ชื่อผู้ศึกษา นางสุจิตรา แซ่จิว
ปีที่ศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ใช้ระเบียบวิธีวิจัยและพัฒนา (Research and Development : R&D) มีความมุ่งหมาย 1) เพื่อศึกษาองค์ประกอบของการนิเทศภายในด้วยกระบวนการนิเทศแบบ PIDRE โดยใช้การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โรงเรียนเทศบาลชุมชนวิมลวิทยา เทศบาลเมืองตราด 2) เพื่อศึกษาสภาพปัจจุบันและสภาพที่พึงประสงค์ของการนิเทศภายในด้วยกระบวนการนิเทศแบบ PIDRE โดยใช้การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพโรงเรียนเทศบาลชุมชนวิมลวิทยา เทศบาลเมืองตราด และ 3) เพื่อศึกษาแนวทางการพัฒนาการนิเทศภายในด้วยกระบวนการนิเทศแบบ PIDRE โดยใช้การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โรงเรียนเทศบาลชุมชนวิมลวิทยา เทศบาลเมืองตราด ดำเนินการวิจัยโดยแบ่งออกเป็น 3 ระยะ คือ ระยะที่ 1 การกำหนดกรอบแนวคิด และองค์ประกอบของการนิเทศภายในด้วยกระบวนการนิเทศแบบ PIDRE โดยใช้การสร้างชุมชนแห่ง การเรียนรู้ทางวิชาชีพ ระยะที่ 2 การออกแบบและปรับปรุงรูปแบบการพัฒนาระยะที่ 3 การนำไปทดลองใช้ภาคสนามและสรุปผลการทดลอง
ผลการศึกษาพบว่า
1. องค์ประกอบและวิธีการพัฒนาการนิเทศภายในด้วยกระบวนการนิเทศแบบ PIDRE โดยใช้การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ ประกอบด้วยองค์ประกอบดังนี้ องค์ประกอบ 1 การวางแผน องค์ประกอบ 2 ให้ความรู้ก่อนดำเนินการนิเทศ องค์ประกอบ 3 การดำเนินการนิเทศองค์ประกอบ 4 การสร้างเสริมขวัญกำลังใจแก่ผู้ปฏิบัติงานนิเทศ องค์ประกอบ 5 การประเมินผลการนิเทศ และมีวิธีการพัฒนาพัฒนาการนิเทศภายในด้วยกระบวนการนิเทศแบบ PIDRE โดยใช้การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ 8 วิธี ดังต่อไปนี้ 1) การฝึกอบรมเชิงปฏิบัติการ 2) การศึกษาดูงานจากโรงเรียนที่ประสบความสำเร็จทางด้านการจัดการเรียนรู้ 3) การติดตาม และประเมินผลการพัฒนา 4) การใช้ชุดการพัฒนาการนิเทศภายในด้วยกระบวน การนิเทศแบบ PIDRE โดยใช้การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ 5) การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ภายใน 6) การสร้างเครือข่ายกลุ่มสาระการเรียนรู้ 7) การให้มีคู่มือการพัฒนาการนิเทศภายในด้วยกระบวนการนิเทศแบบ PIDRE โดยใช้การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพและ 8) วิธีอื่น ๆ เช่น การศึกษาดูงานต่างประเทศ
2. รูปแบบการรูปแบบพัฒนาการนิเทศภายในด้วย กระบวนการนิเทศแบบ PIDRE โดยใช้การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โรงเรียนเทศบาลชุมชนวิมลวิทยา เทศบาลเมืองตราด
ด้านหลักการของรูปแบบการพัฒนา 1) การพัฒนาการนิเทศภายในด้วย กระบวนการนิเทศแบบ PIDRE โดยใช้การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพโรงเรียนเทศบาลชุมชนวิมลวิทยา เทศบาลเมืองตราด นำผลการพัฒนาไปสู่การปฏิบัติงานในหน้าที่ 2) มีการใช้เทคนิค วิธีการ หรือกระบวน การเรียนรู้ที่หลากหลาย และสะดวกในการนำไปปฏิบัติ 3) มีรูปแบบการพัฒนาที่มีความยืดหยุ่นใน การนำไปใช้พัฒนาทั้งในโรงเรียน โรงเรียนในสังกัดองค์การบริหารส่วนจังหวัดเดียวกัน และโรงเรียนที่สังกัดในองค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ด้านจุดมุ่งหมายของรูปแบบ 1) เพื่อพัฒนาความรู้ความเข้าใจ สร้างความตระหนักและเจตคติเกี่ยวกับการพัฒนาการนิเทศภายในด้วย กระบวนการนิเทศแบบ PIDRE โดยใช้การสร้าง ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพโรงเรียนเทศบาลชุมชนวิมลวิทยา เทศบาลเมืองตราด 2) เพื่อพัฒนาพฤติกรรมและทักษะด้านการพัฒนาการนิเทศภายในด้วย กระบวน การนิเทศแบบ PIDRE โดยใช้การสร้าง ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพโรงเรียนเทศบาลชุมชนวิมลวิทยา เทศบาลเมืองตราด 3) เพื่อให้ครูผู้สอนโรงเรียนเทศบาลชุมชนวิมลวิทยา เทศบาลเมืองตราด
นำความรู้และทักษะไปประยุกต์ใช้ในการปฏิบัติงานได้อย่างมีประสิทธิภาพ
3. ประสิทธิผลของรูปแบบการพัฒนาการนิเทศภายในด้วย กระบวนการนิเทศแบบ PIDRE โดยใช้การสร้าง ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โรงเรียนเทศบาลชุมชนวิมลวิทยา เทศบาลเมืองตราด ตรวจสอบได้ ดังรายละเอียดต่อไปนี้ 1) ความเหมาะสมของรูปแบบการพัฒนาพัฒนาการนิเทศภายในด้วย กระบวนการนิเทศแบบ PIDRE โดยใช้การสร้าง ชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โรงเรียนเทศบาลชุมชนวิมลวิทยา เทศบาลเมืองตราด มีความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และหากพิจารณารายด้าน คือ หลักการ จุดมุ่งหมาย และกระบวนการพัฒนา อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนชุดการพัฒนาในแต่ละองค์ประกอบ และการติดตามและประเมินผล มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุดภาวะผู้นำครูด้านการจัดการเรียนรู้ที่เปลี่ยนแปลงจากการทดลองใช้ 2) รูปแบบ การพัฒนาการนิเทศภายในด้วย กระบวนการนิเทศแบบ PIDRE โดยใช้การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ โรงเรียนเทศบาลชุมชนวิมลวิทยา เทศบาลเมืองตราด พบว่า ทุกองค์ประกอบมีผล การประเมินการนิเทศภายในด้วยกระบวนการนิเทศแบบ PIDRE โดยใช้การสร้าง ชุมชนแห่ง การเรียนรู้ทางวิชาชีพ โรงเรียนเทศบาลชุมชนวิมลวิทยา เทศบาลเมืองตราด โดยหาค่าร้อยละความก้าวหน้า เพิ่มขึ้นจากก่อนการทดลองใช้รูปแบบ โดยเฉลี่ย 92.86 3) การติดตามความคงทนของการนิเทศภายในด้วย กระบวนการนิเทศแบบ PIDRE โดยใช้การสร้างชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพซึ่งเป็นการเปรียบเทียบระหว่างพฤติกรรมระยะติดตามกับพฤติกรรมหลังการทดลอง โดยมีค่าร้อยละความก้าวหน้า 50.00 ค่าเฉลี่ยของความต่าง +0.10