กลุ่มสาระการเรียนรู้คณิตศาสตร์ ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ภาคเรียนที่ 1
รหัสวิชา ค21101 วิชาคณิตศาสตร์
หน่วยที่ 1 เรื่องจำนวนเต็ม เวลา 20 ชั่วโมง
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง จำนวนเต็ม เวลา 1 ชั่วโมง
สอนวันที่................เดือน................................................... พ.ศ. ...................
1. มาตรฐานการเรียนรู้
มาตรฐาน ค 1.1 เข้าใจจำนวนตรรกยะและความสัมพันธ์ของจำนวนตรรกยะ และใช้สมบัติของจำนวนตรรกยะในการแก้ปัญหาคณิตศาสตร์และปัญหาในชีวิตจริง
2. ตัวชี้วัด
มาตรฐาน ค1.1 ม.1/1 ระบุหรือยกตัวอย่างและเปรียบเทียบจำนวนเต็มบวก จำนวนเต็มลบ ศูนย์เศษส่วนและทศนิยม
3. สมรรถนะสำคัญของผู้เรียน
3.1 ความสามารถในการคิด
3.2 ความสามารถในการแก้ปัญหา
3.3 ความสามารถในการใช้ทักษะชีวิต
4. สาระสำคัญ
จำนวนเต็ม (Integers) ประกอบด้วย
4.1 จำนวนเต็มบวก หรือจำนวนนับ เป็นจำนวนธรรมชาติที่มนุษย์ใช้นับคน สัตว์ สิ่งของ
เมื่อกำหนดจุดบนเส้นจำนวนแทนจำนวนนับได้ตกลงว่าการนับเพิ่มทีละหนึ่ง ให้นับไปทางขวามือของ 1 และกำหนดจุดบนเส้นจำนวนห่างจากจำนวนเดิมทีละ 1 หน่วยเท่า ๆ กัน ได้แก่ 1, 2, 3,...
4.2 จำนวนเต็มลบ เป็นจำนวนเต็มที่มนุษย์คิดค้นขึ้นมาเพื่อใช้เรียกข้อมูลหรือสมบัติ
บางอย่างที่แทนด้วยจำนวนเต็มบวกไม่ได้ เช่น ระดับอุณหภูมิที่ต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง โดยปกติจะเขียนแทนจำนวนเต็มลบโดยใช้เครื่องหมายลบ (-) นำหน้าจำนวนเต็ม ได้แก่ -1, -2, -3,
4.3 ศูนย์ เป็นจำนวนเต็มไม่เป็นจำนวนนับ เช่น ไม่นิยมพูดว่ามีเงิน 0 บาท แต่จะพูดว่า
ไม่มีเงินอย่างไรก็ตาม 0 ก็ไม่ได้แทนความไม่มีเสมอไป เช่น อุณหภูมิของน้ำแข็งเป็น 0
องศาเซลเซียส หมายความว่า น้ำแข็งมีความเย็นระดับหนึ่งซึ่งกำหนดว่าเป็น 0 องศาเซลเซียส
5. จุดประสงค์การเรียนรู้
5.1 ด้านความรู้ : นักเรียนสามารถ
5.1.1 ยกตัวอย่างจำนวนเต็มบวก จำนวนเต็มลบและศูนย์ได้
5.1.2 ระบุจำนวนเต็มตามเงื่อนไขที่กำหนดให้ได้
5.2 ด้านทักษะ/กระบวนการ : นักเรียนมีความสามารถ
5.2.1 ให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจและสรุปผลได้อย่างเหมาะสม
5.2.2 ใช้วิธีการที่หลากหลายในการแก้ปัญหา
5.3 คุณลักษณะที่พึงประสงค์ : นักเรียนมีความสามารถ
5.3.1 ใฝ่เรียนรู้
5.3.2 อยู่อย่างพอเพียง
5.3.3 มุ่งมั่นในการทำงาน
6. สาระการเรียนรู้
จำนวนเต็ม (Integers)
จำนวนนับหรือจำนวนธรรมชาติ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าจำนวนเต็มบวก ซึ่งได้แก่
1, 2, 3, 4, 5, ... มี 1 เป็นจำนวนเต็มบวกที่มีค่าน้อยที่สุด และจำนวนเต็มบวกอื่น ๆ เกิดจาก 1 เช่น
1 + 1 แทนด้วย 2
2 + 1 แทนด้วย 3
3 + 1 แทนด้วย 4
โดยการนับเพิ่มขึ้นทีละ 1 เช่นนี้ไปเรื่อย ๆ จะได้จำนวนเต็มบวกอื่น ๆ เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ นักเรียนคงเคยเกิดปัญหาในการลบของจำนวนเต็มบวกเมื่อตัวตั้งน้อยกว่าตัวลบ เช่น
4 5
4 6
4 7
จากตัวอย่างข้างต้น นักเรียนต้องทำความรู้จักกับจำนวนเต็มลบก่อน
จำนวนเต็มลบ ได้แก่ -1, -2, -3, -4, ... และแทนด้วยจุดที่อยู่ทางซ้ายมือของศูนย์
บนเส้นจำนวน ดังนี้
เส้นจำนวนแสดงจำนวนเต็ม
-4 -3 -2 -1 0 1 2 3 4
จากแผนภาพข้างบน จำนวนที่แสดงทั้งหมดเป็นจำนวนเต็ม ซึ่งประกอบด้วย
1. จำนวนเต็มบวก หรือจำนวนนับเป็นจำนวนธรรมชาติที่มนุษย์ใช้นับคน สัตว์ สิ่งของ
โดยปกติจำนวนที่ใช้นับจำนวนแรกคือ 1 เมื่อกำหนดจุดบนเส้นจำนวนแทนจำนวนนับได้ตกลงว่าการนับเพิ่มทีละหนึ่ง ให้นับไปทางขวามือของ 1 และกำหนดจุดบนเส้นจำนวนห่างจากจำนวนเดิม
ทีละ 1 หน่วยเท่า ๆ กัน ได้แก่ 1, 2, 3, 4, 5, ...
2. จำนวนเต็มลบ เป็นจำนวนเต็มที่มนุษย์คิดค้นขึ้นมาเพื่อใช้เรียกข้อมูลหรือสมบัติบางอย่าง
ที่แทนด้วยจำนวนเต็มบวกไม่ได้ เช่น ระดับอุณหภูมิที่ต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง โดยปกติจะเขียนแทนจำนวนเต็มลบโดยใช้เครื่องหมายลบ (-) นำหน้าจำนวนเต็ม ได้แก่ -1, -2, -3,
3. ศูนย์ เป็นจำนวนเต็มไม่เป็นจำนวนนับ เช่น ไม่นิยมพูดว่ามีเงิน 0 บาท แต่จะพูดว่า
ไม่มีเงิน อย่างไรก็ตาม 0 ก็ไม่ได้แทนความไม่มีเสมอไป เช่น อุณหภูมิของน้ำแข็งเป็น 0
องศาเซลเซียส หมายความว่า น้ำแข็งมีความเย็นระดับหนึ่งซึ่งกำหนดว่าเป็น 0 องศาเซลเซียส
นั่นคือ จำนวนเต็มประกอบไปด้วย จำนวนเต็มลบ ศูนย์ และจำนวนเต็มบวก ดังแผนภาพ
โครงสร้างจำนวนเต็ม
7. กระบวนการจัดการเรียนรู้
การจัดการเรียนรู้โดยใช้รูปแบบการจัดการเรียนรู้แบบซิปปา โมเดล (CIPPA Model)
ขั้นที่ 1 ขั้นทบทวนความรู้เดิม
7.1 ครูและนักเรียนร่วมกันทบทวนความรู้เรื่องจำนวนนับและเลขโดด โดยให้นักเรียน
ตอบคำถาม ดังนี้
- เลขโดด มีกี่ตัว อะไรบ้าง (มี 10 ตัว ได้แก่ 0, 1, 2, 3, 4, 5, 6, 7, 8 และ 9)
- จำนวนนับเริ่มจากจำนวนใด (1)
- จำนวนนับมีประโยชน์อย่างไร (บอกปริมาณของสิ่งต่างๆ เช่น บอกจำนวนสมาชิกในห้องของนักเรียน บอกจำนวนสุนัขในโรงเรียน บอกจำนวนประชากรของประเทศไทย เป็นต้น)
7.2 ครูชี้แจงการทำงาน ดังนี้
7.2.1 งานกลุ่ม แบบฝึกทักษะที่ 1.1 คะแนนของกลุ่มจะนำไปรวมกับคะแนน
การทำแบบฝึกทักษะรายบุคคล
7.2.2 งานเดี่ยว แบบฝึกทักษะที่ 1.2 ให้ทำในชั่วโมง สำหรับแบบฝึกทักษะที่ 1.3
ให้ทำเป็นการบ้าน
7.2.3 นำคะแนนแบบฝึกทักษะที่ 1.1 1.3 รวมกันแล้วได้ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75
ขึ้นไป ผ่านเกณฑ์การประเมิน หากไม่ผ่านให้นักเรียนซ่อมเสริมนอกเวลาเรียน
7.2.4 การประเมินด้านทักษะ และด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ จะประเมินระหว่างที่นักเรียนทำงานหรือนอกเวลาเรียนแล้วแต่ความเหมาะสมโดยพิจารณาจากเกณฑ์ที่กำหนดไว้
เกณฑ์การผ่านระดับพอใช้ขึ้นไป
ขั้นที่ 2 การแสวงหาความรู้ใหม่
7.3 นักเรียนแบ่งกลุ่ม กลุ่มละ 4 คน คละความรู้ความสามารถ คนเก่ง ปานกลาง อ่อน
โดยดูจากผลการทดสอบก่อนเรียน (ครูแบ่งกลุ่มล่วงหน้าตามผลการสอบหลังเรียนบทที่ 1 เรื่อง สมบัติของจำนวนนับ และให้รวมกลุ่มเดิมทุกครั้งที่มีกิจกรรมกลุ่มในชั่วโมงต่อไป) แต่ละกลุ่มคัดเลือกหัวหน้ากลุ่ม และเลขานุการกลุ่มเพื่อเป็นผู้นำกลุ่มและจดบันทึกข้อสรุปของกลุ่ม
7.4 ครูแจกใบความรู้ที่ 1 เรื่อง ระบบจำนวนเต็ม ให้แต่ละกลุ่มร่วมกันศึกษา
ระดมความคิดเพื่อหาข้อสรุปร่วมกัน ดังนี้
- จำนวนเต็ม ประกอบด้วยอะไรบ้าง
- ความหมายของจำนวนเต็มแต่ละประเภทพร้อมทั้งยกตัวอย่าง
- เส้นจำนวนแสดงจำนวนเต็มแต่ละประเภท
- ข้อสังเกตบางประการของจำนวนเต็มลบ
ขั้นที่ 3 การศึกษาทำความเข้าใจข้อมูล/ความรู้ใหม่และเชื่อมโยงความรู้ใหม่กับความรู้เดิม
7.5 นักเรียนแต่ละกลุ่มระดับความคิด ทำความเข้าใจเกี่ยวกับระบบจำนวนเต็ม ความหมายของจำนวนเต็ม ประเภทของจำนวนเต็ม และตัวอย่างจำนวนเต็มแต่ละประเภท
7.6 เมื่อนักเรียนแต่ละกลุ่มได้ข้อสรุป ให้บันทึกผลสรุปของกลุ่มลงสมุด
ขั้นที่ 4 การแลกเปลี่ยนความรู้ความเข้าใจกับกลุ่ม
7.7 ครูสุ่มตัวแทนกลุ่ม 1 กลุ่มนำเสนอผลสรุปของกลุ่ม ครูชมเชยและให้กำลังใจตัวแทนนักเรียนที่นำเสนอความรู้ด้วยการให้นักเรียนทุกคนปรบมือให้
7.8 ครูแจกแบบฝึกทักษะที่ 1.1 เรื่อง จำนวนเต็ม ให้แต่ละกลุ่มระดมความคิด ช่วยกันหาคำตอบ
7.9 สุ่มตัวแทนนักเรียนจากกลุ่มที่ยังไม่ได้นำเสนอ เฉลยคำตอบ โดยมีครูและนักเรียน
ทุกกลุ่มตรวจสอบคำตอบ ครูชมเชยตัวแทนนักเรียนที่เฉลยคำตอบ
ขั้นที่ 5 การสรุปและจัดระเบียบความรู้
7.10 ครูสรุปบทเรียนด้วยสื่อประกอบบทเรียน ( PowerPoint ) เรื่อง จำนวนเต็ม
โดยครูตั้งคำถามและให้นักเรียนช่วยกันตอบ ตามลำดับดังนี้ ประเภทของจำนวนเต็ม เส้นจำนวน
และข้อสังเกตบางประการของจำนวนเต็มลบ ในขั้นนี้ครูคอยกด Enter เพื่อเฉลยคำตอบตามลำดับ
7.11 ครูสุ่มตัวแทนนักเรียนออกไปเขียนเส้นจำนวนแสดงจำนวนเต็มที่อยู่ระหว่าง -3 ถึง 3
เมื่อเขียนเสร็จทุกคนตรวจสอบและปรบมือให้กำลังใจเพื่อน
ขั้นที่ 6 การปฏิบัติ และ/หรือการแสดงผลงาน
7.12 ครูแจกแบบฝึกทักษะที่ 1.2 เรื่อง จำนวนเต็ม ให้นักเรียนทำเป็นรายบุคคล โดยเน้นการให้เหตุผลและการแก้ปัญหาในการทำงาน
7.13 ในขณะที่นักเรียนทุกคนทำแบบฝึกทักษะที่ 1.2 ครูประเมินด้านทักษะและคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ตามเกณฑ์ที่กำหนดไว้
7.14 เมื่อนักเรียนทุกคนทำเสร็จแล้ว ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มเปลี่ยนกันตรวจ จากนั้นตัวแทนนักเรียนนำเสนอคำตอบแต่ละข้อ โดยมีครูตรวจสอบคำตอบและแนะนำเพิ่มเติม จากนั้นหัวหน้ากลุ่มหรือเลขานุการแต่ละกลุ่มรวบรวมผลงานส่งครู
ขั้นที่ 7 การประยุกต์ใช้ความรู้
7.15 ครูแจกแบบฝึกทักษะที่ 1.3 เรื่อง จำนวนเต็ม ให้นักเรียนทำเป็นการบ้าน
8. สื่อ/แหล่งเรียนรู้
8.1 ใบความรู้ที่ 1 เรื่อง จำนวนเต็ม
8.2 แบบฝึกทักษะที่ 1.1 เรื่อง จำนวนเต็ม
8.3 สื่อประกอบบทเรียน ( PowerPoint ) เรื่อง จำนวนเต็ม
8.4 แบบฝึกทักษะที่ 1.2 เรื่อง จำนวนเต็ม
8.5 แบบฝึกทักษะที่ 1.3 เรื่อง จำนวนเต็ม
9. กระบวนการวัดและประเมินผล
รายการประเมิน วิธีการวัด เครื่องมือ เกณฑ์
ด้านความรู้
1. ยกตัวอย่างจำนวนเต็มบวก จำนวนเต็มลบและศูนย์ได้
2. ระบุจำนวนเต็มตามเงื่อนไขที่กำหนดให้ได้
ตรวจแบบฝึกทักษะที่ 1.1 - 1.3
แบบฝึกทักษะ
ที่ 1.1 - 1.3
คะแนนรวม
ไม่ต่ำกว่าร้อยละ 75
ขึ้นไปผ่านเกณฑ์
ด้านทักษะ/กระบวนการ
1. ให้เหตุผลได้
2. แก้ปัญหาได้
ประเมินทักษะ
การทำงาน
แบบประเมิน
ทักษะการทำงาน
ผ่านเกณฑ์ระดับพอใช้ขึ้นไป
ด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์
1. ใฝ่เรียนรู้
2. อยู่อย่างพอเพียง
3. มุ่งมั่นในการทำงาน
สังเกตคุณลักษณะ
ที่พึงประสงค์
แบบประเมินคุณลักษณะ
ที่พึงประสงค์
ผ่านเกณฑ์ระดับพอใช้ขึ้นไป
10. กิจกรรมเสนอแนะ
- ควรมีการทบทวนความรู้เกี่ยวกับจำนวนนับ เพื่อให้นักเรียนเชื่อมโยงความรู้มาสู่จำนวนเต็ม
บันทึกผลหลังการจัดการเรียนรู้
แผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง จำนวนเต็ม เวลา 1 ชั่วโมง
วิชาคณิตศาสตร์ รหัสวิชา ค21101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ผลการจัดการเรียนรู้
ได้จัดกิจกรรมการเรียนรู้ ตามแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง จำนวนเต็ม โดยใช้
แบบฝึกทักษะ จำนวนนักเรียน ....................... คน ปรากฏผลดังนี้
1. จากการตรวจแบบฝึกทักษะที่ 1.1 - 1.3 คะแนนเต็ม 40 คะแนน มีนักเรียนผ่านเกณฑ์
การประเมินจำนวน..............คน คิดเป็น ร้อยละ................. มีคะแนนเฉลี่ย..............คะแนน
คิดเป็นร้อยละ ...................... ของคะแนนเต็ม
2. ผลการประเมินทักษะด้านการให้เหตุผล และการแก้ปัญหา มีนักเรียนผ่านเกณฑ์
การประเมิน................คน มีคะแนนเฉลี่ย ................... อยู่ในระดับ .................................................
ผ่านเกณฑ์ระดับดีเยี่ยม จำนวน ................ คน คิดเป็นร้อยละ ................ ระดับดี จำนวน.......... คน คิดเป็นร้อยละ ................... ระดับพอใช้ จำนวน...............คน คิดเป็นร้อยละ....................................
3. นักเรียนผ่านเกณฑ์การประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์ จำนวน...............................คน
มีคะแนนเฉลี่ย............... อยู่ในระดับ.................................ผ่านเกณฑ์ระดับดีเยี่ยม จำนวน..............คน
คิดเป็นร้อยละ............... ผ่านเกณฑ์การประเมินระดับดี จำนวน............คน คิดเป็นร้อยละ..................
และผ่านเกณฑ์การประเมินระดับพอใช้ จำนวน.............คน คิดเป็นร้อยละ..................
ปัญหา / อุปสรรค
................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................
ข้อเสนอแนะ / แนวทางแก้ไข
................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................
................................................................................................................................................................
ลงชื่อ.......................................................ครูผู้สอน
(นายบุญร่วม กลิ่นหอม)
จำนวนเต็ม (Integers)
จำนวนนับหรือจำนวนธรรมชาติ หรือเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าจำนวนเต็มบวก ซึ่งได้แก่
1, 2, 3, 4, 5, ... มี 1 เป็นจำนวนเต็มบวกที่มีค่าน้อยที่สุด และจำนวนเต็มบวกอื่น ๆ เกิดจาก 1 เช่น
1 + 1 แทนด้วย 2
2 + 1 แทนด้วย 3
3 + 1 แทนด้วย 4
โดยการนับเพิ่มขึ้นทีละ 1 เช่นนี้ไปเรื่อย ๆ จะได้จำนวนเต็มบวกอื่น ๆ เพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ นักเรียนคงเคยเกิดปัญหาในการลบของจำนวนเต็มบวกเมื่อตัวตั้งน้อยกว่าตัวลบ เช่น
4 5
4 6
4 7
จากตัวอย่างข้างต้น นักเรียนต้องทำความรู้จักกับจำนวนเต็มลบก่อน
จำนวนเต็มลบ ได้แก่ -1, -2, -3, -4, ... และแทนด้วยจุดที่อยู่ทางซ้ายมือของศูนย์
บนเส้นจำนวน ดังนี้
เส้นจำนวนแสดงจำนวนเต็ม
-4 -3 -2 -1 0 1 2 3 4
จากแผนภาพข้างบน จำนวนที่แสดงทั้งหมดเป็นจำนวนเต็ม ซึ่งประกอบด้วย
1. จำนวนเต็มบวก หรือจำนวนนับ เป็นจำนวนธรรมชาติที่มนุษย์ใช้นับคน สัตว์ สิ่งของ
โดยปกติจำนวนที่ใช้นับจำนวนแรกคือ 1 เมื่อกำหนดจุดบนเส้นจำนวนแทนจำนวนนับได้ตกลงว่าการนับเพิ่มทีละหนึ่ง ให้นับไปทางขวามือของ 1 และกำหนดจุดบนเส้นจำนวนห่างจาก
จำนวนเดิมทีละ 1 หน่วยเท่า ๆ กัน ได้แก่ 1, 2, 3, 4, 5, ...
2. จำนวนเต็มลบ เป็นจำนวนเต็มที่มนุษย์คิดค้นขึ้นมาเพื่อใช้เรียกข้อมูลหรือสมบัติบางอย่าง
ที่แทนด้วยจำนวนเต็มบวกไม่ได้ เช่น ระดับอุณหภูมิที่ต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง โดยปกติจะเขียนแทนจำนวนเต็มลบโดยใช้เครื่องหมายลบ (-) นำหน้าจำนวนเต็ม ได้แก่ -1, -2, -3, ..
3. ศูนย์ เป็นจำนวนเต็ม ไม่เป็นจำนวนนับ เช่น ไม่นิยมพูดว่า มีเงิน 0 บาท แต่จะพูดว่า
ไม่มีเงิน อย่างไรก็ตาม 0 ก็ไม่ได้แทนความไม่มีเสมอไป เช่น อุณหภูมิของน้ำแข็งเป็น 0
องศาเซลเซียส หมายความว่า น้ำแข็งมีความเย็นระดับหนึ่งซึ่งกำหนดว่าเป็น 0 องศาเซลเซียส
นั่นคือ จำนวนเต็มประกอบไปด้วย จำนวนเต็มลบ ศูนย์ และจำนวนเต็มบวก ดังแผนภาพ
โครงสร้างจำนวนเต็ม
ข้อ ข้อความ จริง เท็จ
1 0 เป็นจำนวนเต็มลบ
2 15 เป็นจำนวนเต็มลบ
3 -53 เป็นจำนวนเต็มลบ
4 เป็นจำนวนเต็ม
5 1.25 เป็นจำนวนเต็ม
6 ไม่เป็นจำนวนเต็ม
7 -1.00 ไม่เป็นจำนวนเต็ม
8 0 ไม่มีค่า
9 จำนวนเต็มบวก คือจำนวนธรรมชาติ
10 -1 เป็นจำนวนเต็มลบที่มีค่าน้อยที่สุด
11 1 เป็นจำนวนนับที่น้อยที่สุด
12 จำนวนเต็มลบทุกจำนวนมีค่าน้อยกว่า 0
13 จำนวนนับมีมากมายนับไม่ถ้วน
14 ถ้า a เป็นจำนวนเต็มลบ จำนวนเต็มลบที่น้อยกว่า a คือ a-1
15 ถ้า a เป็นจำนวนเต็มบวก จำนวนเต็มบวกที่มากกว่า a คือ a+1
สื่อประกอบบทเรียน ( PowerPoint )
วิชาคณิตศาสตร์ รหัสวิชา ค21101 ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ประกอบแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง จำนวนเต็ม
1
2
3
4
5
6
ข้อที่ จำนวน จำนวนเต็มบวก ศูนย์ จำนวนเต็มลบ
1 10
2 -54
3 87
4 -101
5 -901
6 -1110
7 100
8 2 + 4
9 1 + 0
10 9 9
11 0 + 1
12 1 0
13 -21 0
14 58
15 13 13
16 21 3
17 100 4
18 1 1
19 (10+10) 20
20 35 36
1. 5, -12, 0.5, , 4.75
2. -1, -2, -3, 2, 1
3. , 0.25, -5
4. 9, -7.5, -9, -1, -0.5
5. , 6, -6
ข้อ ข้อความ จริง เท็จ
1 0 เป็นจำนวนเต็มลบ 
2 15 เป็นจำนวนเต็มลบ 
3 -53 เป็นจำนวนเต็มลบ 
4 เป็นจำนวนเต็ม

5 1.25 เป็นจำนวนเต็ม 
6 ไม่เป็นจำนวนเต็ม

7 -1.00 ไม่เป็นจำนวนเต็ม 
8 0 ไม่มีค่า 
9 จำนวนเต็มบวก คือจำนวนธรรมชาติ 
10 -1 เป็นจำนวนเต็มลบที่มีค่าน้อยที่สุด 
11 1 เป็นจำนวนนับที่น้อยที่สุด 
12 จำนวนเต็มลบทุกจำนวนมีค่าน้อยกว่า 0 
13 จำนวนนับมีมากมายนับไม่ถ้วน 
14 ถ้า a เป็นจำนวนเต็มลบ จำนวนเต็มลบที่น้อยกว่า a คือ a -1 
15 ถ้า a เป็นจำนวนเต็มบวก จำนวนเต็มบวกที่มากกว่า a คือ a +1 
ข้อที่ จำนวน จำนวนเต็มบวก ศูนย์ จำนวนเต็มลบ
1 10 
2 -54 
3 87 
4 -101 
5 -901 
6 -1110 
7 100 
8 2 + 4 
9 1 + 0 
10 9 9 
11 0 +1 
12 1 0

13 -21 0

14 58 
15 13 13 
16 21 3 
17 100 4

18 1 1

19 (10+10) 20 
20 35 36 
1. 5, -12, 0.5, , 4.75
2. -1, -2, -3, 2, 1
3. , 0.25, -5
4. 9, -7.5, -9, -1, -0.5
5. , 6, -6
ตารางบันทึกคะแนนการทำแบบฝึกทักษะ
วิชาคณิตศาสตร์ ค21101 บทที่ 2 เรื่องระบบจำนวนเต็ม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ประกอบแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1 เรื่อง จำนวนเต็ม
กลุ่มที่ เลขที่ แบบฝึกทักษะที่ ร้อยละ ผลการประเมิน
งานกลุ่ม รายบุคคล รวม ผ่าน ไม่ผ่าน
1.1
(15) 1.2
(20) 1.3
(5) คะแนน
(40)
1
2
3
รวมคะแนน
คะแนนเฉลี่ย
ร้อยละ
S.D.
เกณฑ์การตัดสิน ได้คะแนนรวม ร้อยละ 75 ขึ้นไป ผ่าน
ต่ำกว่าร้อยละ 75 ไม่ผ่าน
แบบประเมินด้านทักษะและด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์
วิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ค21101 หน่วยที่ 1 เรื่องจำนวนเต็ม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ประกอบแผนการจัดการเรียนรู้ที่ 1
คำชี้แจง ให้ครูผู้สอนประเมินผลด้านทักษะและด้านคุณลักษณะที่พึงประสงค์ตามพฤติกรรมที่ปรากฏ
แล้วบันทึกคะแนนตามเกณฑ์การประเมินที่กำหนดไว้
กลุ่มที่ เลขที่ ด้านทักษะ รวม
6 คะแนน ผลการประเมิน ด้านคุณลักษณะ
ที่พึงประสงค์ รวม
9 คะแนน ผลการประเมิน
ให้เหตุผลได้ (3) แก้ปัญหาได้ (3) ผ่าน ไม่ผ่าน ใฝ่ เรียนรู้ (3) อยู่อย่างพอเพียง (3) มุ่งมั่นในการทำงาน (3) ผ่าน ไม่ผ่าน
1
2
3
รวมคะแนน
คะแนนเฉลี่ย
ร้อยละ
เกณฑ์การประเมินด้านทักษะการให้เหตุผลและการแก้ปัญหา
รายการประเมิน คะแนนการประเมิน
3 2 1 0
1. ให้เหตุผลได้ - แสดงเหตุผลประกอบการตัดสินใจ
ได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
- ตรวจสอบคำตอบ
ได้ถูกต้องทุกขั้นตอน - แสดงเหตุผล
ประกอบการตัดสินใจได้ถูกต้องแต่ไม่เหมาะสม
- ตรวจสอบคำตอบได้ถูกต้อง - แสดงเหตุผลประกอบการ
ตัดสินใจได้
- ตรวจสอบคำตอบไม่ถูกต้องแต่มี
ความพยายาม - ให้เหตุผลประกอบการตัดสินใจไม่ได้
- ตรวจสอบคำตอบไม่ได้
2. แก้ปัญหาได้ ใช้ความรู้ ทักษะ กระบวนการที่หลากหลายในการแก้ปัญหาการทำงานได้อย่างเหมาะสม
ชัดเจน ใช้ความรู้ ทักษะกระบวนการ แก้ปัญหาในการทำงานได้เหมาะสม
แต่ยังไม่ชัดเจน ใช้ความรู้แก้ปัญหาในการทำงานได้ ไม่สามารถแก้ปัญหาการทำงานได้
เกณฑ์การแปลความหมาย
5.00 6.00 คะแนน ให้เหตุผลและแก้ปัญหาได้ระดับ ดีเยี่ยม
4.00 4.99 คะแนน ให้เหตุผลและแก้ปัญหาได้ระดับ ดี
3.00 3.99 คะแนน ให้เหตุผลและแก้ปัญหาได้ระดับ พอใช้
0.00 2.99 คะแนน ให้เหตุผลและแก้ปัญหาได้น้อย ปรับปรุง
เกณฑ์การตัดสิน
3.00 6.00 คะแนน ผ่านเกณฑ์
0.00 2.99 คะแนน ไม่ผ่านเกณฑ์
เกณฑ์การประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์
รายการประเมิน คะแนนการประเมิน
3 2 1 0
1. ใฝ่เรียนรู้ - ส่งงานตรงกำหนดเวลา
- รับผิดชอบต่อหน้าที่ที่มอบหมาย เป็นตัวอย่างแก่ผู้อื่น - ส่งงานช้า 1 วัน
โดยมีเหตุจำเป็น
- รับผิดชอบต่อหน้าที่ที่มอบหมาย - ส่งงานช้าเกิน 2 วัน โดยไม่แจ้งครู
- รับผิดชอบต่อหน้าที่แต่ต้องอาศัยคำชี้แนะ - ไม่ส่งงานที่
มอบหมาย
2. อยู่อย่างพอเพียง - ใช้วัสดุ อุปกรณ์การเรียนอย่างคุ้มค่า
เกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม
- ช่วยดูแลห้องเรียนและความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ
และสมบัติส่วนรวม - ใช้วัสดุ อุปกรณ์การเรียนอย่างคุ้มค่าเกิดประโยชน์ต่อตนเองและสังคม
- ช่วยดูแลห้องเรียนและความสะอาดอย่างสม่ำเสมอ
- ใช้วัสดุ อุปกรณ์การเรียนอย่างคุ้มค่าเกิดประโยชน์ต่อตนเอง - ไม่รักษาสมบัติของส่วนรวม
3. มุ่งมั่นใน
การทำงาน - วางแผนการทำงานอย่างเป็นระบบ
- ปฏิบัติตามระเบียบของทางโรงเรียนอย่างเคร่งครัดทุกครั้ง
- เข้าเรียนตรงเวลา - ปฏิบัติตามระเบียบของทาง
โรงเรียน
- เข้าเรียนช้าไม่เกิน5 นาที - ปฏิบัติตามระเบียบของทาง
โรงเรียน
- เข้าเรียนช้าเกิน 5 นาทีโดยไม่มีเหตุจำเป็น - ไม่เข้าเรียน
เกณฑ์การแปลความหมาย
7.50 9.00 คะแนน ผ่านการประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ระดับ ดีเยี่ยม
6.50 7.49 คะแนน ผ่านการประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ระดับ ดี
4.50 6.49 คะแนน ผ่านการประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ระดับ พอใช้
0.00 4.49 คะแนน ไม่ผ่านการประเมินคุณลักษณะที่พึงประสงค์ ปรับปรุง
เกณฑ์การตัดสิน
4.50 9.00 คะแนน ผ่านเกณฑ์
0.00 4.49 คะแนน ไม่ผ่านเกณฑ์