ชื่อผู้ศึกษา นางธนชพร ตั้งธรรมกุล
การวิจัยครั้งนี้ได้ตั้งวัตถุประสงค์ของการวิจัยไว้ ดังนี้ 1.เพื่อศึกษาผลการนิเทศการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ระดับชั้นเรียน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 16 โดยการประเมินผลการนิเทศ โดยประยุกต์ใช้รูปแบบการประเมินผลการฝึกอบรมของเคิร์กแพททริค (Kirkpatric) กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ครูผู้สอนที่ปฏิบัติหน้าที่หัวหน้ากลุ่มสาระการเรียนรู้หลักคือกลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์และกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรม รวมจำนวน 60 คน นักเรียนจำนวน 357 คนในโรงเรียนที่มีครูที่ผ่านการนิเทศการวัดและประเมินผลการเรียนรู้
ผลการศึกษาพบว่า
1. ผลการประเมินปฏิกิริยา ตอบสนอง (Reaction Evaluation)
1.1 ความพึงพอใจของครูผู้สอนที่มีต่อการอบรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ระดับชั้นเรียน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด และพบว่า ด้านหลักสูตรการอบรม โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านวิทยากร โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านคู่มือพัฒนาการวัดและประเมินผลการเรียนรู้โดยภาพรวมพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านสถานที่และสื่ออุปกรณ์ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านประโยชน์ที่ได้รับจาการอบรม โดยภาพรวมพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด
1.2 ความพึงพอใจของครูผู้สอนที่มีต่อการนิเทศ เกี่ยวกับการวัดและประเมินผลการเรียนรู้
ระดับชั้นเรียนโดยภาพรวมพบว่าอยู่ในระดับมากที่สุด และพบว่าด้านปัจจัยการนิเทศ โดยภาพรวม
อยู่ในระดับมาก ด้านการดำเนินการนิเทศ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านวิธีการ เทคนิค
การนิเทศ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ด้านผลการนิเทศ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก
2. ผลการประเมินผลการเรียนรู้ (Learning Evaluation)
4. ระดับความรู้ ความเข้าใจ ของครูผู้สอนเข้ารับการอบรมตามหลักสูตรการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ระดับชั้นเรียน ก่อนการอบรมและหลังการอบรม พบว่าหลังการอบรมมีค่าเฉลี่ย ( = 24.79, S.D.=0.73) สูงกว่าก่อนการอบรม ( = 10.47, S.D.=0.96) และมีความแตกต่างอย่างมีนัยสำคัญที่ระดับ .01
3. ประเมินพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป (Behavior Evaluation)
5. ระดับปฏิบัติในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ระดับชั้นเรียน ของครูผู้สอน หลังการอบรม 3 เดือน
และหลังการอบรม 6 เดือน โดยภาพรวมหลังการอบรม 6 เดือนมีระดับการปฏิบัติการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ระดับชั้นเรียน ( = 4.49, S.D.=.47) สูงกว่าหลังการอบรม 3 เดือนและพบว่า ด้านการเตรียมความพร้อม โดยภาพรวมพบว่า หลังการอบรม 6 เดือนครูมีระดับปฎิบัติโดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ด้านการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ โดยภาพรวมพบว่า หลังอบรม 6 เดือนครูมีระดับปฏิบัติอยู่ในระดับมาก ด้านการมีส่วนร่วมโดยภาพรวมพบว่า หลังอบรม 6 เดือนครูมีระดับปฏิบัติอยู่ในระดับมาก
6. พฤติกรรมการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ระดับชั้นเรียน ของครูผู้สอน หลังการอบรม 6 เดือน ตามความ
คิดเห็นของผู้บริหารและเพื่อนครูโดยภาพรวมพบว่าอยู่ในระดับมาก
7.ระดับปฏิบัติในการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ระดับชั้นเรียน ของครูผู้สอน หลังการอบรม 6 เดือน ตามความคิดเห็นของนักเรียนโดยภาพรวมพบว่าอยู่ในระดับมาก
4. ผลการประเมินผลลัพธ์ (Results Evaluation)
8. ผลที่เกิดขึ้นจากการปฏิบัติงานของครูผู้สอนที่ส่งผลต่อนักเรียนเกี่ยวกับ การวัดและประเมินผลการเรียนรู้ระดับชั้นเรียน โดยภาพรวมพบว่าอยู่ในระดับมาก
10. ระดับความเห็นเกี่ยวกับผลที่เกิดขึ้นตามการรับรู้ของนักเรียนที่มีต่อการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ระดับชั้นเรียน ของครูผู้สอน โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก และพบว่า ด้านการจัดการกิจกรรมการเรียนรู้ที่จัดขึ้น โดยภาพรวมพบว่าอยู่ในระดับมาก ด้านการประเมินผลการเรียนรู้ที่จัดขึ้น โดยภาพรวมพบว่าอยู่ในระดับมาก