ชื่อผลงาน : กิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ และระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕
คำสำคัญ : ๑. Active Learning
๒. ยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
๑. ความสำคัญของผลงานหรือนวัตกรรมที่นำเสนอ
ภาษาไทยเป็นเอกลักษณ์ประจำชาติ เป็นสมบัติทางวัฒนธรรมอันก่อให้เกิดความเป็นเอกภาพและเสริมสร้างบุคลิกภาพของคนในชาติให้มีความเป็นไทย เป็นเครื่องมือในการติดต่อสื่อสารเพื่อ สร้างความเข้าใจและความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน กระบวนการสอนภาษาไทยเป็นการมุ่งเน้นให้ผู้เรียนเกิดทักษะที่จำเป็นในด้านของการสื่อสาร การฟัง พูด อ่าน เขียน ให้มีประสิทธิภาพ โดยทั้งหมดจะต้องให้ผู้เรียนสามารถเข้าใจหลักภาษาและวรรณคดีไทยอย่างเห็นคุณค่า ในฐานะที่เป็นมรดกทางวัฒนธรรม ครูผู้สอนจำเป็นที่จะต้องหาเทคนิควิธีการเพื่อจะให้นักเรียนได้เกิดความรู้ความเข้าใจในเนื้อหาวิชามากยิ่งขึ้น
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 มาตรา 23 มีสาระสำคัญ คือการจัด การศึกษาทั้งการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบ และการศึกษาตามอัธยาศัยต้องเน้นความสำคัญ ทั้งความรู้และคุณธรรม กระบวนการเรียนรู้ ในฐานะภาษาประจำชาติ เป็นมรดกอันล้ำค่าที่คนไทยทุก คนควรช่วยกันรักษาไว้ให้คงอยู่ตลอดไปการเรียนรู้ภาษาไทยได้อย่างมีประสิทธิภาพซึ่งต้องอาศัยวุฒิภาวะและประสบการณ์ในการจัดประสบการณ์ทางด้านภาษาประกอบด้วยทักษะการฟัง การพูด การ อ่าน และการเขียนเป็นพื้นฐาน ซึ่งเป็นภารกิจหลักของโรงเรียนและครูผู้สอนที่จะจัดการเรียนการสอน ให้ผู้เรียน (กระทรวงศึกษาธิการ. 2551 : 1) หลักสูตรกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ตามหลักสูตร แกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 จึงได้กำหนดสาระหลักไว้ 5 สาระ ได้แก่ การอ่าน การเขียน การฟังและการพูด หลักการใช้ภาษา วรรณคดีและวรรณกรรม (กระทรวงศึกษาธิการ. 2552 : 1)
จากผลการทดสอบระดับชาติ (O-net) ปีการศึกษา ๒๕๖๑ โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล เขตทวีวัฒนา กรุงเทพมหานคร ยังมีผลคะแนนเฉลี่ยในสาระหลักการใช้ภาษาไทยค่อนข้างน้อย ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ ได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ ๕๔.๖๙ และระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๖ ได้คะแนนเฉลี่ยร้อยละ ๔๖.๒๔ ประกอบกับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ ไม่สูงเท่าที่ควร ส่วนใหญ่นักเรียนจะมีปัญหาในการเรียนหลักการใช้ภาษาไทย ทักษะการอ่านและทักษะการเขียน จึงทำให้นักเรียนทำข้อสอบไม่ได้ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจึงไม่เป็นไปตามเป้าหมายเท่าที่ควร จะเห็นได้ว่าจากความสำคัญของปัญหาที่กล่าวมาแล้วนั้น มีส่วนทำให้เกิดอุปสรรคในการเรียนการสอนและการฝึกทักษะด้านต่าง ๆ ของวิชาภาษาไทย ผู้เขียนจำเป็นต้องคิดค้นวิธีการในการจัดการเรียนการสอนเพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ในการเรียนภาษาไทยให้สูงขึ้น จึงเลือกวิธีการการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning มาแก้ปัญหาการจัดการเรียนการสอนภาษาไทย
กิจกรรมการเรียนรู้แบบกระตือรือร้น (active learning) มีลักษณะเป็นกิจกรรม ที่ให้ผู้เรียนได้ลงมือทำ และได้คิดเกี่ยวกับสิ่งที่ตนเองทำอยู่ (Bonwell & Eison, 1991) โดยภาพรวมแล้ว ผู้เรียนได้คิด ได้พูด ได้ลงมือทำเพื่อแก้ปัญหา หรือสร้างสรรค์ในลักษณะต่าง ๆ ทำให้ได้ฝึกพัฒนาทักษะอย่างหลากหลายด้านตลอดกระบวนการเรียนรู้ สำหรับในวิชาภาษาไทย สามารถจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ active learning ได้ในทุกสาระการเรียนรู้ โดยเฉพาะสาระการเรียนรู้ที่เป็นทักษะพื้นฐานได้แก่ สาระการเรียนรู้การอ่านนั้น ได้มีการเสนอกิจกรรมการสอนอ่านตามแนวคิด active learning ไว้หลายหลายกิจกรรม อาทิ กิจกรรมการบรรยาย (describe) กิจกรรมการวิเคราะห์ (analyze) กิจกรรมการสำรวจ (explore) กิจกรรมการเชื่อมโยง (relate) เป็นต้น ดังนั้นผู้เขียนจึงได้จัดทำวิธีหรือแนวทางปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (Best Practice) เรื่องกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ และระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕
เป้าหมาย
ตัวชี้วัดเชิงปริมาณ ปีการศึกษา ๒๕๖๑
๑.นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓/๕ จำนวน ๔๑ คน
๒.นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓/๘ จำนวน ๔๕ คน
๓.นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓/๑๑ จำนวน ๔๗ คน
๔.นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓/๑๓ จำนวน ๑๙ คน
๕.นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕/๙ จำนวน ๔๕ คน
ตัวชี้วัดเชิงคุณภาพ ปีการศึกษา ๒๕๖๑
๑.นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ และ ๕ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น
๒.นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ และ ๕ มีเจตคติที่ดีในการเรียนวิชาภาษาไทย
๒. ลำดับขั้นตอนการดำเนินกิจกรรม
๒.๑ ขั้นวางแผน (Plan)
๒.๑.๑ วิเคราะห์ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและผลการทดสอบระดับชาติ (O-net)
๒.๑.๒ ศึกษาหลักสูตรและแนวคิดทฤษฎีที่เกี่ยวข้องเกี่ยวกับการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning
๒.๑.๓ ออกแบบการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning
๒.๒ ขั้นดำเนินการตามแผน (Do)
-วางแผนและเตรียมการ
-จัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning
-ประเมินผลการจัดกิจกรรม
-ปรับปรุงและพัฒนา
-รายงานผลและเผยแพร่
๒.๓ ขั้นตรวจสอบ (Chake)
๒.๓.๑ ตรวจสอบคุณภาพแผนการจัดการเรียนรู้โดยผู้เชี่ยวชาญ
๒.๓.๒ กำกับติดตามการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยคณะกรรมการนิเทศการสอน ๒.๓.๓ เปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ และ ๕ ภาคเรียนที่ ๑ และ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๑
๒.๔ ขั้นรายงานผลเพื่อปรับปรุงพัฒนา (Action)
๒.๔.๑ สรุปและเขียนรายงานผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ และ ๕
๒.๔.๒ วิเคราะห์ผลผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยร่วมกัน เพื่อนำข้อมูลไปวางแผนพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในปีการศึกษาถัดไป
๓. ผลการดำเนินการ
ตารางการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
วิชาภาษาไทยของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ และ ๕ ภาคเรียนที่ ๑ และ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๑
ชั้น/ห้อง
ภาคเรียน ๔ ๓.๕ ๓ ๒.๕ ๒ ๑.๕ ๑ ๐ ร มส
๑ ๒ ๑ ๒ ๑ ๒ ๑ ๒ ๑ ๒ ๑ ๒ ๑ ๒ ๑ ๒
ม.๓/๕ (๔๑) ๑ ๑ ๑ ๕ ๑๕ ๒๔ ๑๕ ๒ ๙ ๘ - ๑ - - - -
ม.๓/๘ (๔๕) ๑ ๑ ๒ ๒ ๔ ๒๑ ๑๑ ๙ ๒๐ ๑๐ ๗ - - - - -
ม.๓/๑๑ (๔๗) - ๔ ๑ ๑ ๗ ๑๑ ๙ ๑๑ ๑๗ ๘ ๙ ๗ ๔ ๔ - -
ม.๓/๑๓ (๑๙) ๒ ๕ ๒ ๒ ๕ ๕ ๕ - ๔ ๖ ๑ - - ๑ - -
ม.๕/๙ (๔๕) ๒ ๖ ๑ ๑๐ ๑๕ ๒๔ ๑๕ ๔ ๑๒ - - - - - - ๑
หมายเหตุ : นักเรียนที่ได้ มส. คือนักเรียนที่สอบเทียบได้และมาขอลาออก
สรุปผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ และ ๕ ได้ดังนี้
นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นดังนี้
-ผลการเรียน ๔ ภาคเรียนที่ ๒ เพิ่มขึ้น จำนวน ๗ คน
-ผลการเรียน ๓.๕ ภาคเรียนที่ ๒ เพิ่มขึ้น จำนวน ๔ คน
-ผลการเรียน ๓ ภาคเรียนที่ ๒ เพิ่มขึ้น จำนวน ๓๐ คน
นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้นดังนี้
-ผลการเรียน ๔ ภาคเรียนที่ ๒ เพิ่มขึ้น จำนวน ๔ คน
-ผลการเรียน ๓.๕ ภาคเรียนที่ ๒ เพิ่มขึ้น จำนวน ๙ คน
-ผลการเรียน ๓ ภาคเรียนที่ ๒ เพิ่มขึ้น จำนวน ๙ คน
การดำเนินการตามกระบวนการ Best Practice กิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ และระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ พบว่า ด้านการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนนักเรียนให้ความร่วมมือการจัดกิจกรรมเป็นอย่างดี บรรยากาศในการเรียนการสอนเปลี่ยนไป นักเรียนกล้าแสดงความคิดเห็นมากขึ้น มีการวิเคราะห์ข้อมูล และรู้จักการทำงานร่วมกัน สามารถแลกเปลี่ยนเรียนรู้และทำความเข้าใจต่อบทเรียนมากขึ้น ส่วนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่เกิดขึ้นอาจต้องพัฒนาต่อไป เนื่องจากมีนักเรียนอีกประมาณ ๕ คนที่เป็นคนเดิม ยังได้ผลการเรียน ๑ เหมือนเดิม ซึ่งครูต้องนำนักเรียนกลุ่มนี้มาวิเคราะห์เพื่อแก้ปัญหากับนักเรียนในปีการศึกษาต่อไปที่มีลักษณะเช่นเดียวกัน และส่งต่อนักเรียนกลุ่มนี้ให้กับครูในระดับชั้นที่สูงขึ้นต่อไป
๔. บทเรียนที่ได้รับ
การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ และระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ เกิดบทเรียนที่ได้รับดังนี้
๑. การจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงในการเรียนรู้กับนักเรียน นักเรียนได้ฝึกทักษะการคิด การแลกเปลี่ยนเรียนรู้ การทำงานร่วมกัน นักเรียนสามารถยอมรับความสามารถของแต่ละบุคคลที่มีความแตกต่างกัน
๒. นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติจริงในการฝึกทักษะต่าง ๆ ด้านภาษาไทย เช่น การอ่าน การฟังและการพูด การเขียน โดยนำองค์ความรู้ที่เกิดจากตนเองที่ได้จากการค้นคว้าจากแหล่งข้อมูลต่าง ๆ ที่หลากหลาย
๓. บรรยากาศในห้องเรียนเต็มไปด้วยความสนุกสนาน ไม่น่าเบื่อ ไม่ต้องมาฟังครูบรรยายเพียงอย่างเดียว ครูสามารถนำความรู้และประสบการณ์มาแลกเปลี่ยนเรียนรู้ร่วมกับนักเรียนจนเกิดองค์ความรู้ใหม่ ๆ
๔. นักเรียนมีเจตคติที่ดีในการเรียนภาษาไทย ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรมต่าง ๆ ได้ดี ส่ง งานครบและตรงเวลา
๕. ปัจจัยความสำเร็จ
ปัจจัยที่ส่งผลต่อความสำเร็จ ของการดำเนินการ ได้แก่
๕.๑ ปัจจัยภายนอก ได้แก่
๕.๑.๑ ผู้บริหารและหัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้ให้ความสำคัญและสนับสนุนการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อยกผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน
๕.๑.๒ การมีส่วนร่วมในการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของครูผู้สอนในระดับชั้นเดียวกัน
๕.๑.๓ ความพร้อมของสื่อเทคโนโลยีในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้
๕.๑.๔ ครูผู้สอนมีการเตรียมความพร้อมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning
๕.๑.๕ ได้รับคำแนะนำจากครูผู้มีความเชี่ยวชาญในการจัดการเรียนการสอน
๕.๒ ปัจจัยภายใน ได้แก่
๕.๒.๑ นักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ และนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕ มีความรู้ความเข้าใจในหลักการใช้ภาษาไทย วรรณคดีไทย มีทักษะด้านการอ่าน การพูดและการฟัง และการเขียนภาษาไทย มีความสามารถในการคิด การทำงานร่วมกัน เห็นคุณค่าและมีเจตคติที่ดีในการเรียนวิชาภาษาไทย
๕.๒.๒ นักเรียนมีความรับผิดชอบต่อการเรียนวิชาภาษาไทย ส่งงานครบและตรงเวลา
๖. การเผยแพร่ผลงาน/การได้รับการยอมรับ
๖.๑ การเผยแพร่
๖.๑.๑ เผยแพร่ผลงานทางเว็บไซต์โรงเรียนนวมินทราชินูทิศ สตรีวิทยา พุทธมณฑล
www.satriwit3.ac.th
๖.๒ การได้รับการยอมรับ
๖.๒.๑ นักเรียน ผู้ปกครอง และครูมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้แบบ Active Learning เพื่อยกระดับผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนวิชาภาษาไทยของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ และระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕
๖.๒.๒ การได้แลกเปลี่ยนเรียนรู้ในชุมชนแห่งการเรียนรู้ทางวิชาชีพ (Professional Learning Community : PLC) ระหว่างครูผู้สอนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓ และระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๕