ชื่อเรื่อง ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หน่วยการเรียนรู้ การดำรงชีวิตของพืช
ผู้ศึกษา นางกัณตา จันทร์ใด
โรงเรียน โรงเรียนเพียพิทยาพัฒน์ อำเภอคำตากล้า จังหวัดสกลนคร
ปีที่ศึกษา 2560
บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้มีความมุ่งหมายเพื่อ 1) เพื่อพัฒนาชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระ การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หน่วยการเรียนรู้ การดำรงชีวิตของพืช ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อศึกษาดัชนีประสิทธิผลของการเรียนรู้ด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หน่วยการเรียนรู้ การดำรงชีวิตของพืช ที่ผู้รายงานสร้างขึ้น 3) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่าง ก่อนเรียนและหลังเรียน โดยการเรียนด้วยชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หน่วยการเรียนรู้ การดำรงชีวิตของพืช 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หน่วยการเรียนรู้ การดำรงชีวิตของพืช กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนชั้นชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ปีการศึกษา 2560 โรงเรียนเพียพิทยาพัฒน์ อำเภอคำตากล้า จังหวัดสกลนคร สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสกลนคร เขต 3 จำนวน 19 คน ได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาค้นคว้าประกอบด้วย 1) ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หน่วยการเรียนรู้ การดำรงชีวิตของพืช จำนวน 7 เล่ม 2) แผนการจัดการเรียนรู้ เป็น (คู่มือ) ใช้ประกอบชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หน่วยการเรียนรู้ การดำรงชีวิตของพืช จำนวน 7 แผน เวลา 18 ชั่วโมง 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เป็นแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนและหลังใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หน่วยการเรียนรู้ การดำรงชีวิตของพืช เป็นลักษณะปรนัย 4 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ 2 ฉบับ ซึ่งมีค่าความยากอยู่ระหว่าง 0.20 0.80 มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ อยู่ระหว่าง 0.27 0.82 และมีความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.83 4) แบบวัดความพึงพอใจ ของนักเรียนที่มีต่อชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หน่วยการเรียนรู้ การดำรงชีวิตของพืช ซึ่งเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) มี 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ ระหว่าง 0.48 0.79 และมีค่า ความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.82 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบค่าที (t-test Dependent Sample)
ผลการศึกษาพบว่า
1. ผลการวิเคราะห์หาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระ การเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หน่วยการเรียนรู้ การดำรงชีวิตของพืช พบว่า มีประสิทธิภาพเท่ากับ 86.09/91.75 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ 80/80
2. ผลการวิเคราะห์หาค่าดัชนีประสิทธิผลของชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หน่วยการเรียนรู้ การดำรงชีวิตของพืช มีค่าเท่ากับ 0.5591
แสดงว่าผู้เรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนรู้เพิ่มขึ้น คิดเป็นร้อยละ 55.91
3. ผลการเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของค่าเฉลี่ยคะแนนการทดสอบระหว่าง
ก่อนเรียนและหลังเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หน่วยการเรียนรู้ การดำรงชีวิตของพืช พบว่า คะแนนเฉลี่ย การทดสอบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนเรียนและหลังเรียน แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 โดยคะแนนเฉลี่ยทดสอบหลังเรียนสูงกว่าคะแนนเฉลี่ยทดสอบก่อนเรียน
4. ความพึงพอใจของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ที่มีต่อการเรียนโดยใช้ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 หน่วยการเรียนรู้ การดำรงชีวิตของพืช โดยรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ
ชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์กระตุ้นความสนใจในการเรียนวิชาวิทยาศาสตร์ และข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด
คือ กิจกรรมในชุดกิจกรรมวิทยาศาสตร์มีความเหมาะสมกับเวลา