นิภาพรรณ หงษ์ชูเกียรติ (2562) การประเมินโครงการเกษตรอินทรีย์เพื่อชีวิตพอเพียง เพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนโรงเรียนทรัพย์ทวี
บทคัดย่อ
การประเมินโครงการเกษตรอินทรีย์เพื่อชีวิตพอเพียงเพื่อพัฒนาทักษะชีวิตของนักเรียนโรงเรียนทรัพย์ทวี ครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ ประเมินบริบทของโครงการเกี่ยวกับความต้องการจำเป็น ในการจัดทำโครงการ และความเป็นไปได้ของโครงการ ประเมินปัจจัยนำเข้าของโครงการเกี่ยวกับความเหมาะสมของผู้รับผิดชอบโครงการ ความเหมาะสมของกิจกรรม ความเหมาะสมของพื้นที่/พืชเพาะปลูก ประเมินกระบวนการของโครงการเกี่ยวกับกิจกรรมที่ดำเนินการ การกำกับติดตาม ประเมินผลผลิตของโครงการเกี่ยวกับ ความรู้เรื่องทักษะชีวิตของนักเรียน ความพึงพอใจของผู้มีส่วนร่วมและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง ได้แก่ นักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ ได้แก่ นักเรียน ครู ผู้ปกครอง และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 173 คน ประกอบด้วย นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 - ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 84 คน ครู จำนวน 14 คน ผู้ปกครอง จำนวน 68 คน แลคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน เก็บรวบรวมข้อมูลโดยใช้แบบสอบถามชนิดมาตรประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 9 ฉบับ แบบทดสอบ จำนวน 1 ฉบับ แบบสัมภาษณ์ จำนวน 2 ฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลโดยการหาค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการทดสอบที ผลการประเมินโครงการสรุปได้ ดังนี้
ผลการประเมินโดยภาพรวม พบว่า ผ่านเกณฑ์ในระดับมากที่สุด ซึ่งประเด็นการประเมินทั้ง 4 ด้าน ผ่านเกณฑ์การประเมินที่ตั้งไว้ โดยประเด็นที่ผ่านในระดับมากที่สุดมี 2 ประเด็น คือ ด้านกระบวนการ รองลงมาคือ ด้านผลผลิต และผ่านเกณฑ์ในระดับมากมี 2 ประเด็น คือ ด้านบริบท และด้านปัจจัยนำเข้า ผลการประเมินรายประเด็นและตัวชี้วัด สรุปได้ดังนี้
1.ผลการประเมินประเด็นบริบท พบว่า มีผลการดำเนินโครงการประเด็นบริบทในระดับ
มาก โดยตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 2 ตัวชี้วัด ดังนี้
1.1ความต้องการจำเป็นในการจัดทำโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับ
มาก
1.2ความเป็นไปได้ของโครงการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
2.ผลการประเมินประเด็นปัจจัยนำเข้า พบว่า มีผลการดำเนินโครงการประเด็นปัจจัยนำเข้า ในระดับมาก โดยตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 3 ตัวชี้วัด ดังนี้
2.1ความเหมาะสมของบุคลากร พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
2.2ความเหมาะสมของกิจกรรม พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
2.3ความเหมาะสมของพื้นที่/พืชเพาะปลูก พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมาก
3.ผลการประเมินประเด็นกระบวนการ พบว่า มีผลการดำเนินโครงการประเด็น
กระบวนการในระดับมากที่สุด โดยตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 2 ตัวชี้วัด ดังนี้
3.1กิจกรรมที่ดำเนินการ พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมากที่สุด
3.2การกำกับติดตาม พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินในระดับมากที่สุด
4.ผลการประเมินประเด็นผลผลิต พบว่า มีผลการดำเนินโครงการในประเด็นผลผลิตในระดับสูง โดยตัวชี้วัดผ่านเกณฑ์การประเมินทั้ง 8 ตัวชี้วัด ดังนี้
4.1ความรู้เรื่องทักษะชีวิต พบว่า หลังจากเข้าร่วมโครงการแล้ว นักเรียนมีความรู้
เรื่องทักษะชีวิตเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ในระดับมากที่สุด โดยนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 - 6 มีความรู้เรื่องทักษะชีวิตเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ในระดับมาก และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3 มีความรู้เรื่องทักษะชีวิตเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ0.001 ในระดับมากที่สุด
4.2นักเรียนที่มีทักษะชีวิตด้านการตระหนักรู้และเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่น พบว่า
หลังจากเข้าร่วมโครงการแล้ว นักเรียนมีทักษะชีวิตด้านการตระหนักรู้ และเห็นคุณค่าในตนเอง และผู้อื่นเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ในระดับมากที่สุด โดยนักเรียนชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 3 - 6 มีทักษะชีวิตด้านการตระหนักรู้และเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่นเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ในระดับมากที่สุด และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3 มีทักษะชีวิตด้านการตระหนักรู้และเห็นคุณค่าในตนเองและผู้อื่นเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ในระดับมากที่สุด
4.3นักเรียนที่มีทักษะชีวิตด้านการคิดวิเคราะห์ ตัดสินใจและแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์ พบว่า หลังจากเข้าร่วมโครงการแล้ว นักเรียนมีทักษะชีวิตด้านการคิดวิเคราะห์ ตัดสินใจ และแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์เพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ในระดับมากที่สุด โดยนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีนที่ 3 - 6 มีทักษะชีวิตด้านการคิดวิเคราะห์ ตัดสินใจ และแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์เพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ในระดับมากที่สุด และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 - 3 มีทักษะชีวิตด้านการคิดวิเคราะห์ ตัดสินใจ และแก้ปัญหาอย่างสร้างสรรค์เพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ในระดับมากที่สุด
4.4นักเรียนที่มีทักษะชีวิตด้านการจัดการกับอารมณ์และความเครียด พบว่า หลังจากเข้าร่วมโครงการแล้ว นักเรียนมีทักษะชีวิตด้านการจัดการกับอารมณ์และความเครียดเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ในระดับมากที่สุด โดยนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 - 6 มีทักษะชีวิตด้านการจัดการกับอารมณ์และความเครียดเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ในระดับมากที่สุด และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1- 3 มีทักษะชีวิตด้านการจัดการกับอารมณ์และความเครียดเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับที่ระดับ 0.001 ในระดับมากที่สุด
4.5นักเรียนที่มีทักษะชีวิตด้านการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่น พบว่า หลังจากเข้าร่วมโครงการแล้ว นักเรียนมีทักษะชีวิตด้านการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่นเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ในระดับมากที่สุด โดยนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 - 6 มีทักษะชีวิตด้านการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่นเพิ่มขึ้น อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ในระดับมากที่สุด และชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1- 3 มีทักษะชีวิตด้านการสร้างสัมพันธภาพที่ดีกับผู้อื่นเพิ่มขึ้นอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.001 ในระดับมากที่สุด
4.6ความพึงพอใจของนักเรียน พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
4.7ความพึงพอใจของผู้ปกครอง พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ในระดับมาก
4.8ความพึงพอใจของครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า ผ่านเกณฑ์
การประเมิน ในระดับมาก