ชื่อเรื่อง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการไม่ทิ้งขยะในชั้นเรียนโดยการเก็บขยะแลกคะแนน ทุกรายวิชาที่เข้าเรียน
ห้อง 2303 เป็นการเสริมแรง เพื่อความสะอาด เป็นระเบียบเรียบร้อยของห้องเรียน ภาคเรียนที่ 1
ปีการศึกษา 2562 (ต่อยอด)
ชื่อผู้วิจัย นางกมลพร ปุ่นแก้ว
หน่วยงานที่ทำวิจัย วิทยาลัยการอาชีพนครปฐม ตำบลไร่ขิง อำเภอสามพราน จังหวัดนครปฐม
สังกัด สำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา
ปีที่ทำวิจัย 2562
ในการวิจัย เรื่อง ปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการไม่ทิ้งขยะในชั้นเรียน 2303 โดยการเก็บขยะแลกคะแนน ทุกรายวิชา ที่เข้าเรียนห้อง 2303 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 มีวัตถุประสงค์ของการวิจัย 1) เพื่อศึกษาพฤติกรรมของนักเรียนในเรื่องความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ครูมอบหมายกับการทำเวรเพื่อต้องการคะแนน 2) เพื่อเป็นแนวทางในการพัฒนาการปลูกจิตสำนึกของนักเรียนที่พึงมีต่อหน้าที่ของตนและต่อส่วนรวม กลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ นักเรียน ระดับประกาศนียบัตรวิชาชีพ สาขางาน การตลาด และคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ชั้นปีที่ 1 และ ปีที่ 2 วิทยาลัยการอาชีพนครปฐม ที่ลงทะเบียนเรียนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 ตัวแปรที่ใช้ ได้แก่ตัวแปรอิสระ (Independent Variable) ได้แก่ การจัดการเรียนการสอนสำหรับนักเรียน ระดับชั้นประกาศนียบัตรวิชาชีพ ชั้นปีที่ 1และ 2 สาขางาน การตลาด และคอมพิวเตอร์ธุรกิจ ประจำภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 ทุกรายวิชาตามตารางเรียน ตัวแปรตาม (Dependent Variable)ได้แก่ ระดับ ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่นักเรียนพึงมีต่อส่วนรวม หรือทำเวรเพื่อต้องการได้คะแนนจากครูผู้สอน ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 เพื่อเป็นการต่อยอดจากการจัดตารางเวรให้ทำ
ผลการวิจัยพบว่า
จากการวิจัย พบว่าจำนวน และค่าร้อยละของกลุ่มตัวอย่างอยู่ในระดับชั้นปวช. 1 สาขางาน การตลาด และคอมพิวเตอร์ธุรกิจ คิดเป็นร้อยละ75.56 และระดับชั้น ปวช. 2 สาขางานการตลาด คิดเป็นร้อยละ 24.44 จำนวน และค่าร้อยละของกลุ่มตัวอย่าง พบว่า กลุ่มตัวอย่าง คิดเป็นร้อยละ 100 ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ครูมอบหมายในการทำเวร ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โดยภาพรวมพบว่า ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ครูมอบหมายให้ทำตามตารางเวรที่จัดให้ ในสัปดาห์ที่ 1 สัปดาห์ที่ 2 อยู่ในระดับ น้อยมาก มีค่าเฉลี่ย ร้อยละ 8.89 เมื่อพิจารณาเป็นรายบุคคล พบว่า นักเรียนทำเวรตามเงื่อนไขที่ครูออกกฎเกณฑ์เก็บขยะเพื่อแลกคะแนน อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยร้อยละ 72.59 จากการวิจัยครั้งนี้ สรุปได้ว่า นักเรียนมีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ที่ครูมอบหมาย ให้ทำเวรโดยไม่มีคะแนนน้อยกว่าการการทำเวรเพื่อแลกคะแนนจาก
ค
ครูผู้สอน ดังนั้น ผู้วิจัยจึงใช้เป็นแนวทางในการพัฒนาการปลูกจิตสำนึกของนักเรียนที่พึงมีต่อหน้าที่ของตนและต่อส่วนรวมในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 (เป็นการต่อยอด)
การจัดการศึกษาแก่เด็กและเยาวชน ซึ่งเป็นพลังสำคัญในการพัฒนาประเทศในอนาคต ไม่เพียงแต่ให้ความรู้และทักษะด้านวิชาการเท่านั้น สถานศึกษายังมีหน้าที่รับผิดชอบในการเสริมสร้างพัฒนาการทุก ๆ ด้านให้เจริญงอกงาม เพื่อช่วยให้ผู้เรียนพึ่งตนเองและปรับตัวให้อยู่ในสังคมได้อย่างมีความสุข เนื่องจากผู้เรียนแต่ละคนมาจากครอบครัวที่แตกต่างกัน เติบโตมาจากสิ่งแวดล้อมที่ต่างกัน ได้รับการอบรมเลี้ยงดูไม่เหมือนกัน จึงทำให้ผู้เรียนมีพฤติกรรมที่แตกต่างกันออกไป ดังนั้นเด็กบางคนมีพฤติกรรมเป็นที่ยอมรับของสังคม บางคนมีพฤติกรรมที่ไม่พึงประสงค์