ชื่อเรื่อง การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนบ้านบ่อ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3
ผู้วิจัย นายวรรณนุพล จันทะสนธ์
โรงเรียน โรงเรียนบ้านบ่อ อำเภอปรางค์กู่ จังหวัดศรีสะเกษ
สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3
ปีการศึกษา ภาคเรียนที่ 1 และภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนบ้านบ่อ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 ครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อสร้างระบบการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนบ้านบ่อ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 ตามกระบวน การพัฒนาระบบ (The System Development Life Cycle : SDLC) ให้มีคุณภาพ 2) เพื่อประเมินตนเอง และรายงานการประเมินตนเอง (Self-Assessment Report: SAR) ตามระบบการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนบ้านบ่อ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3
3) เพื่อประเมินโครงการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนบ้านบ่อ สำนักงานเขต
พื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPP Model ในด้านสภาวะแวดล้อม (Context) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) ด้านผลผลิต (Product) ทั้งนี้การพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนบ้านบ่อ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 ผู้วิจัยได้พัฒนาระบบประกันคุณภาพภายใน โดยใช้กลยุทธ์ในการพัฒนา คือ การประชุมแบบมีส่วนร่วม และการนิเทศภายใน ตามกระบวนการพัฒนาระบบ (The System Development Life Cycle : SDLC) คือ การค้นหาระบบ (Systems Investigation) การวิเคราะห์ระบบ (Systems Analysis) การออกแบบระบบ (Systems Design) การนำระบบไปใช้ (Systems Implementation) การบำรุงดูแลรักษาและทบทวนระบบ (Systems Maintenance and Review) โดยใช้กระบวนการวิจัยปฏิบัติการ (Action Research) ซึ่งประกอบด้วย 4 ขั้นตอน คือ การวางแผน (Planning) การปฏิบัติตามแผน (Action) การสังเกต (Observation) และการสะท้อนผล (Reflection) กลุ่มผู้ร่วมวิจัยและผู้ให้ข้อมูล จำนวน 11 คน ประกอบด้วย ผู้วิจัย ครูผู้รับผิดชอบงานประกันคุณภาพการศึกษา จำนวน 2 คน และครูผู้และบุคลากรทางการศึกษาในโรงเรียน จำนวน 8 คน กลุ่มผู้ให้ข้อมูลเพิ่มเติม จำนวน 143 คน ประกอบด้วย ผู้บริหาร ครู บุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 20 คน นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 1-2 จำนวน 37 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 84 คน และวิทยากรผู้มีประสบการณ์ด้านการประกันคุณภาพการศึกษา จำนวน 2 คน ส่วนประเมินโครงการการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในโรงเรียนบ้านบ่อ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการวิจัยเชิงประเมินครั้งนี้ ได้แก่ ผู้บริหาร ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 19 คน และนักเรียนชั้นอนุบาล และประถมศึกษาปีที่ 1-6 จำนวน 93 คน ได้มาโดยใช้วิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้นภูมิ (Stratified random sampling) คำนวณขนาดกลุ่มตัวอย่างจากสูตร ของทาโร ยามาเน ระยะเวลาที่ใช้ในการวิจัยคือ ภาคเรียนที่ 1 และภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล ประกอบด้วย เครื่องมือที่ใช้ในการปฏิบัติการ ได้แก่ 1) แบบวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรค (SWOT Analysis) 2) แบบบันทึกการประชุมแบบมีส่วนร่วม เครื่องมือที่ใช้ในการสะท้อนผลการปฏิบัติ ได้แก่ 1) แบบสอบถามผลการปฏิบัติงาน 2) แบบบันทึกการนิเทศผลการดำเนินงาน เครื่องมือประเมินโครงการ เป็นแบบสอบถามการประเมินโครงการการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนบ้านบ่อ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 เป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า (Rating Scale) จำนวน 2 ฉบับ ได้แก่ 1) แบบสอบถามการประเมินโครงการสำหรับผู้บริหาร ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ตามรูปแบบการประเมินแบบ CIPP Model ในด้านสภาวะแวดล้อม (Context) ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ด้านกระบวนการ (Process) ด้านผลผลิต (Product) จำนวน 30 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.28 0.83 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.94 2) แบบสอบถามการประเมินโครงการสำหรับนักเรียน ในด้านผลผลิต (Product) จำนวน 10 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกอยู่ระหว่าง 0.23 0.85 และมีค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.84 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)
ผลการวิจัยพบว่า
1. โรงเรียนบ้านบ่อมีปัจจัยที่เป็นโอกาสมากกว่าปัจจัยที่เป็นอุปสรรคและอยู่ในลักษณะ
เอื้อและแข็ง ระบบการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนบ้านบ่อ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 โดยใช้การพัฒนาระบบ (The System Development Life Cycle : SDLC) ตามแนวทางการดำเนินงานของสถานศึกษาตามระบบการประกันคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา ประกอบด้วย 1) กำหนดมาตรฐานการศึกษาของสถานศึกษา 2) จัดทำแผนพัฒนา
การจัดการศึกษาของสถานศึกษา 3) ดำเนินการตามแผนพัฒนาการจัดการศึกษาของสถานศึกษา
4) ประเมินผลและตรวจสอบคุณภาพการศึกษาภายในสถานศึกษา 5) ติดตามผลการดำเนินการเพื่อพัฒนาสถานศึกษา 6) จัดทำรายงานผลการประเมินตนเอง (Self- Assessment Report: SAR) 7) พัฒนาสถานศึกษาให้มีคุณภาพ มีผลการประเมินความเหมาะสมโดยรวมอยู่ในระดับ มากที่สุด
( = 4.68, S.D. = 0.50)
2. ผลการประเมินตนเอง และรายงานการประเมินตนเอง (Self-Assessment Report: SAR) ตามระบบการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนบ้านบ่อ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 มีผลการประเมินอยู่ในระดับ ดี เลิศ ทุกมาตรฐาน
3. ผลการประเมินโครงการการพัฒนาระบบการประกันคุณภาพภายในของโรงเรียนบ้านบ่อ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาศรีสะเกษ เขต 3 ในภาพรวมทั้ง 4 ด้าน อยู่ในระดับ มากที่สุด ( = 4.55, S.D. = 0.53) เมื่อพิจารณาโดยเรียงจากค่าเฉลี่ยระดับความเหมาะสมสูงสุด 3 อันดับ พบว่า อันดับแรก คือ ด้านกระบวนการ (Process) อยู่ในระดับ มากที่สุด ( = 4.60, S.D. = 0.52) รองลงมาคือ ด้านผลผลิต (Product) อยู่ในระดับ มากที่สุด ( = 4.59, S.D. = 0.56) และด้านสภาวะแวดล้อม (Context) อยู่ในระดับ มากที่สุด ( = 4.54, S.D. = 0.57) ตามลำดับ ส่วนรายข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ด้านปัจจัยนำเข้า อยู่ในระดับ มาก (Input) ( = 4.46, S.D. = 0.48)