รายงานการศึกษาในครั้งนี้ผู้รายงานมีวัตถุประสงค์ ดังนี้ 1) เพื่อหาค่าประสิทธิภาพชุดการจัดกิจกรรมกลางแจ้ง โดยใช้เกมการเล่นแบบผสมผสาน เพื่อพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อใหญ่ ของนักเรียนอนุบาลชั้นปีที่ 3 โรงเรียนบ้านมาลา ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80
2) เพื่อเปรียบเทียบความสามารถในการใช้ใช้กล้ามเนื้อใหญ่ ของนักเรียนอนุบาลชั้นปีที่ 3 โรงเรียนบ้านมาลา ก่อนและหลังการใช้ชุดการจัดกิจกรรมกลางแจ้ง โดยใช้เกมการเล่นแบบผสมผสาน
3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนอนุบาลชั้นปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมกลางแจ้ง โดยใช้เกมการเล่นแบบผสมผสาน เพื่อพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อใหญ่ กลุ่มตัวอย่าง โดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) ที่ใช้ในการศึกษาเป็นนักเรียนจำนวน 9 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษาประกอบด้วย 1. คู่มือชุดการจัดกิจกรรมกลางแจ้ง โดยใช้เกมการเล่นแบบผสมผสาน เพื่อพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อใหญ่ ของนักเรียนอนุบาลชั้นปีที่ 3 โรงเรียนบ้านมาลา
2. แผนการจัดประสบการณ์การเรียนรู้ การจัดกิจกรรมกลางแจ้ง โดยใช้เกมการเล่นแบบผสมผสาน เพื่อพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อใหญ่ ของนักเรียนอนุบาลชั้นปีที่ 3 โรงเรียนบ้านมาลาระยะ เวลา 8 สัปดาห์ จำนวน 24 แผน 3. แบบประเมินความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อใหญ่ ก่อนและหลังการประเมินของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนบ้านมาลา จำนวน 1 ฉบับ จำนวน 6 ข้อ 11 รายการประเมิน 4. แบบสังเกตพฤติกรรมระหว่างทำการจัดกิจกรรมกลางแจ้ง โดยใช้เกมการเล่นแบบผสมผสาน เพื่อพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อใหญ่ ของนักเรียนอนุบาลชั้นปีที่ 3 โรงเรียนบ้านมาลา 5. แบบประเมินความพึงพอใจของนักเรียนอนุบาลชั้นปีที่ 3 ที่มีต่อการจัดกิจกรรมกลางแจ้ง โดยใช้เกมการเล่นแบบผสมผสาน จำนวน 1 ฉบับ จำนวน 5 ข้อ และศึกษาการวิเคราะห์ข้อมูลใช้วิธีหาค่าเฉลี่ย (µ) ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน หาค่าประสิทธิภาพเครื่องมือ IOC และเปรียบเทียบความแตกต่างด้วยค่า ที (T-test ) พบว่าได้ผลดังนี้
1. ชุดการจัดกิจกรรมกลางแจ้ง โดยใช้เกมการเล่นแบบผสมผสาน เพื่อพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อใหญ่ ของนักเรียนอนุบาลชั้นปีที่ 3 โรงเรียนบ้านมาลา มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 โดยมีคะแนนประสิทธิภาพกระบวนการ E1 เฉลี่ยทั้ง 8 สัปดาห์ เท่ากับ 20.31 คิดเป็นร้อยละ 84.61 ประสิทธิภาพผลลัพธ์ E2 มีคะแนนเฉลี่ย เท่ากับ 30.89 คิดเป็นร้อยละ 93.60 ตามลำดับ มีค่า 84.61/93.60 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์มาตรฐานที่กำหนด
2. ความสามารถในการใช้ใช้กล้ามเนื้อใหญ่ ของนักเรียนอนุบาลชั้นปีที่ 3 โรงเรียนบ้านมาลา ก่อนและหลังการใช้ชุดการจัดกิจกรรมกลางแจ้ง โดยใช้เกมการเล่นแบบผสมผสาน โดยมีคะแนนก่อนเรียนเฉลี่ย µ เท่ากับ 21.89 คะแนน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน σ เท่ากับ 2.09หรือ ร้อยละ 66.33 และ หลังเรียน มีคะแนนเฉลี่ย 30.89 คะแนน ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน σ เท่ากับ 1.05 หรือ ร้อยละ 93.60 ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบระหว่างคะแนนก่อนและหลังเรียน พบว่า คะแนนสอบหลังเรียน ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 สูงกว่าก่อนเรียน 9.00 คะแนน หรือร้อยละ 27.24 และมีค่า t test เท่ากับ 12.57 คะแนนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01
3. นักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมกลางแจ้ง โดยใช้เกมการเล่นแบบผสมผสาน เพื่อพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อใหญ่ พบว่า ข้อคำถามที่ค่าคะแนนสูงสุด คือ นักเรียนคิดว่ากิจกรรมกลางแจ้ง ที่ครูจัดให้มีความสนุกสนานและความน่าสนใจมากหรือน้อยเพียงใด มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 2.89 และข้อคำถามที่ค่าคะแนนต่ำสุด คือ นักเรียนมีความสนใจและต้องการเข้าร่วมกิจกรรมกลางแจ้ง มากหรือน้อยเพียงใด นักเรียนมีความพอใจต่อการจัดกิจกรรมกลางแจ้ง มากหรือน้อยเพียงใด มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 2.67 นักเรียนมีระดับความพึงพอใจ เฉลี่ย เท่ากับ 2.76 ระดับความพึงพอใจมาก
สรุปได้ว่า การจัดการจัดกิจกรรมกลางแจ้ง โดยใช้เกมการเล่นแบบผสมผสาน เพื่อพัฒนาความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อใหญ่ ของนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 โรงเรียนบ้านมาลา อำเภอเบตง จังหวัดยะลา ที่สร้างขึ้นมีประสิทธิภาพและเหมาะสมกับนักเรียนชั้นอนุบาลปีที่ 3 สามารถนำไปใช้แก้ปัญหาและพัฒนาการทักษะความสามารถในการใช้กล้ามเนื้อใหญ่ ได้เป็นอย่างดี