ชื่อเรื่อง : รายงานการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านควน
โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิป (CIPP Model) อำเภอเหนือคลอง
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่
ผู้ประเมิน : นายอภิชาติ สัญจร ผู้อำนวยการชำนาญการ
โรงเรียนบ้านควน
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่
ปีที่ดำเนินงาน : 2561
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
รายงานการประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านควน โดยใช้รูปแบบ
การประเมินแบบซิป (CIPP Model) อำเภอเหนือคลอง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่ มีความมุ่งหมายของการรายงานโครงการเพื่อ 1) ประเมินโครงการการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนในโรงเรียนบ้านควน โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิป (CIPP Model) ในด้านต่าง ๆ ดังนี้ 1) ประเมินด้านสภาวะแวดล้อม (Context) 2) ประเมินปัจจัยนำเข้า (Input) 3) ประเมินด้านกระบวนการ (Process) และ 4) ประเมินด้านผลผลิต (Product) และ 2) ประเมินความพึงพอใจของนักเรียนและผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านควน โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิป (CIPP Model) กลุ่มเป้าหมายในการศึกษาครั้งนี้ เป็นผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับโครงการการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียน จำแนกเป็น ผู้บริหาร ครู และคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวนรวม 19 คน นักเรียน ได้แก่ นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 6 จำนวน 92 คน และผู้ปกครองนักเรียน ได้แก่ ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 92 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลมี 2 ฉบับ ประกอบด้วย แบบสัมภาษณ์ และแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์และนำเสนอข้อมูล ประกอบด้วย ค่าเฉลี่ย (x̄) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการประเมินโครงการพบว่า
1. ปัจจัยพื้นฐานด้านสภาวะแวดล้อมของโครงการ
ผลการวิเคราะห์ตามความคิดเห็นของผู้รับผิดชอบโครงการประกอบด้วย ผู้บริหาร ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยภาพรวมมีระดับความคิดเห็นมาก (x̄= 4.31)
2. การวิเคราะห์ด้านปัจจัยนำเข้า
ผลการวิเคราะห์ด้านปัจจัยนำเข้า ตามความคิดเห็นของผู้รับผิดชอบโครงการ ประกอบด้วย ผู้บริหาร ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยภาพรวมมีระดับความคิดเห็นมาก (x̄= 4.28)
3. กระบวนการดำเนินโครงการ
ผลการวิเคราะห์ด้านกระบวนการดำเนินโครงการ ตามความคิดเห็นของผู้รับผิดชอบ
โครงการ ประกอบด้วย ผู้บริหาร ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยภาพรวมมีระดับความคิดเห็นมาก (x̄= 4.34)
4. ผลผลิตของโครงการ
ผลการวิเคราะห์ด้านผลผลิตตามความคิดเห็นของผู้รับผิดชอบโครงการ ประกอบด้วย ผู้บริหาร ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน พบว่า โดยภาพรวมมีระดับความคิดเห็นมาก (x̄= 4.38)
5. ผลการประเมินความพึงพอใจ
ผลการสอบถามเพื่อประเมินความพึงพอใจของนักเรียนและผู้ปกครองนักเรียนที่มีต่อโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านควน โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิป (CIPP Model) สรุปโดยภาพรวมมีระดับความคิดเห็นอยู่ในระดับมาก (x̄= 4.23)
ข้อเสนอแนะ
1. ข้อเสนอแนะสำหรับการนำผลการประเมินไปใช้
การประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนบ้านควน โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบซิป (CIPP Model) อำเภอเหนือคลอง สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษากระบี่
1.1 จากผลการประเมินปัจจัยด้านสภาวะแวดล้อมของโครงการในภาพรวมจะมีผลอยู่ใน
ระดับมาก เมื่อวิเคราะห์ระดับความต้องการจำเป็นของโครงการ พบว่า นักเรียนไม่สนใจการเรียน มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนต่ำ มีการเลียนแบบพฤติกรรมที่ไม่ดี คบเพื่อนที่มีพฤติกรรมที่ไม่ดี มีความเสี่ยงเกี่ยวกับด้านยาเสพติด นักเรียนมีปัญหาครอบครัว ขาดการอบรมเลี้ยงดู และปัญหาด้านรายได้ของครอบครัวไม่เพียงพอ สรุปโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก จึงมีความจำเป็นอย่างยิ่งที่โรงเรียนจะต้องรีบดำเนินการดูแลอย่างเร่งด่วน เพื่อปรับเปลี่ยนพฤติกรรมที่เกิดขึ้นกับนักเรียน โดยการจัดกิจกรรมเพื่อส่งเสริมพัฒนาและแก้ไขปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับนักเรียนให้ตรงกับสภาพปัญหาที่เกิดขึ้น เช่น จัดโครงการส่งเสริมคุณธรรม จริยธรรม โครงการจิตอาสา เป็นต้น
1.2 ผลการประเมินข้อครอบครัวไม่มีเวลาในการอบรมดูแลอย่างใกล้ชิด อยู่ในระดับมาก
ดังนั้น โรงเรียนควรประสานความร่วมมือกับผู้ปกครองนักเรียน ชุมชน ในการดูแลนักเรียนมากยิ่งขึ้น เพื่อแก้ปัญหาที่จะเกิดขึ้นกับนักเรียนในภายหน้าต่อไป
1.3 ครูและบุคลากรภายในสถานศึกษาต้องตระหนักถึงความสำคัญและมีความรู้ ความเข้าใจเกี่ยวกับการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างถูกต้อง เพื่อที่จะส่งเสริมพัฒนาหรือแก้ปัญหานักเรียนได้ตรงกับสภาพที่แท้จริง
1.4 ผู้บริหาร ครู บุคลากร และผู้ปกครองทุกคนต้องร่วมมือกัน มีความมุ่งมั่นที่จะพัฒนาสร้างความเข้มแข็ง เพื่อช่วยกันผลักดันส่งเสริมการดำเนินงานระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนของโรงเรียนเป็นไปอย่างต่อเนื่องตั้งแต่การวางแผน การปฏิบัติตามแผน การกำกับติดตามและการวัดผล ประเมินผล โดยมีจุดมุ่งหมายเดียวกันเพื่อพัฒนานักเรียนเต็มตามศักยภาพ
2. ข้อเสนอแนะสำหรับการศึกษาครั้งต่อไป
2.1 ควรมีการศึกษาปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างดำเนินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนอย่างละเอียดในแต่ละกิจกรรม เพื่อให้ได้ข้อมูลที่ส่งผลต่อผลสัมฤทธิ์ของโครงการ
2.2 ควรประเมินผลผลิตของโครงการในมิติเชิงปริมาณและคุณภาพเพื่อให้ได้ข้อมูลที่แสดงถึง ผลสำเร็จของโครงการ
2.3 ควรประเมินโครงการระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโดยใช้รูปแบบการประเมินแบบอื่นๆ เช่น ใช้แบบการประเมินของแอลคิน (Alkin) รูปแบบการประเมินของโฟรวัส (Malcomlm M.Provus) หรือรูปแบบของแบบจำลองการประเมินของสเตก (Stake) เป็นต้น