ชื่อเรื่อง: การพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องเซลล์กัลวานิก โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ รายวิชาเคมี 4 (ว33224) ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
ผู้วิจัย : นางสาวอารีรัตน์ ใจกล้า กลุ่มสาระการเรียนรู้วิทยาศาสตร์
ที่มาและความสำคัญของปัญหา
การจัดการศึกษาตามแนวพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พุทธศักราช 2542 และที่แก้ไข เพิ่มเติม
(ฉบับที่2) พ.ศ. 2545 หมวด 4 มาตรา 22ระบุว่า การจัดการศึกษาต้องยึดหลักว่าผู้เรียนทุกคนมี ความสามารถเรียนรู้และพัฒนาตนเองได้และถือว่าผู้เรียนมีความสำคัญที่สุด กระบวนการจัดการศึกษา ต้องส่งเสริมให้ผู้เรียนสามารถพัฒนาตามธรรมชาติและเต็มตามศักยภาพ ในส่วนของการจัดกระบวนการ เรียนรู้ ตามพระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติพุทธศักราช 2542 และที่แก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่2) พ.ศ. 2545 หมวด 4 มาตรา 24 ได้ระบุให้ สถานศึกษาและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องดำเนินการ ดังนี้1) จัดเนื้อหาสาระ และกิจกรรมให้สอดคล้องกับความสนใจและความถนัดของผู้เรียน โดยคำนึงถึงความแตกต่างระหว่างบุคคล 2) ฝึกทักษะกระบวนการคิด การจัดการ การเผชิญสถานการณ์และการประยุกต์ความรู้มาใช้เพื่อป้องกันและแก้ไขปัญหา 3) จัดกิจกรรมให้ผู้เรียนได้เรียนรู้จากประสบการณ์จริง ฝึกการปฏิบัติให้ ทำได้ คิดเป็น ทำเป็นรักการอ่านและเกิดการใฝ่รู้อย่างต่อเนื่อง 4) จัดการเรียนการสอนโดยผสมสาระ ความรู้ด้านต่าง ๆ อย่างได้สัดส่วนสมดุลกัน รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม ค่านิยมที่ดีงามและคุณลักษณะ อันพึงประสงค์ไว้ในทุกวิชา 5) ส่งเสริมสนับสนุนให้ผู้สอนสามารถจัดบรรยากาศ สภาพแวดล้อม สื่อการเรียน และอำนวยความสะดวกเพื่อให้ผู้เรียนเกิดการเรียนรู้และมีความรอบรู้ รวมทั้งสามารถใช้ การวิจัยเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการเรียนรู้ทั้งผู้สอนและผู้เรียนอาจเรียนรู้ไปพร้อมกันจากสื่อ การเรียนการสอนและแหล่งวิทยาการประเภทต่าง ๆ 6) จัดการเรียนรู้ให้เกิดได้ทุกเวลา ทุกสถานที่มีการ ประสานความร่วมมือจากบิดามารดา ผู้ปกครองและบุคคลในทุกฝ่าย เพื่อร่วมกันพัฒนาผู้เรียน ตามศักยภาพ (สถาบันส่งเสริมการสอนวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี, 2551)
วิทยาศาสตร์เป็นศาสตร์ที่มีบทบาทสำคัญยิ่งในสังคมโลกปัจจุบันและอนาคตเพราะวิทยาศาสตร์
เกี่ยวข้องกับทุกคนทั้งในชีวิตประจำวันและการงานอาชีพต่าง ๆ ตลอดจนเทคโนโลยี วิทยาศาสตร์ช่วยให้มนุษย์ได้พัฒนาวิธีคิด ทั้งความคิดเป็นเหตุเป็นผล คิดสร้างสรรค์ คิดวิเคราะห์ วิจารณ์ มีทักษะสำคัญในการค้นคว้าหาความรู้ มีความสามารถในการแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ การจัดการเรียนการสอนในวิชาวิทยาศาสตร์ต้องเน้นการเชื่อมโยงกับความรู้กระบวนการ มีทักษะสำคัญในการค้นคว้าและสร้างความรู้ โดยใช้กระบวนการสืบเสาะหาความรู้และแก้ปัญหาที่หลากหลาย (กระทรวงศึกษาธิการ, 2551)
ธรรมชาติของวิชาเคมีเป็นวิชาที่ประกอบด้วยเนื้อหาที่เป็นนามธรรม ต้องใช้จินตนาการในการ
คิดเพื่อเชื่อมโยงเนื้อหากับประสบการณ์และชีวิตประจำวันของนักเรียน (Orgill and Bodner, 2004) การจัดการเรียนการสอนในชั้นเรียนเป็นสิ่งสำคัญที่ช่วยพัฒนาและส่งเสริมให้นักเรียนสร้างองค์ความรู้ได้ด้วยตนเอง (ปัฐมาภรณ์ พิมพ์ทอง, 2551) อย่างไรก็ตามการจัดการเรียนการสอนในวิชาเคมี ของโรงเรียนจอมพระประชาสรรค์ที่ผ่านมายังไม่ประสบผลสำเร็จเท่าที่ควร นักเรียนส่วนใหญ่คิดว่าเป็นวิชาที่มีเนื้อหาซับซ้อน เข้าใจยาก อีกทั้งครูผู้สอนเองก็จัดกิจกรรมการเรียนการสอนในรูปแบบที่ไม่หลากหลาย ครูยังคงมีบทบาทสำคัญในการจัดการเรียนการสอน นักเรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมการเรียนรู้น้อย ทำให้นักเรียนรู้สึกเบื่อ ขาดความสนใจต่อวิชาเคมี ทำให้นักเรียนมีผลการเรียนในรายวิชาเคมีค่อนข้างต่ำ ดังนั้นครูต้องมีเทคนิคการสอนที่หลากหลายเพื่อดึงความสนใจของนักเรียนและปรับเปลี่ยนวิธีการจัดการเรียนการสอนให้เป็น Active Learning โดยอาศัยแนวคิด Teach Less, Learn More หรือที่เรียกว่า สอนให้น้อย เรียนให้เยอะ (เยาวเรศ ภักดีจิตร, ม.ป.ป.) เพราะการสอน คือ การเรียนรู้ (Stern, 1983) และการเรียนกับการสอนเป้าหมายโดยแท้จริงแล้วคือเป้าหมายเดียวกัน คือ การเรียนรู้ของผู้เรียน การเรียนการสอนจะเกิดประสิทธิภาพสูงสุด ถ้าผู้เรียนมีความอยากรู้อยากเห็น มีความมุ่งมั่นและพยายาม (Dornyei, 2001) ซึ่งความชอบในการเรียนรู้ของผู้เรียนแต่ละคนแตกต่างกันออกไป (Nunan, 2001) ในการเรียนรู้ที่กำกับโดยผู้สอนจะตรงกันข้ามกับการเรียนรู้ด้วยตนเองดังนี้ 1) การเรียนรู้ที่กำกับโดยผู้สอนจะทำให้ผู้เรียนไม่รับผิดชอบการเรียนรู้ของตนเองจะรอให้แต่ครูกำหนดว่าจะเรียนอะไรและเรียนอย่างไร 2) สิ่งที่ผู้เรียนเรียนรู้มาก่อนไม่ถูกใช้ให้เกิดประโยชน์ในการเรียนรู้ 3) ผู้เรียนไม่ได้เรียนตามความสามารถของตนเอง 4) ผู้เรียนจะมุ่งเน้นการศึกษาเนื้อหามากกว่าการฝึกฝนวิธีการเรียนรู้ 5) แรงกระตุ้นในการเรียนรู้เป็นแรงกระตุ้นภายนอกไม่ใช่แรงกระตุ้นภายในตัวผู้เรียน ดังนั้นการที่ผู้เรียนใฝ่เรียนรู้ด้วยตนเองจะเรียนรู้ได้มากกว่าและดีกว่าผู้เรียนที่รอให้ครูสอน (Knowels, 1975) ดังนั้น การเรียนรู้ด้วยตนเองถือว่าสำคัญอย่างยิ่ง (Dickinson, 1987) จากหลักการข้างต้นที่กล่าวมาจะเห็นว่าวัฏจักรการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 5 ขั้นก็ถือเป็นรูปแบบการจัดการเรียนรู้หนึ่งที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในการจัดกิจกรรมการเรียนรู้ทุกขั้นตอน ทำให้ผู้เรียนสามารถสร้างแนวคิดในการเรียนรู้ได้ด้วยตนเอง (สุธี ผลดี และ ศักดิ์ศรี สุภาษร, 2554) ซึ่งการจัดการเรียนการสอนด้วยวัฏจักรการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 5 ทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้น (ปิยมาศ อาจหาญ, 2554) และทำให้นักเรียนมีความสามารถในการแก้ปัญหามากขึ้นอีกด้วย (นิรมล รอดไพ และ ภาคิน อินทร์ชิดจุ้ย, 2558) ทั้งนี้ก็เนื่องมาจากว่าวัฏจักรการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 5 ขั้นที่ประกอบด้วย 1) ขั้นสร้างความสนใจ (Engagement) 2) ขั้นสำรวจและค้นหา (Exploration) 3) ขั้นอธิบายและลงข้อสรุป (Explanation) 4)ขั้นขยายความรู้ (Elaboration) และ 5) ขั้นประเมินผล (Evaluation) เน้นให้ผู้เรียนได้ค้นพบความรู้ต่างๆด้วยตนเอง โดยใช้กระบวนการทางวิทยาศาสตร์ เน้นการทำงานเป็นทีมโดยช่วยกันคิดและวางแผนแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบ โดยครูเป็นเพียงผู้อำนวยความสะดวก และคอยกระตุ้นเพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนมีความสนใจและกระตือรือร้นที่จะเรียน มีความมุ่งมั่นในการสืบเสาะหาความรู้เพื่อนำไปสู่คำตอบ สามารถตัดสินใจเลือกใช้ข้อมูลอย่างมีเหตุผล และสามารถสื่อสารข้อมูลให้ผู้อื่นเกิดความเข้าใจได้ (รุ่งทิพย์ ศศิธร และคณะ, 2554 ) นอกจากนี้การสอนการสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนยังส่งผลให้ผู้เรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนที่สูงขึ้นและมีความพึงพอใจในการจัดการเรียนการสอนทั้งนี้เป็นเพราะชุดกิจกรรม การเรียนรู้ที่สร้างขึ้น เป็นสื่อการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง สืบหาความรู้ต่าง ๆ เพื่อ นำมาแก้ไขปัญหาที่ตนเองได้รับด้วยตัวเอง โดยมีครูผู้สอนเป็นเพียงผู้คอยให้คำแนะนำและกระตุ้นให้นักเรียนเกิดแนวความคิดในการแก้ไขปัญหา ซึ่งสิ่งต่าง ๆ เหล่านี้เป็นรูปแบบการจัดการเรียน การสอนที่สามารถเปิดโลกทัศน์ของนักเรียนอีกด้วย
จากหลักการและเหตุผลรวมถึงผลการวิจัยที่กล่าวมาเกี่ยวกับวัฎจักรการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 5 ขั้น และการสอนโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ที่สามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนให้สูงขึ้น เนื่องจากรูปแบบการจัดการเรียนการสอนทั้ง 2 แบบเน้นให้ผู้เรียนได้เรียนรู้ด้วยตนเอง ทำให้เกิดการเรียนรู้อย่างมีความหมาย เข้าใจเนื้อหาและยังสามารถเชื่อมโยงเนื้อหาเข้ากับเหตุการณ์ในชีวิตประจำวันได้และยังเน้นกระบวนการทำงานเป็นกลุ่ม และผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติด้วยตนเอง มีการวางแผนและทำงานอย่างเป็นขั้นตอน รู้จักแก้ปัญหา และหาคำตอบด้วยตนเอง ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะใช้รูปแบบการสอนทั้ง 2 แบบพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6 ในเรื่องเซลล์กัลวานิก โดยจัดการเรียนการสอนด้วยวัฏจักรการเรียนรู้แบบสืบเสาะ 5 ขั้น โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้เรื่องเซลล์กัลป์วานิก
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
พัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเรื่องเซลล์กัลวานิกโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ รายวิชาเคมี 4 ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6
เครื่องมือในการวิจัย
1. ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ เรื่องเซลล์กัลวานิก
2. แบบทดสอบเรื่องเซลล์กัลวานิก
ระยะเวลาการดำเนินงานวิจัย
เดือนมิถุนายน ของภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 รวม 2 ชั่วโมง
กลุ่มเป้าหมาย
นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 6/7 และ 6/8 โรงเรียนจอมพระประชาสรรค์ จำนวน 53 คน ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561
วิธีการรวบรวมข้อมูล
1. ทดสอบก่อนเรียน
2. จัดการเรียนการโดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้
4. ทดสอบหลังเรียน
การใช้สถิติวิเคราะห์ข้อมูล
วิเคราะห์ข้อมูล เปรียบเทียบความแตกต่างของค่าเฉลี่ย ของคะแนนสอบก่อนและหลังเรียน
ผลการวิจัย
ตารางที่ 1 แสดงผลสัมฤทธิ์ของนักเรียน
คนที่ คะแนนสอบ ความก้าวหน้าทางการเรียน คนที่ คะแนนสอบ ความก้าวหน้าทางการเรียน
ก่อนเรียน หลังเรียน % <g> ก่อนเรียน หลังเรียน % <g>
1 1 8 70 0.78 28 1 8 70 0.78
2 2 9 70 0.88 29 2 8 60 0.75
3 1 8 70 0.78 30 1 7 60 0.67
4 1 8 70 0.78 31 1 8 70 0.78
5 2 8 60 0.75 32 1 8 70 0.78
6 1 8 70 0.78 33 2 7 50 0.63
7 1 8 70 0.78 34 1 8 70 0.78
8 2 8 60 0.75 35 1 8 70 0.78
9 1 8 70 0.78 36 1 8 70 0.78
10 1 9 80 0.89 37 2 8 60 0.75
11 1 8 70 0.78 38 1 8 70 0.78
12 2 8 60 0.75 39 2 7 50 0.63
13 2 8 60 0.75 40 2 8 60 0.75
14 1 9 80 0.89 41 1 8 70 0.78
15 1 9 80 0.89 42 1 8 70 0.78
16 2 9 70 0.88 43 2 8 60 0.75
17 1 8 70 0.78 44 1 8 70 0.78
18 1 8 70 0.78 45 1 9 80 0.89
19 1 8 70 0.78 46 2 9 70 0.88
20 2 8 60 0.75 47 1 8 70 0.78
21 2 7 50 0.63 48 1 8 70 0.78
22 1 8 70 0.78 49 2 7 50 0.63
23 1 8 70 0.78 50 2 8 60 0.75
24 1 8 70 0.78 51 2 8 60 0.75
25 3 8 50 0.71 52 1 8 70 0.78
26 1 9 80 0.89 53 1 8 70 0.78
27 1 9 80 0.89 -
ก่อนเรียนเฉลี่ย หลังเรียนเฉลี่ย % เฉลี่ย <g>เฉลี่ย
1.38 8.08 66.98 0.78
วิเคราะห์ผล
ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนจากการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้พบว่าก่อนเรียนมีค่าคะแนนเฉลี่ย 1.38 หลังเรียนมีค่าคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นเป็น 8.08 และ นักเรียนมีความก้าวหน้าทางการเรียนในระดับสูง (<g> = 0.78) เนื่องจากการใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ในการจัดการเรียนการสอน เป็นสื่อการเรียนรู้ที่ส่งเสริมให้ผู้เรียนได้ลงมือปฏิบัติจริง สืบหาความรู้ต่าง ๆ เพื่อนำมาแก้ไขปัญหาที่ตนเองได้รับด้วยตัวเอง โดยมีครูผู้สอนเป็นเพียงผู้คอยให้คำแนะนำและกระตุ้นให้นักเรียนเกิดแนวความคิดในการแก้ไขปัญหา
ข้อเสนอแนะ
1. ใช้รูปแบบการสอนที่หลากหลาย
2. มีการเสริมแรงในการทำงาน