ชื่อผลงาน รายงานประเมินโครงการ ๑ กิจกรรม นำสู่อาชีพ อยู่อย่างพอเพียง
ของโรงเรียนบ้านห้วยยางปีการศึกษา 2561
ชื่อผู้รายงาน นางจันทร์ฉาย นวลจันทร์ ตำแหน่งผู้อำนวยการสถานศึกษา โรงเรียนบ้านห้วยยาง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2
ปีที่พิมพ์ 2562
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
การประเมินโครงการ ๑ กิจกรรม นำสู่อาชีพ อยู่อย่างพอเพียง สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาราชบุรี เขต 2 ใช้รูปแบบ CIPP Model ของสตัฟเฟิลบีม (Daneil L. Stufflebeam) เป็นกรอบในการประเมิน โดยมีวัตถุประสงค์ เพื่อประเมินโครงการ ๑ กิจกรรม นำสู่อาชีพ อยู่อย่างพอเพียง ของโรงเรียนบ้านห้วยยาง ใน 4 ด้าน ได้แก่ ด้านสภาพแวดล้อม (Context Evaluation) และด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน และครู ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) และ ด้านผลผลิต (Product Evaluation) ตามความคิดเห็นของผู้บริหารโรงเรียน ครู นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมินโครงการ ๑ กิจกรรม นำสู่อาชีพ อยู่อย่างพอเพียง จำนวน 99 คน ประกอบด้วย 1) กลุ่มตัวอย่างที่มาจากประชากรแบบเจาะจง (purposive sampling) ประกอบด้วย ผู้บริหารโรงเรียน จำนวน 1 คน 2) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้มาจากครู โดยการเปิดตารางสัดส่วน กลุ่มตัวอย่างของเครจซีและมอร์แกน (Krejcie & Morgan) ที่ระดับความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้ 5% และระดับความเชื่อมั่น ร้อยละ 95 จำนวน 10 คน และ 3) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้มาจากนักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน โดยการเปิดตารางสัดส่วน กลุ่มตัวอย่างของเครจซีและมอร์แกน (Krejcie & Morgan) ที่ระดับความคลาดเคลื่อนที่ยอมรับได้ 5% และระดับความเชื่อมั่น ร้อยละ 95 จำนวน 88 คน
เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล เป็นแบบการประเมินโครงการ มาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) 5 ระดับ จำนวน 3 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ( ) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการประเมิน พบว่า
1. ด้านสภาพแวดล้อม (Context) ผู้บริหารโรงเรียน และครู มีความคิดเห็นต่อโครงการ ๑ กิจกรรม นำสู่อาชีพ อยู่อย่างพอเพียง โดยภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมาก ( = 4.47, S.D. = 0.28) สำหรับผลการประเมินรายข้อ ปรากฏว่า มีความเหมาะสมในระดับมากเป็นส่วนใหญ่ โดยมีข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ คือ วัตถุประสงค์ของโครงการ มีความสอดคล้อง กับสภาพความต้องการ กับเป้าหมายของโครงการ
2. ด้านปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ผู้บริหารโรงเรียน และครู มีความคิดเห็นต่อโครงการ ๑ กิจกรรม นำสู่อาชีพ อยู่อย่างพอเพียง โดยภาพรวมมีความเหมาะสมในระดับมาก ( = 4.359S.D. = 0.13)สำหรับผลการประเมินรายข้อ ปรากฏว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด 3 ข้อคือ 1.ระยะเวลาที่ใช้ในการปฏิบัติกิจกรรมตามโครงการ มีความเหมาะสม เพียงพอ 2.ความเหมาะสมของอาคารสถานทีที่ใช้ในการดำเนินกิจกรรมตามโครงการ พอเพียง 3.การให้ความร่วมมือและสนับสนุนจาก ครู ผู้ปกครองชุมชนและหน่วยงานอื่น
3. ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) ผู้บริหารโรงเรียน ครู นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน มีความคิดเห็นต่อโครงการ ๑ กิจกรรม นำสู่อาชีพ อยู่อย่างพอเพียง โดยภาพรวมมีการปฏิบัติในระดับมากที่สุด ( = 4.53, S.D. = 0.39) สำหรับผลการประเมินรายข้อ ปรากฏว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุดคือ กิจกรรมในโครงการช่วยให้โรงเรียนบรรลุวัตถุประสงค์ และเป้าหมายของโครงการ
4. ด้านผลผลิต (Product Evaluation) ผู้บริหารโรงเรียน ครู นักเรียน และผู้ปกครองนักเรียน มีความคิดเห็นต่อโครงการ ๑ กิจกรรม นำสู่อาชีพ อยู่อย่างพอเพียง โดยภาพรวมมีการปฏิบัติตามโครงการ ในระดับมาก ( = 4.41, S.D. = 0.19) สำหรับผลการประเมินรายกลุ่ม ปรากฏว่า กลุ่มที่มีระดับ การปฎิบัติในระดับมากที่สุด 2 ข้อ คือ กิจกรรมทำด้วยมือ สื่อด้วยงาน และการได้รับการยอมรับ และกลุ่มที่มีระดับการปฎิบัติในระดับรองลงมากิจกรรมสร้างงาน สร้างอาชีพ และกลุ่มที่มีระดับ การปฎิบัติในระดับมาก คือ กิจกรรมการให้ความรู้ด้านอาชีพ