บทสรุปของผู้บริหาร
การประเมินโครงการพัฒนาอาคารสถานที่ และสภาพแวดล้อมที่เอื้อต่อการเรียนรู้ของนักเรียนโรงเรียนบ้านกกเชียงoมีความมุ่งหมายของการประเมิน เพื่อ1) การประเมินสภาวะแวดล้อม (Context Evaluation) 2) การประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) 3) การประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) และ 4) การประเมินผลผลิต (Product Evaluation) ประชากรจำนวนทั้งสิ้น 118 คน ประกอบด้วย ครูผู้สอน จำนวน 5 คนคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 9 คน ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 52 คน และ นักเรียน จำนวน 52 คน กลุ่มตัวอย่างจำนวนทั้งสิ้น 58 คน ประกอบด้วย ครูผู้สอน จำนวน 5 คนoคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 7 คน ยกเว้นกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่เป็นผู้แทนครูและผู้แทนผู้บริหารได้อยู่ในส่วนที่เป็นครูผู้สอนแล้วผู้ปกครองนักเรียนโดยใช้การเลือกแบบเจาะจง (purposive sampling) เป็นผู้ปกครองนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3-6 จำนวน 23 คน นักเรียน โดยใช้การเลือกกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (purposiveosampling)oเป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ 3-6 จำนวน 23oคน ซึ่งนักเรียนมีศักยภาพในการตอบแบบสอบถาม สามารถอ่านแบบสอบถามได้คล่องทุกคน เครื่องมือที่ ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลมี 3 ฉบับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ค่าร้อยละo(Percentage) ค่าความถี่ ค่าเฉลี่ย (Mean ) และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
สรุปผลการประเมิน
ความคิดเห็นต่อการดำเนินโครงการ ในด้านสภาวะแวดล้อมo(ContextoEvaluation)oด้านปัจจัยนำเข้าo(Inputs Evaluation) ด้านกระบวนการ (Process Evaluation) และด้านผลผลิต (Products Evaluation) ดังรายละเอียดต่อไปนี้
ความคิดเห็นต่อการดำเนินโครงการในด้านสภาวะแวดล้อม (ContextoEvaluation) ของครูผู้สอน ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อลำดับสูงสุด ได้แก่ โครงการสอดคล้องกับนโยบายของโรงเรียนและหน่วยงานต้นสังกัด อยู่ในระดับมากที่สุด
ความคิดเห็นต่อการดำเนินโครงการในด้านปัจจัยนำเข้า (Inputs Evaluation) ของครูผู้สอน ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อลำดับสูงสุด ได้แก่ มีจำนวนบุคลากรดำเนินกิจกรรมโครงการอย่างเพียงพอ อุปกรณ์ เครื่องมือในการดำเนินโครงการอย่างเพียงพอ และอาคารสถานที่เหมาะสมและเพียงพอ อยู่ในระดับมากที่สุด
ความคิดเห็นต่อการดำเนินโครงการในด้านกระบวนการo(ProcessoEvaluation) ของครูผู้สอนภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อลำดับสูงสุด ได้แก่ มีการ วางแผนการทำงานอย่างเป็นระบบoมีการแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินโครงการoมีการนิเทศoติดตาม กำกับoการดำเนินโครงการตามขั้นตอน และผู้บริหารโรงเรียนให้ความสำคัญต่อการส่งเสริมสนับสนุนโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด
ความคิดเห็นต่อการดำเนินโครงการในด้านผลผลิต (Products Evaluation)oของครูผู้สอน ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อลำดับสูงสุด ได้แก่ ครูปฏิบัติภารหลักในการพัฒนาผู้เรียนoและครูจัดกิจกรรมการเรียนรู้และพัฒนาผู้เรียนอย่างมีประสิทธิผล อยู่ในระดับมากที่สุด
ความคิดเห็นต่อการดำเนินโครงการในด้านสภาวะแวดล้อมo(ContextoEvaluation)oของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อลำดับสูงสุด ได้แก่ วัตถุประสงค์ตรงตามเป้าหมายของโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด
ความคิดเห็นต่อการดำเนินโครงการในด้านปัจจัยนำเข้าo(InputsoEvaluation)oของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อลำดับสูงสุดoได้แก่oอุปกรณ์oเครื่องมือในการดำเนินโครงการอย่างเพียงพอoอยู่ในระดับมากที่สุด ความคิดเห็นต่อการดำเนินโครงการในด้านกระบวนการo(ProcessoEvaluation)oของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อลำดับสูงสุด มีการประเมินผลการดำเนินโครงการอย่างเป็นระบบ อยู่ในระดับมากที่สุด
ความคิดเห็นต่อการดำเนินโครงการในด้านผลผลิตo(ProductsoEvaluation)oของคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายข้อลำดับสูงสุด ได้แก่ ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนดีขึ้น อยู่ในระดับมากที่สุด
ความคิดเห็นของผู้ปกครองนักเรียนต่อการดำเนินโครงการในด้านผลผลิตo(Products Evaluation)นภาพรวมอยู่ในระดับมากoเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อลำดับสูงสุดoได้แก่oครูผู้สอนมีขวัญกำลังใจในการทำงาน และ สถานศึกษามีการดำเนินงานได้อย่างเป็นระบบoอยู่ในระดับมากที่สุด
ความคิดเห็นของนักเรียนต่อการดำเนินโครงการในด้านผลผลิตo(ProductsoEvaluation) ของผู้ปกครองนักเรียนoภาพรวมอยู่ในระดับมากoเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อลำดับสูงสุดoได้แก่นักเรียนพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมของโครงการoอยู่ในระดับมากที่สุด