ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานแนวคิด
เพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านและการเขียน ชุดกิจกรรม เรื่องสระน่ารู้
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1
ผู้วิจัย นางโชติมา สมบูรณ์ประเสริฐ ตำแหน่งครู วิทยฐานะครูชำนาญการพิเศษ
โรงเรียนบ้านพูด กรป.กลาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาพัทลุง เขต 2
ปีที่วิจัย ปีการศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานแนวคิดเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่าน และการเขียนชุดกิจกรรม เรื่องสระน่ารู้ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 2) เพื่อสร้างและพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานแนวคิดเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านและการ เขียนชุดกิจกรรม เรื่อง สระน่ารู้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 3) เพื่อศึกษาประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานแนวคิดเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านและการ เขียน ชุดกิจกรรม เรื่อง สระน่ารู้ ได้แก่ การเปรียบเทียบทักษะการอ่านและการ เขียนชุดกิจกรรม เรื่องสระน่ารู้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานแนวคิดเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านและการ เขียน ชุดกิจกรรม เรื่องสระน่ารู้สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 และ4) เพื่อขยายผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานแนวคิดเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านและการ เขียนชุดกิจกรรม เรื่องสระน่ารู้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัย คือ ครู จำนวน 10 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 30 คน และนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1โรงเรียนบ้านพูด กรป.กลาง ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2558 จำนวน 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานแนวคิด แผนการจัดการเรียนรู้ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ แบบสอบถามความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานแนวคิดเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านและการ เขียนชุดกิจกรรม เรื่องสระน่ารู้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ แบบสอบถามข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานแนวคิดเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านและการ เขียน ชุดกิจกรม เรื่อง สระน่ารู้ สำหรับชั้นนักเรียนประถมศึกษาปีที่ 1 (RPSMARA MODEL) แบบทดสอบวัดทักษะการอ่านและการ เขียนชุดกิจกรรม เรื่องสระน่ารู้ แบบประเมินพฤติกรรมการอ่านและการ เขียนชุดกิจกรรม เรื่องสระน่ารู้ และแบบ สอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานแนวคิดเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านและการ เขียนชุดกิจกรรม เรื่อง สระน่ารู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติการทดสอบที (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ข้อมูลพื้นฐานสำหรับการพัฒนารูปแบบการจัดการเรียนรู้วิชาภาษาไทยของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 โรงเรียนบ้านพูด กรป.กลาง พบว่า สภาพการจัดการเรียนการสอน ด้านวิธีการสอนในบางกิจกรรมไม่เหมาะสมโดยครูเน้นการสอนโดยการอธิบายความรู้อย่างเดียว ควรให้นักเรียนทำความเข้าใจเรื่องที่เรียนให้มากขึ้นมากกว่าการจำอย่างเดียว เด็กยังประสมสระไม่ถูกต้อง การอ่านและการเขียน สะกดคำที่ใช้สระเปลี่ยนรูป สระลดรูป ไม่ถูกต้อง ด้านการใช้สื่อการสอนในการจัดการเรียนรู้ มีความเหมาะสม มีการใช้สื่อเพลง บทร้อยกรอง หนังสือส่งเสริมการอ่าน บทเรียนสำเร็จรูป ภาพประกอบ แผนภูมิ และห้องสมุด ด้านการวัดและประเมินผลโดยเน้นเนื้อหาวิชาและกระบวนการเรียนรู้ ไม่เหมาะสม ควรให้นักเรียนฝึกการอ่านและการ เขียน ให้มากกว่านี้ เช่นวิธีการสอนแบบแผนภูมิ ควรให้นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติให้มากกว่านี้
ปัญหาการจัดการเรียนการสอน ด้านการเรียนการสอนนักเรียนบางส่วนยังประสมสระไม่ถูกต้อง ไม่รู้จักตัวสะกด อ่านไม่คล่อง ไม่รู้ความหมายของคำ และยังแต่งประโยคได้ไม่ถูกต้อง ด้านความพร้อมในการเรียนรู้ ส่วนใหญ่ยังไม่มีความพร้อมจะต้องอธิบายซ้ำๆ ในการจัดการเรียนการสอนคำนึงถึงเด็กที่อยู่ในกลุ่มเดียวกันแต่มีความสามารถด้านการรับรู้ไม่เท่ากันด้วย เด็กไม่ค่อยสนใจที่จะเรียนรู้ ครูควรหา วิธีที่ทำให้เด็กสนใจเรียนมากขึ้น ด้านการดำเนินการสอนมีเทคนิคการสอนที่หลากหลาย ครูควรปรับปรุงตนเองให้มีเทคนิคที่หลากหลาย หากผู้สอนนำสื่อ อุปกรณ์มาเสริมในการสอน แทนที่การอ่านนำให้เด็กอ่านตาม ก็ถือเป็นการสอนแบบบูรณาการส่วนหนึ่งแล้ว การประเมินผลยังไม่ค่อยชัดเจน ทำให้การปรับปรุงแก้ไขไม่ตรงจุดหรือตรงปัญหาที่แท้จริง การวัดผลและประเมินผลมีความชัดเจนแต่เด็กอ่านไม่ออก ไม่รู้จักคำที่ใช้สระต่างๆ การ เขียนคำไม่ถูกต้อง ด้านการพัฒนาศักยภาพผู้สอนในรูปแบบและเทคนิคการสอนที่ทันสมัย ครูผู้สอนควรเน้นการพัฒนาเทคนิควิธีสอนให้นักเรียนมีความสนใจและเข้าใจเนื้อหายิ่งขึ้น เช่น การใช้เทคโนโลยี การใช้ชุดกิจกรรม ชุดฝึก การนำเรื่องราวใกล้ตัวมาบูรณาการ และมีความสนุกสนานในการเรียน
2. รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานแนวคิดเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านและการ เขียน ชุดกิจกรรมเรื่อง สระน่ารู้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 (RPSMARA MODEL) ซึ่งประกอบด้วย 3 องค์ประกอบ คือ องค์ประกอบเชิงหลักการและวัตถุประสงค์ องค์ประกอบเชิงกระบวนการ และองค์ประกอบเชิงเงื่อนไขการนำรูปแบบไปใช้ กระบวนการจัดการเรียนรู้มี 7 ขั้นตอน คือ ขั้นทบทวนความรู้เดิม ขั้นการรับรู้ ขั้นการเตรียมความพร้อม ขั้นกระทำ ขั้นการปรับปรุง ขั้นการสรุป และขั้นการประยุกต์ใช้ความรู้ พบว่า การจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานแนวคิดเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านและการ เขียน ชุดกิจกรรม เรื่อง สระน่ารู้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 มีประสิทธิภาพ 82.69/84.33
3. ประสิทธิผลของรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานแนวคิดเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านและการ เขียนชุดกิจกรรม เรื่องสระน่ารู้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที1 สรุปผลได้ดังนี้
ผลการเปรียบเทียบการพัฒนาทักษะการอ่านและการ เขียนชุดกิจกรรม เรื่องสระน่ารู้สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 ในการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานแนวคิดร่วมกับ ชุดกิจกรรม พบว่า ชุดที่ 1 สระออขอให้จดจำ ผลการพัฒนาทักษะ การอ่านและการเขียนครั้งที่ 1 ได้คะแนนเฉลี่ย 6.47 ครั้งที่ 2 ได้คะแนนเฉลี่ย 8.27 แสดงว่า มีค่าพัฒนาเท่ากับ +1.80 ชุดที่ 2 สระอือสื่อความหมาย ผลการพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนครั้งที่ 1 ได้คะแนนเฉลี่ย 6.40 ครั้งที่ 2 ได้คะแนนเฉลี่ย 8.33 แสดงว่า มีค่าพัฒนาเท่ากับ +1.93 ชุดที่ 3 สระอำจำขึ้นใจ ผลการพัฒนาทักษะการอ่าน และการเขียนครั้งที่ 1 ได้คะแนน6.47เฉลี่ย ครั้งที่ 2 ได้คะแนนเฉลี่ย 8.23แสดงว่า มีค่าพัฒนาเท่ากับ +1.77 ชุดที่ 4 สระเอาเราเร่งเรียนรู้ ผลการพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนครั้งที่ 1 ได้คะแนนเฉลี่ย 6.53 ครั้งที่ 2 ได้คะแนนเฉลี่ย 8.17 แสดงว่า มีค่าพัฒนาเท่ากับ +1.63 ชุดที่ 5 สระเอียเชียร์ให้อ่าน ผลการพัฒนาทักษะการอ่านและการ เขียนครั้งที่ 1 ได้คะแนนเฉลี่ย 6.57ครั้งที่ 2 ได้คะแนนเฉลี่ย 8.30 แสดงว่า มีค่าพัฒนาเท่ากับ +1.73 ชุดที่ 6 สระเอืออ่านเพื่อค้นคว้า ผลการพัฒนาทักษะการอ่าน และการเขียนครั้งที่ 1 ได้คะแนนเฉลี่ย 6.47 ครั้งที่ 2 ได้คะแนนเฉลี่ย 8.27 แสดงว่า มีค่าพัฒนาเท่ากับ +1.80 ชุดที่ 7 สระอัวตัวสำคัญ ผลการพัฒนาทักษะการอ่านและการ เขียนครั้งที่ 1 ได้คะแนนเฉลี่ย 6.53 ครั้งที่ 2 ได้คะแนนเฉลี่ย 8.23 แสดงว่า มีค่าพัฒนาเท่ากับ +1.70 ชุดที่ 8 สระเอะแสนสนุก ผลการพัฒนาทักษะการอ่านและการ เขียนคำครั้งที่ 1 ได้คะแนนเฉลี่ย 6.50 ครั้งที่ 2 ได้คะแนนเฉลี่ย 8.20 แสดงว่า มีค่าพัฒนาเท่ากับ +1.70 ชุดที่ 9 สระแอะเสนอแนะคำ ผลการพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนครั้งที่ 1 ได้คะแนนเฉลี่ย ครั้งที่ 1 เท่ากับ 6.60 ครั้งที่ 2 ได้คะแนนเฉลี่ย 8.13 แสดงว่า มีค่าพัฒนาเท่ากับ + 1.53 ชุดที่10 สระเอาะไพเราะเสนาะอ่าน ผลการพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียนครั้งที่ 1 ได้คะแนนเฉลี่ย 6.50 ครั้งที่ 2 ได้คะแนนเฉลี่ย 8.37 แสดงว่ามีการพัฒนาเท่ากับ+ 1.80 ชุดที่ 11 สระโอะแสนกล ผลการพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียน ครั้งที่1 ได้คะแนนเฉลี่ย 6.50 ครั้งที่ 2 ได้คะแนนเฉลี่ย 8.33 แสดงว่ามีการพัฒนาเท่ากับ + 1.83 ชุดที่ 12 ชุดสระเอออย่าเผลอหลงลืม ผลการพัฒนาทักษะการอ่านและการเขียน ครั้งที่1 ได้คะแนนเฉลี่ย 6.60 ครั้งที่ 2ได้คะแนนเฉลี่ย 8.40 แสดงว่ามีค่าพัฒนาเท่ากับ + 1.80 ยอมรับสมมติฐานข้อที่ 2
ส่วน ความพึงพอใจที่มีต่อรูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานแนวคิดเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านและการเขียน ชุดกิจกรรม เรื่องสระน่ารู้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 พบว่า โดยภาพรวม รายด้าน และรายข้ออยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาค่าเฉลี่ยรายด้าน พบว่า
ด้านการจัดกระบวนการเรียนรู้ มีค่าเฉลี่ยมากที่สุด รองลงมาด้านสาระการเรียนรู้ เมื่อพิจารณารายข้อพบว่า มีความพึงพอใจระดับมากที่สุดทุกประเด็น ได้แก่ ความเหมาะสมของเวลาในการทำกิจกรรมแต่ละครั้งเหมาะสมที่สุด มีการวัดและประเมินผลที่หลากหลาย มีการแจ้งผลการประเมินให้ทราบ ขั้นตอนการสอนเข้าใจง่าย น่าสนใจ เนื้อหาสามารถนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน นักเรียนมีความสุขกับการจัดการเรียนการสอน ชุดกิจกรรมช่วยส่งเสริมทักษะการอ่านและการเขียน นักเรียนมีส่วนร่วมในการจัดในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนและได้ทำงานกลุ่มร่วมกับเพื่อ เนื้อหามีความสนใจ แบบฝึกในชุดกิจกรรมมีความน่าสนใจ เนื้อหามีความยากง่ายเหมาะสมกับวัย เนื้อหามีความหลากหลาย ตามลำดับ ซึ่งยอมรับสมมติฐานข้อที่ 3
4. การขยายผลการใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานแนวคิดเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านและการ เขียนชุดกิจกรรมเรื่อง สระน่ารู้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 สรุปผลได้ดังนี้ ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน พบว่า คะแนนก่อนเรียนมีค่าเฉลี่ย 20.63คะแนนหลังเรียนมีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 25.30 แสดงว่า คะแนนหลังเรียนสูงกว่าคะแนนก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001
ส่วนผลการประเมินการจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบผสมผสานแนวคิดเพื่อส่งเสริมทักษะการอ่านและการ เขียนชุดกิจกรรม เรื่องสระน่ารู้ สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่1 พบว่า ชุดที่ 1 สระออขอให้จดจำ โดยภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดี เมื่อพิจารณารายบุคคลพบว่า ดีมาก จำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ26.67 ดี จำนวน 22 คน คิดเป็นร้อยละ 73.33 แสดงให้เห็นว่า ส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ดี ชุดที่ 2 สระอือสื่อภาษา โดยภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดี เมื่อพิจารณารายบุคคลพบว่า ดีมาก จำนวน 9 คน คิดเป็นร้อยละ 30.00 ดี จำนวน 23 คน คิดเป็นร้อยละ 70 แสดงให้เห็นว่า ส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ดี ชุดที่ 3 สระอำจำขึ้นใจ โดยภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดี เมื่อพิจารณารายบุคคลพบว่า ดีมาก จำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 23.33 ดี จำนวน 23 คน คิดเป็นร้อยละ 76.67 แสดงให้เห็นว่า ส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ดี ชุดที่ 4 สระเอาเราเร่งเรียนรู้ โดยภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดี เมื่อพิจารณารายบุคคลพบว่า ดีมาก จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 13.33 ดี จำนวน 26 คน คิดเป็นร้อยละ 86.67 แสดงให้เห็นว่า ส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ดี ชุดที่ 5 สระเอียเชียร์ให้อ่าน โดยภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดี เมื่อพิจารณารายบุคคลพบว่า ดีมาก จำนวน 8 คน คิดเป็นร้อยละ 26.67 ดี จำนวน 22 คน คิดเป็นร้อยละ 73.33 แสดงให้เห็นว่า ส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ดี
ชุดที่ 6 สระเอืออ่านเพื่อค้นคว้า โดยภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดี เมื่อพิจารณารายบุคคลพบว่า ดีมาก จำนวน 4 คน คิดเป็น ร้อยละ 13.33 ดี จำนวน 26 คน คิดเป็นร้อยละ 86.67 แสดงให้เห็นว่า ส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ดี ชุดที่ 7 สระอัวตัวสำคัญ โดยภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดี เมื่อพิจารณารายบุคคลพบว่า ดีมาก จำนวน 7 คน คิดเป็นร้อยละ 23.33 ดี จำนวน 23 คน คิดเป็นร้อยละ 76.67 แสดงให้เห็นว่า ส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ดี ชุดที่ 8 สระเอะแสนสนุก โดยภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดี เมื่อพิจารณารายบุคคลพบว่า ดีมาก จำนวน 6 คน คิดเป็นร้อยละ 20 ดี จำนวน 24 คน คิดเป็นร้อยละ 80 แสดงให้เห็นว่า ส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ดี ชุดที่ 9 สระเเอะเสนอแนะคำ โดยภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดี เมื่อพิจารณารายบุคคลพบว่า ดีมาก จำนวน 4 คน คิดเป็นร้อยละ 13.33 ดี จำนวน 26 คน คิดเป็นร้อยละ 86.67 แสดงให้เห็นว่า ส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ดี ชุดที่ 10 สระเอาะไพเราะเสนาะอ่าน โดยภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดี เมื่อพิจารณารายบุคคลพบว่า ดีมาก จำนวน 11 คน คิดเป็นร้อยละ 36.67 ดี จำนวน 19 คน คิดเป็นร้อยละ 63.33 แสดงให้เห็นว่า ส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ดี ชุดที่ 11 สระโอะแสนกล โดยภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดี เมื่อพิจารณารายบุคคลพบว่า ดีมาก จำนวน 10 คน คิดเป็นร้อยละ 33.33 ดี จำนวน 20 คน คิดเป็นร้อยละ66.67 แสดงให้เห็นว่า ส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ดี และชุดที่ 12 สระเอออย่าเผลอหลงลืม โดยภาพรวมอยู่ในเกณฑ์ดี เมื่อพิจารณารายบุคคลพบว่า ดีมาก จำนวน 12คน คิดเป็นร้อยละ 40 ดี จำนวน 18 คน คิดเป็นร้อยละ60 แสดงให้เห็นว่า ส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ดี ซึ่งยอมรับสมมติฐานข้อที่ 4