้งนี้ ได้แก่ ค่าเฉลี่ย (μ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (σ) และทดสอบความแตกต่างของคะแนนด้วย t-test ผลการวิจัยพบว่า
ผลการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ตามแนวExecutive Functions (EF) เพื่อพัฒนาด้านสติปัญญา นักเรียนมีพฤติกรรมทักษะด้านการบอกการตอบคำถาม ส่วนใหญ่นักเรียนมีพัฒนาการดีขึ้น
เริ่มช่วงสัปดาห์แรกนักเรียนมีพฤติกรรมอยู่ในระดับ พอใช้ 1.76 จากนั้นก็มีการพัฒนาการดีขึ้นและบางสัปดาห์มีพฤติกรรมคงที่ ได้แก่ สัปดาห์ที่ 2, 3, 4 ค่าเฉลี่ย 1.93 สัปดาห์ที่ 5 ค่าเฉลี่ย 2.12 จนถึงสัปดาห์ที่ 8 มีค่าเฉลี่ย 3.00 โดยภาพรวมผลการจัดกิจกรรมทั้ง 8 สัปดาห์อยู่ในระดับ พอใช้ มีค่าเฉลี่ย 2.23
ในทักษะด้านเชื่อมโยงภาพ พบว่า ช่วงสัปดาห์แรกนักเรียนมีพฤติกรรมอยู่ในระดับ ปรับปรุง 1.46 จากนั้นก็มีการพัฒนาการดีขึ้นตามลำดับ จนถึงสัปดาห์ที่ 8 มีค่าเฉลี่ย 2.81 โดยภาพรวมผลการจัดกิจกรรมทั้ง 8 สัปดาห์ อยู่ในระดับ พอใช้ มีค่าเฉลี่ย 1.92
และทักษะการสนทนา ตอบ คำถามและแสดงความคิดเห็น พบว่า ช่วงสัปดาห์แรกนักเรียนมีพฤติกรรมอยู่ในระดับ พอใช้ 1.60 จากนั้นก็มีการพัฒนาการดีขึ้นส่วนใหญ่นักเรียนมีพัฒนาการดี ขึ้นจนถึงสัปดาห์ที่ 8 มีค่าเฉลี่ย 2.04 โดยภาพรวมผลการจัดกิจกรรมทั้ง 8 สัปดาห์ อยู่ในระดับ พอใช้ มีค่าเฉลี่ย 2.04
ในภาพรวมพฤติกรรมการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนว Executive Functions (EF) เพื่อพัฒนาด้านสติปัญญา ได้แก่ ทักษะการบอก ตอบคำถาม ทักษะการเชื่อมโยงภาพ ทักษะการสนทนา ตอบ คำถามและแสดงความคิดเห็น พบว่าในช่วงสัปดาห์แรกนักเรียนมีพฤติกรรมอยู่ในระดับ พอใช้ มีค่าเฉลี่ย 1.61 และมีพัฒนาการดีขึ้นทุกช่วงสัปดาห์เป็นส่วนใหญ่ ตลอดช่วง 8 สัปดาห์ อยู่ในระดับ พอใช้ มีค่าเฉลี่ย 2.04 แสดงให้เห็นว่า การพัฒนาพฤติกรรมจากการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนว Executive Functions (EF) เพื่อพัฒนาด้านสติปัญญา ทำให้นักเรียนมีพัฒนาการที่ดีขึ้น
ผลการเปรียบเทียบผลการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ ตามแนวExecutive Functions (EF) เพื่อพัฒนาด้านสติปัญญาของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 ก่อนและหลังการจัดประสบการณ์ พบว่าทุกพฤติกรรม ได้แก่ การบอกการตอบคำถาม เชื่อมโยงภาพ และทักษะการสนทนา ตอบ คำถามแสดงความคิดเห็น จากคะแนนเต็ม 9 คะแนน ก่อนการจัดกิจกรรมนักเรียนมีคะแนนเฉลี่ย 4.84คะแนน หลังการจัดกิจกรรมได้คะแนนเฉลี่ย 8.58 คะแนน ปรากฏว่า คะแนนหลังการจัดกิจกรรมสูงกว่า ก่อนการจัดกิจกรรม โดยมีผลต่างคู่คะแนนรวม 57.40 คะแนน เมื่อทดสอบด้วย t-test แล้วพบว่า ค่า t ที่คำนวณได้ 44.44แสดงว่าผลการพัฒนาพฤติกรรมในการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ตามแนว Executive Functions (EF) เพื่อพัฒนาด้านสติปัญญา นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีพัฒนาการที่ดีขึ้น