วิทยากร
นายบุญตา ใฮงาม
โรงเรียนบ้านเทพประทับ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาหนองคาย เขต ๑
สำนักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน
๑. ความสำคัญของผลงานที่นำเสนอ
การลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ เป็นกรอบวิสัยทัศน์ ด้านการศึกษา เพื่อเตรียมนักเรียนให้พร้อม เข้าสู่การเรียนรู้ ในศตวรรษที่ ๒๑ ของไทยนั้นสอดคล้องกับของหลายประเทศที่เป็นผู้นำด้านการศึกษา ของโลกที่เห็นพ้องกัน กับแนวคิดสำคัญในศตวรรษที่ ๒๑ เรื่องของจิตสำนึกต่อโลก ความรู้พื้นฐาน การประกอบสัมมาอาชีพ ความรู้พื้นฐานด้านพลเมือง สุขภาพ และสิ่งแวดล้อม และทักษะที่จำเป็น ในศตวรรษที่ ๒๑ อันได้แก่ ทักษะการเรียนรู้และนวัตกรรม ทักษะด้านสารสนเทศ สื่อและเทคโนโลยี ทักษะการทำงาน ทักษะชีวิต ที่ใช้ได้จริง (กับครอบครัว โรงเรียน ชุมชน รัฐ และประเทศชาติ) โลกกำลังเปลี่ยนแปลง คนที่มีความรู้และทักษะในการรับมือกับความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง และสามารถปรับตัวเองให้เข้ากับ สถานการณ์ใหม่ๆ ได้เท่านั้นที่จะประสบความสำเร็จ ทักษะแห่งศตวรรษ ที่ ๒๑ จะช่วยให้นักเรียนสามารถ เรียนรู้ และปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลงได้ตลอดเวลา
นอกจากนี้หลักการเรียนรู้ตามทฤษฎีของไทเลอร์ (Tylor) กล่าวว่า ความต่อเนื่อง (continuity) หมายถึง ในวิชาทักษะต้องเปิดโอกาสให้มีการฝึกทักษะในกิจกรรมและประสบการณ์บ่อยๆ และต่อเนื่องกัน การจัดช่วงลำดับ (sequence) หมายถึง การจัดสิ่งที่มีความง่าย ไปสู่สิ่งที่มีความยาก ดังนั้น การจัดกิจกรรมและประสบการณ์ ให้มีการเรียงลำดับก่อนหลัง เพื่อให้ได้เรียนเนื้อหาที่ลึกซึ่งยิ่งขึ้น บูรณาการ (integration) หมายถึง การจัดประสบการณ์จึงควรเป็นในลักษณะที่ช่วยให้ผู้เรียนได้เพิ่มพูนความคิดเห็นและได้แสดงพฤติกรรมที่สอดคล้องกัน เนื้อหาที่เรียนเป็นการเพิ่มความสามารถทั้งหมดของผู้เรียนที่จะได้ใช้ประสบการณ์ได้ในสถานการณ์ต่างๆ กัน ประสบการณ์เรียนรู้จึงเป็นแบบแผนของปฏิสัมพันธ์ (interaction) ระหว่างผู้เรียนกับสถานการณ์แวดล้อม รูปแบบการเรียนการสอนทักษะปฏิบัติของเดวิส์ (Davies Instrutional Model for Psychomotor Domain) (ทิศนา แขมณี. 2545 : 244-245; อ้างอิงจาก เดวีส์, 1971 : 50-56) ได้นำเสนอแนวคิดเกี่ยวกับการพัฒนาทักษะปฏิบัติไว้ว่า ทักษะส่วนใหญ่จะประกอบไปด้วยทักษะย่อยๆ จำนวนมาก การฝึกให้ผู้เรียนสามารถทำทักษะย่อยๆ เหล่านั้นได้ก่อนแล้วค่อยเชื่อมโยงต่อกันไปเป็นทักษะใหญ่ จะช่วยให้ผู้เรียนประสบผลสำเร็จได้ดีและรวดเร็วขึ้น
จากเหตุผลข้างต้น ข้าพเจ้าจึงได้พัฒนากระบวนการจัดกิจกรรม ลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ โดยใช้กระบวนการ PDCA เพื่อพัฒนานักเรียนด้านทักษะการทำงานผ่านกิจกรรมไม้กวาดตาด จนเกิดเป็นทักษะ ที่ถาวรของนักเรียน
๒. จุดประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน
๒.๑ เพื่อให้นักเรียนปฏิบัติกิจกรรมการทำไม้กวาดตาดด้วยตนเอง
๒.๒ เพื่อให้นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจถึงหลักการทำไม้กวาดตาด
๒.๓ เพื่อให้นักเรียนรู้และตระหนักถึงการนำสิ่งของที่มีในชุมชนมาใช้ให้เกิดประโยชน์
๒.๔ เพื่อให้นักเรียนเชื่อมโยงองค์ความรู้ในการทำกิจกรรมเข้ากับหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง
๓. วิธีการดำเนินงาน
ชั่วโมงที่ ๑
๑. ครูและนักเรียนสนทนาเกี่ยวกับภูมิปัญญาท้องถิ่นในบ้านเทพประทับมีอะไรบ้าง
๒. ครูและนักเรียนช่วยกันเสนอกิจกรรมทีมีในท้องถิ่นของตนเอง เพื่อจะศึกษาและลงมือปฏิบัติ
๓. นักเรียนเสนอแนะให้จัดกิจกรรมการทำไม้กวาดตาด ครูให้นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ ๓ คน
แล้วให้ผู้เรียนเตรียมอุปกรณ์ที่จะทำไม้กวาดตาดในชั่วโมงต่อไป
๓.๑ ทางมะพร้าวซึ่งเหลาแล้ว
๓.๒ ไม้ไผ่ สำหรับทำด้ามไม้กวาดชนิดด้ามยาว
๓.๓ ขวดน้ำอัดลมขวดเล็ก
๓.๔ ตะปู ๑ นิ้ว
๓.๕ ค้อนตีตะปู
๓.๖ เหล็กเจาะรู
ชั่วโมงที่ ๒ - ๔
๔. ให้นักเรียนเตรียมอุปกรณ์ ตามกลุ่ม แล้วครูสาธิตการทำไม้กวาดตาดแล้วให้นักเรียนฝึกปฏิบัติตาม ดังนี้
อุปกรณ์
๔.๑ ทางมะพร้าวซึ่งเหลาแล้ว จำนวน ๑๒๐ - ๒๐๐ เส้น
๔.๒ ไม้ไผ่สำหรับทำด้ามไม้กวาดชนิดด้ามยาว
๔.๓ ขวดน้ำอัดลมขวดเล็ก
๔.๔ ตะปู ๑ นิ้ว
๔.๕ ค้อนตีตะปู
๔.๖ เหล็กเจาะรู
ขั้นตอนในการทำไม้กวาดตาด
๑. เตรียมอุปกรณ์ทำไม้กวาดดังนี้
๑.๑ ทางมะพร้าวซึ่งเหลาเรียบร้อยแล้ว จำนวน ๑๒๐ ๒๐๐ เส้น
๑.๒ ไม้ไผ่ สำหรับทำด้ามไม้กวาดชนิดด้ามยาว ความยาวตามความต้องการ
๑.๓ ขวดน้ำอัดลม (ขนาดเล็ก) เจาะรูรอบขวด เป็นแถวสลับฟันปลา จำนวนรูตาม
ความต้องการ
๑.๔ ตะปู ๑ นิ้ว
๑.๕ ค้อนตีตะปู
๒. เมื่อเตรียมอุปกรณ์ครบแล้ว การขึ้นรูปจะต้องใช้ขวดน้ำอัดลมเจาะรูด้วยเหล็กเจาะรูแล้ว นำด้ามไม้ไผ่มาเสียบเข้ากับขวดน้ำอัดลม มาประสานให้เป็นด้ามไม้กวาด
๓. ใช้ค้อนตีตะปูประสานขวดน้ำอัดลมกับไม้ให้แน่น
๔. ได้ด้ามไม้กวาดเรียบร้อยแล้ว นำทางมะพร้าวที่เตรียมไว้มาเสียบที่ขวดน้ำอัดลม โดยเริ่ม
จากก้นขวดจนถึงปากขวด เพื่อจะได้เสียบทางมะพร้าวได้ง่าย และทำให้ทางมะพร้าวทับกันจนแน่นไปเรื่อยๆ
๕. เมื่อเสียบทางมะพร้าวเสร็จเรียบร้อยแล้วตกแต่งให้สวยงาม เราก็จะได้ไม้กวาดตาดเอาไว้
ใช้งานต่อไป
๖. ให้นักเรียนทำใบงาน โดยให้บอกประโยชน์ของการทำไม้กวาดตาดมีอะไร
๗. สรุปการเรียนการสอนโดยครูเปิดโอกาสให้นักเรียนได้ซักถามทุกเรื่องที่นักเรียนมีปัญหาให้
คำเสนอแนะเมื่อนักเรียนสงสัย
๘. ประเมินความคิดเห็น และสอบถามความพึงพอใจ ในการเข้าร่วมกิจกรรม
๔. ผลการดำเนินงาน
๔.๑ ผลสัมฤทธิ์ที่เกิดกับผู้เรียน
๑. นักเรียนได้เรียนรู้การวางแผนในการจัดกิจกรรมการทำไม้กวาดตาด ลำดับขั้นตอนเน้นกระบวนการคิด (Head)
๒. นักเรียนได้ลงมือปฏิบัติงานจริงในการทำไม้กวาดตาด (Hand)
๓. นักเรียนมีความเอาใจใสในการทำงาน และมีความรักความสามัคคีในหมู่คณะ (Heart)
๔. นักเรียนได้รับความรู้นำไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้ เช่น การน าความรู้ที่ได้เรียนเรื่องการทำไม้กวาดตาดใช้เองที่บ้าน ใช้ทำความสะอาดบ้านให้น่าอยู่ จะทำให้มีสุขภาพจิตที่ดี และยังส่งเสริมด้านสุขภาพร่างกายให้แข็งแรงด้วย (Health)
ความรู้ที่นักเรียนได้จากการทำกิจกรรมเพิ่มเวลารู้ ๔ H ในเรื่องการทำไม้กวาดตาด จะโดนเด่นใน
ด้าน (Heart) นักเรียนมีความเอาใจใสในการทำงาน และมีความรักความสามัคคีในหมู่คณะ ช่วยเหลือซึ่งกันและกันในขณะปฏิบัติงานในกลุ่ม
๔.๒ ประโยชน์ที่ได้รับจากผลงาน
นักเรียนมีความรู้ ทักษะ และกระบวนการคิดที่เหมาะสมในเรื่องการทำไม้กวาดตาด เช่น การวางแผนขั้นตอนในการทำกิจกรรม มีทักษะการทำงาน และการอยู่ร่วมกันกับผู้อื่นได้เป็นอย่างดี และสามารถนำความรู้ที่ได้ไปประยุกต์ใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้อง
๕. ปัจจัยความสำเร็จ
๕.๑ โรงเรียน ให้การสนุบสนุนในการจัดกิจกรรมลดเวลาเรียน เพิ่มเวลารู้ ด้านงบประมานในการซื้อเครื่องมือในการมำงาน
๕.๒ ครู ทำหน้าที่เป็นผู้แนะนำ สนับสนุนส่งเสริมให้ผู้เรียนเกิดกระบวนการเรียนรู้จากการปฏิบัติจริง
๕.๓ นักเรียน ให้ความร่วมมือในการทำกิจกรรม มีความตั้งใจรับผิดชอบในการทำงานที่ได้รับมอบหมาย
๕.๔ การจัดกระบวนการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบ PDCA โดย
P (Plan) คือ การวางแผน โดยให้นักเรียนวางแผนการทำงานด้วยตนเองในรูปแบบของทีม โดยมีครูเป็นผู้แนะนำ
D (Do) คือ การลงมือปฏิบัติ หลังจากที่นักเรียนได้วางแผนการทำงานแล้ว จากนั้นลงมือปฏิบัติตามแผนที่วางไว้
C (Check) คือ การตรวจสอบ นักเรียนตรวจสอบชิ้นงานของตนเองว่ามีความสวยงาม แข็งแรง ทนทาน โดยการนำไปทดสอบใช้กวาดในสถานที่จริง
A (Action) คือ การปรับปรุงแก้ไขชิ้นงานส่วนที่ปัญหาให้สมบูรณ์ยิ่งขึ้น
๖. บทเรียนที่ได้รับ (Lesson Learned)
นักเรียนสามารถนำความรู้ขั้นตอนการทำไม้กวาดไปประยุกต์ใช้ได้จริง ทำไม้กวาดตาดใช้เอง ที่บ้าน และสร้างความตระหนักให้ผู้เรียนเห็นความสำคัญของวัสดุที่มีในท้องถิ่นและภูมิปัญญาท้องถิ่น ของตนเองมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด
๗. การเผยแพร่/การได้รับการยอมรับ/รางวัลที่ได้รับ
ภาพที่ ๑ การเผยแพร่กิจกรรมลดเวลาเรียนเพิ่มเวลารู้ ผ่าน Facebook ของโรงเรียน
๘. การนำเสนอผลงานต่อคณะกรรมการ
.....................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................................