ชื่อผลงาน : รายงานการประเมินโครงการเกษตรพอเพียงสัมมาชีพตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจ
พอเพียงของโรงเรียนบ้านห้วยสะแพด
ชื่อผู้ศึกษา : ว่าที่ร้อยตรีสายัณห์ อุ่นเรือน
สายงาน : การบริหารสถานศึกษา
ปีการศึกษา : 2560
บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
รายงานการประเมินโครงการครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ของการประเมินโครงการเกษตรพอเพียงสัมมาชีพ ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนบ้านห้วยสะแพด โดยใช้รูปแบบซิปป์ ( CIPP Model ) ในด้าน ดังนี้การประเมินสภาพแวดล้อมบริบท ( Context ) เป็นการให้ได้ข้อมูลสำคัญ เพื่อช่วยในการกำหนดรูปแบบของโครงการ การประเมินปัจจัยนำเข้า ( Input ) เป็นการตัดสินใจเกี่ยวกับโครงสร้างเพื่อการกำหนดรูปแบบของโครงการ การประเมินกระบวนการ ( Process ) เป็นการตัดสินใจในด้านการประยุกต์ใช้เพื่อควบคุมการดำเนินการของโครงการ การประเมินผลผลิต
( Product ) จะช่วยในการตัดสินใจเพื่อตัดสินและดูผลสำเร็จของโครงการ ประชากรที่ใช้ในการประเมินในครั้งนี้ได้แก่ ครูผู้สอน บุคคลภายนอกที่สนับสนุนโครงการ กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 115 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นแบบสอบถาม นำข้อมูลที่รวบรวมได้มาตรวจสอบความสมบูรณ์ของข้อมูล จัดหมวดหมู่ และวิเคราะห์
ในการประเมินผล เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือแบบสอบถามที่ผ่านการพิจารณาจากผู้เชี่ยวชาญ การหาค่าดัชนีความสอดคล้องตั้งแต่ 0.50 ขึ้นไป จากนั้นนำเครื่องมือมาปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติมข้อที่บกพร่องตามที่ผู้เชี่ยวชาญเสนอแนะ เมื่อปรับปรุงแก้ไขแล้วนำไปทดลองใช้กับกลุ่มตัวอย่างนอกเหนือจากประชากรที่กำหนดไว้ แล้วนำข้อมูลมาหาค่าความเที่ยง จากนั้นนำแบบสอบถามดังกล่าวไปเก็บข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างและนำข้อมูลที่ได้มารวบรวม ตรวจสอบความสมบูรณ์ วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป เพื่อการวิจัยทางสังคมศาสตร์โดยใช้ค่าสถิติ ร้อยละและค่าเฉลี่ย รายงานประเมินโครงการครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อประเมินโครงการในด้านบริบท ด้านปัจจัยนำเข้า ด้านกระบวนการและด้านผลผลิตของโครงการเกษตรพอเพียงสัมมาชีพ ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนบ้านห้วยสะแพด 2) เพื่อประเมินโครงการในด้านคุณลักษณะอันพึงประสงค์ตามแนวทางปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 3)เพื่อประเมินความพึงพอใจที่มีต่อการดำเนินโครงการเกษตรพอเพียงสัมมาชีพ ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงของโรงเรียนบ้านห้วยสะแพด ของครูผู้สอน บุคคลผู้สนับสนุนโครงการ กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน จากกลุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง (Purposive Sampling) โดยมีเครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่แบบสอบถาม จำนวน 2 ชุด อันประกอบด้วย แบบสอบถามชุดที่ 1 การประเมินโครงการเกษตรพอเพียงสัมมาชีพ ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนบ้านห้วยสะแพด โดยบุคคลภายนอก ครู และคณะกรรมการสถานศึกษาขึ้นพื้นฐาน และแบบสอบถามชุดที่ 2 การประเมินโครงการเกษตรพอเพียงสัมมาชีพ ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนบ้านห้วยสะแพด โดยนักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน มีลักษณะเป็นข้อคำถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า ( Rating Scale ) 5 ระดับ มีความเกี่ยวเนื่องกับด้านย่อยบริบท ด้านย่อยปัจจัยนำเข้า ด้านย่อยกระบวนการและด้านย่อยผลผลิต ที่สอดคล้องกับโครงการเกษตรพอเพียงสัมมาชีพ ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียนบ้านห้วยสะแพด อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ซึ่งใช้สอบถามครูผู้สอน บุคคลภายนอกที่สนับสนุนโครงการ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน สถิติที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ( Mean ) ค่าร้อยละ (Percentage)และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation)นำผลการวิเคราะห์ข้อมูลมาประเมินผล
ผลการประเมินโครงการสรุปได้ดังนี้
ผลการประเมินโครงการตามรูปแบบ CIPP ของStufflebeam ในภาพรวมทั้งสี่ด้านคือด้านย่อยบริบท ด้านย่อยปัจจัยนำเข้า ด้านย่อยกระบวนการและด้านย่อยผลผลิต ตามความคิดเห็นของ คณะครู บุคคลภายนอกที่สนับสนุนโครงการ คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน ของโรงเรียนบ้านห้วยสะแพด โดยภาพรวมมีความคิดเห็นอยู่ในระดับมากที่สุด แสดงว่าผ่านเกณฑ์การประเมิน
1. ด้านบริบท (Context) หรือสภาพแวดล้อมตามความคิดเห็นของคณะครู บุคคลภายนอก
นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมมีผลการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมากที่สุด โดยผู้ตอบแบบสอบถามเห็นว่าโครงการนี้เป็นประโยชน์ต่อนักเรียน ในสภาพสังคมปัจจุบันมีความสำคัญและมีความจำเป็นในการดำรงชีวิต โครงการมีความสอดคล้องกับความต้องการของผู้ที่เกี่ยวข้องในสถานศึกษา ตลอดจนเป้าหมายของโครงการ ก่อให้เกิดประโยชน์ต่อนักเรียนและผู้ปกครอง จึงทำให้โครงการนั้นประสบความสำเร็จ และส่งเสริมสนับสนุนให้โรงเรียนสามารถพัฒนานักเรียนให้มีความรู้ทักษะ และเจตคติที่ดีต่อการประกอบสัมมาชีพสุจริต
2. ด้านปัจจัยนำเข้า (Input) ตามความคิดเห็นของคณะครู บุคคลภายนอก นักเรียน
ผู้ปกครองนักเรียนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมมีผลการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมาก โดยผู้ตอบแบบสอบถามเห็นว่าผู้บริหารโรงเรียนกำหนดนโยบายและแนวทางการปฏิบัติในการจัดทำโครงการชัดเจน บุคลากรครูที่ปรึกษาโครงการมีความรู้ ความสามารถ ให้คำปรึกษาเกี่ยวกับอาชีพและการทำกิจกรรมกลุ่มแก่นักเรียนที่เน้นประสบการณ์ตรง จึงทำให้โครงการนั้นประสบความสำเร็จ
3. ด้านกระบวนการ (Process) ตามความคิดเห็นของคณะครู บุคคลภายนอก นักเรียน
ผู้ปกครองนักเรียนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมมีผลการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมากที่สุด โดยผู้ตอบแบบสอบถามเห็นว่า ด้านย่อยกระบวนการ และการประเมินผลที่เป็นระบบ จึงทำให้โครงการนั้นประสบความสำเร็จ
4. ด้านผลผลิต ( Product ) ของโครงการตามความคิดเห็นของคณะครู บุคคลภายนอก
นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน โดยภาพรวมมีผลการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมากที่สุด โดยผู้ตอบแบบสอบถามเห็นว่าโครงการนี้เกิดประโยชน์กับนักเรียนนักเรียน ในด้านทักษะชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ส่งเสริมให้นักเรียนมีเจตคติที่ดีต่อการประกอบสัมมาชีพที่สุดจริต มีความภาคภูมใจในตนเอง มีความรับผิดชอบ ขยัน ประหยัด ซื่อสัตย์ อดทนและ สามารถทำงานเป็นกลุ่ม คิดเป็นแก้ปัญหาเป็น นำความรู้ ทักษะจากการเรียนรู้มาปฏิบัติได้จริงทำให้โครงการนี้เกิดประโยชน์กับนักเรียนในด้านทักษะชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จึงทำให้โครงการนั้นประสบความสำเร็จ