บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการเขียน
เชิงสร้างสรรค์ โดยใช้แผนผังความคิดตามกระบวนการเรียนรู้แบบโครงงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 2) พัฒนากิจกรรมการเรียนรู้การเขียนเชิงสร้างสรรค์
โดยใช้แผนผังความคิดตามกระบวนการเรียนรู้แบบโครงงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 3) เปรียบเทียบทักษะ
การเขียนเชิงสร้างสรรค์และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนรู้โดยใช้แผนผังความคิด
ตามกระบวนการเรียนรู้แบบโครงงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียน
ชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน และ 4) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ โดยใช้แผนผังความคิดตามกระบวนการเรียนรู้แบบโครงงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 กลุ่มตัวอย่าง
ในการวิจัยครั้งนี้ ประกอบด้วย กลุ่มตัวอย่างในการศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการเขียนเชิงสร้างสรรค์ โดยใช้แผนผังความคิดตามกระบวนการเรียนรู้แบบโครงงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทยคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนเทศบาลบูรพาอุบล โรงเรียนเทศบาล 3 สามัคคีวิทยาคาร และโรงเรียนเทศบาล 2 หนองบัว จำนวน 140 คน ที่ศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561
การกำหนดขนาดของกลุ่มตัวอย่างได้จากตารางสำเร็จรูป Krejecie and Morgan กลุ่มตัวอย่าง
ในการทดลองคือ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4/4 จำนวน 34 คน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนเทศบาล 2 หนองบัว ที่ได้มาด้วยการสุ่มกลุ่มตัวอย่างแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ประกอบด้วย แบบสอบถามข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการเขียนเชิงสร้างสรรค์
โดยใช้แผนผังความคิดตามกระบวนการเรียนรู้แบบโครงงาน กิจกรรมการเรียนรู้ แบบทดสอบภาคปฏิบัติ
การเขียนเชิงสร้างสรรค์ ซึ่งมีความเหมาะสมระดับมากที่สุด โดยมีค่าเฉลี่ย 4.75, 4.72 และ 4.50 ตามลำดับ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ซึ่งมีค่าความยากง่าย (p) ระหว่าง .28 ถึง .83
ค่าอำนาจจำแนก (r) ระหว่าง .26 ถึง .74 มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .95 และแบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนเชิงสร้างสรรค์ โดยใช้แผนผังความคิด
ตามกระบวนการเรียนรู้แบบโครงงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4
มีค่าความเชื่อมั่น .92 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย( )
ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) และการทดสอบค่าที (t-test)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ผลการศึกษาข้อมูลพื้นฐานและความต้องการในการเขียนเชิงสร้างสรรค์
โดยใช้แผนผังความคิดตามกระบวนการเรียนรู้แบบโครงงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย
สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 พบว่า นักเรียนมีความต้องการในการเขียนเชิงสร้างสรรค์
โดยใช้แผนผังความคิดตามกระบวนการเรียนรู้แบบโครงงานจากความสนใจมากที่สุดไปหาน้อยที่สุดตามลำดับคือ วัดพระธาตุหนองบัว โรงเรียนเทศบาล 2 หนองบัว งานบุญมหาชาติคุ้มวัดพระธาตุหนองบัว สวนสาธารณะหนองบัว ศูนย์วิทยาศาสตร์เพื่อการศึกษาอุบลราชธานี ทุ่งศรีเมือง
ตลาดหนองบัว
2. ผลการพัฒนากิจกรรมการเรียนรู้การเขียนเชิงสร้างสรรค์ โดยใช้แผนผังความคิดตามกระบวนการเรียนรู้แบบโครงงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 มีค่าประสิทธิภาพกระบวนการ (E1) เท่ากับ 85.04 และมีค่าประสิทธิภาพผลลัพธ์ (E2) เท่ากับ 86.18 หรือมีค่า E1/E2 เท่ากับ 85.04/86.18 โดยสูงกว่าเกณฑ์ค่าประสิทธิภาพที่กำหนดไว้คือ 80/80
3. ผลการเปรียบเทียบการทดสอบภาคปฏิบัติการเขียนเชิงสร้างสรรค์ของนักเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 และผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียน
หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4. ผลการประเมินความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะ
การเขียนเชิงสร้างสรรค์ โดยใช้แผนผังความคิดตามกระบวนการเรียนรู้แบบโครงงาน กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย สำหรับนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด