ชื่อเรื่อง การพัฒนาแบบฝึกทักษะ วิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน เรื่อง ร้อยละ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน
เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นปวช.2 สาขาวิชาการตลาด วิทยาลัยการอาชีพนครปฐม
ชื่อผู้วิจัย นางสาวจุติพร ทรัพย์ทวีพูล
ปีที่วิจัย ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562
สถานศึกษา วิทยาลัยการอาชีพนครปฐม
บทคัดย่อ
การวิจัย เรื่อง การพัฒนาแบบฝึกทักษะ วิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน เรื่อง ร้อยละ โดยใช้การจัดการเรียนรู้แบบปัญหาเป็นฐาน
เพื่อส่งเสริมความสามารถในการแก้ปัญหา สำหรับนักเรียนชั้นปวช.2 สาขาวิชาการตลาด วิทยาลัยการอาชีพนครปฐม ที่ได้รับการสอนโดยวิธีการใช้กระบวนการสอนแบบเสาะหาความรู้เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญานของนักเรียนในวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 ความมุ่งหมายในการวิจัยเพื่อศึกษาเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์และความสนใจในวิธีการสอน ก่อนเรียนและหลังเรียนวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน โดยใช้กิจกรรมการใช้กระบวนการสอนแบบเสาะหาความรู้เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณญานของนักเรียนในวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ คือ นักเรียนชั้นปีที่ 2 จำนวน 1 ห้องเรียน 18 คน ระยะเวลา 8 ชั่วโมง เป็นเวลา 3 สัปดาห์ เนื้อหาที่ใช้ เรื่อง ร้อยละ ในหนังสือแบบเรียนคณิตศาสตร์พื้นฐาน หลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพ พุทธศักราช 2556 ของสำนักงานคณะกรรมการการอาชีวศึกษา เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง ร้อยละ เป็นแบบปรนัย เลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 10 ข้อ และแบบอัตนัย 1 จำนวน 1 ข้อ และแบบสอบถามวัดความสนใจ จำนวน 10 ข้อ และแบบอัตนัย 1 จำนวน 1 ข้อ และแบบสอบถามวัดความสนใจจำนวน 20 ข้อ ที่ผ่านการหาคุณภาพเครื่องมือตามขั้นตอนแล้ว ใช้สถิติพื้นฐานในการวิเคราะห์ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ส่วนการทดสอบสมมุติฐานสำหรับกลุ่มตัวอย่างที่ไม่เป็นอิสระต่อกัน ใช้ค่า t-test for Dependent Sample
ผลการศึกษา พบว่า
1. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนในเรื่อง ร้อยละ โดยใช้กิจกรรมการใช้กระบวนการสอนแบบเสาะหาความรู้ เพื่อพัฒนาความสามารถด้านการคิดอย่างมีวิจารณานของนักเรียนในวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน เรื่อง ร้อยละ ก่อนการทดลองและหลังการทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01
2. ความสนใจของนักเรียนที่ได้รับการสอนโดยใช้กิจกรรมการใช้กระบวนการสอนแบบเสาะหาความรู้เพื่อพัฒนาความสามารถด้สนการคิดอย่างมีวิจารณญานของนักเรียนในวิชาคณิตศาสตร์พื้นฐาน เรื่อง ร้อยละ ก่อนการทดลองและหลังการทดลองแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01