การประเมินครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินโครงการพัฒนาระบบดูแลช่วยเหลือนักเรียนโรงเรียนอนุบาลหันคา (วัดท่ากฤษณา-สุชัยประชาสรรค์) อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท ปีการศึกษา 2558 ประเมินตามรูปแบบการประเมินโดยใช้ซิปป์โมเดล(CIPP Model) ของสตัฟเฟิลบีม (Stufflebeam) เป็นการประเมินในด้านบริบท (Context Evaluation:C) ด้านปัจจัย (Input Evaluation:I) ด้านกระบวนการ (Process Evaluation : P) และด้านผลผลิต (Product Evaluation : P)
กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ ได้แก่ ข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา โรงเรียนวัดคลองเกษม อำเภอหันคา จังหวัดชัยนาท สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาชัยนาท ปีการศึกษา 2561 จำนวน 89 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานโรงเรียนวัดคลองเกษม จำนวน 8 คน นักเรียนโรงเรียนวัดคลองเกษม จำนวน 89 คน ผู้ปกครองนักเรียน โรงเรียนวัดคลองเกษม จำนวน 89 คน รวมทั้งสิ้น 186 คน เลือกกลุ่มตัวอย่างโดยการเลือกแบบเจาะจงและขนาดของกลุ่มตัวอย่างจากการเปิดตารางของเครซี่มอร์แกน ที่ระดับความเชื่อมั่น 0.95
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ แบบสอบถาม มีลักษณะเป็นมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าคะแนนเฉลี่ย ( ) และความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการประเมิน พบว่า
1. ด้านบริบทหรือสิ่งแวดล้อมของโครงการ ได้แก่ ความสอดคล้องระหว่างวัตถุประสงค์ของโครงการกับแผนงาน ตามความคิดเห็นของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในภาพรวมเห็นว่า มีความสอดคล้องเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.04 ค่า S.D. เท่ากับ 0.44
2. ด้านปัจจัยของโครงการ ได้แก่ บุคลากรและงบประมาณ ตามความคิดเห็นของข้าราชการครูและบุคลากร ทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในภาพรวมเห็นว่า มีความพร้อมและเพียงพออยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 3.88 ค่า S.D. เท่ากับ 0.49
3. ด้านกระบวนการ ได้แก่ การบริหารโครงการ การติดตามโครงการ การปฏิบัติตามโครงการและ การปรับปรุงวิธีดำเนินงาน ตามความคิดเห็นของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในภาพรวมเห็นว่า มีการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 3.97 ค่า S.D. เท่ากับ 0.41
4. ด้านผลผลิต ได้แก่ ด้านคุณภาพผู้เรียน ตามความคิดเห็นของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานในภาพรวมเห็นว่า ผลการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 3.93 ค่า S.D. เท่ากับ 0.48 ทำนองเดียวกับ ความคิดเห็นของนักเรียนในภาพรวมเห็นว่า ผลการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก ค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.37 ค่า S.D. เท่ากับ 0.38 และผู้ปกครองนักเรียนในภาพรวมเห็นว่า ผลการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.13 ค่า S.D. เท่ากับ 0.35