จากการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนในชั้นเรียนของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ชั้นมัธยมศึกษา ปีที่ 2/2 พบว่านักเรียนมีความสามารถในการเรียนรู้ค่าของตัวเลขได้ แต่ไม่สามารถอ่านค่านาฬิกาได้ถูกต้องครูผู้สอนจึงต้องการที่จะพัฒนาให้นักเรียนมีความสามารถในการอ่านค่าเวลาจากนาฬิกา โดยการใช้ชุดพัฒนาการอ่านค่านาฬิกาพาเพลิน
ชุดนาฬิกาพาเพลินสำหรับนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาเป็นการพัฒนาทักษะวิชาการ เรื่องการอ่านค่านาฬิกาแบบเข็มของนักเรียนให้เพิ่มมากขึ้น ซึ่งชุดนาฬิกาพาเพลินประกอบด้วย 3 ชุดการสอน คือ ชุดนาที ชุดเวลากลางวัน ชุดเวลากลางคืน การใช้ชุดการสอนจะใช้ร่วมกับแผนการจัดกิจกรรม จำนวน 15 แผน พร้อมกันไปด้วย
ผู้วิจัยจึงได้สร้างชุดนาฬิกาพาเพลินเพื่อเพิ่มความสามารถให้นักเรียนสามารถในการอ่านค่านาฬิกาแบบเข็ม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 โรงเรียนภูเก็ตปัญญานุกูล ให้เพิ่มสูงขึ้นในการเรียน
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
เพื่อพัฒนาการอ่านค่านาฬิกาแบบเข็ม โดยการใช้ชุดนาฬิกาพาเพลิน ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางด้านสติปัญญา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 โรงเรียนภูเก็ตปัญญานุกูล
ขอบเขตของการวิจัย
ประชากรและกลุ่มตัวอย่าง
นักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนภูเก็ตปัญญานุกูล จำนวน 4 คน
ตัวแปรที่ใช้ศึกษา
ตัวแปรต้น ได้แก่ ชุดนาฬิกาพาเพลิน
ตัวแปรตาม ได้แก่ ความสามารถทางการอ่านค่าเวลานาฬิกาแบบเข็ม
วิธีดำเนินการวิจัย
1. ประชากร/กลุ่มตัวอย่าง
นักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 โรงเรียนภูเก็ตปัญญานุกูล จำนวน 4 คน
2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย/นวัตกรรม
ประกอบด้วยเครื่องมือ 3 ชนิด คือ
1. แบบทดสอบ
1.1 กำหนดแบบทดสอบ จำนวน 20 ข้อ แบ่งออกเป็น 3 ตอน คือ นาที
เวลากลาง และเวลากลางคืน
1.2 แบบทดสอบก่อนการใช้ชุดนาฬิกาพาเพลิน
ผู้วิจัยดำเนินการทดสอบอ่านค่านาฬิกา จากแบบทดสอบ ก่อนการนำชุดนาฬิกาพาเพลินเข้ามาใช้
1.3 แบบทดสอบหลังการใช้ชุดนาฬิกาพาเพลิน
ผู้วิจัยดำเนินการทดสอบอ่านค่านาฬิกา จากแบบทดสอบ หลังการนำชุดนาฬิกาพาเพลินเข้ามาใช้
1.4 เกณฑ์การตัดสินในการประเมินคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนการใช้ชุดนาฬิกาพาเพลิน ดังนี้
คะแนน 16 20 หมายถึง ดีมาก
คะแนน 11 15 หมายถึง ดี
คะแนน 6 10 หมายถึง พอใช้
คะแนน 0 5 หมายถึง ปรับปรุง
2. แผนการจัดกิจกรรม
- แผนการจัดกิจกรรมการใช้ชุดนาฬิกาพาเพลิน
ประกอบด้วยแผนการจัดกิจกรรมการใช้ชุดนาฬิกาพาเพลิน จำนวน 15 แผนกิจกรรม
แต่ละกิจกรรมใช้เวลา 30 นาที จัดกิจกรรมทั้งหมดเป็นเวลา 3 สัปดาห์ ๆ ละ 5 วัน ในวันจันทร์ถึงศุกร์ต่อเนื่องกัน ในเวลา 13.30 14.00 น.
ซึ่งในแผนการจัดกิจกรรมจะมีความสอดคล่องกับชุดนาฬิกาพาเพลิน มีจำนวน 3 ชุด ๆ ละ 5 กิจกรรม รวมเป็น 15 กิจกรรม
3.ชุดนาฬิกาพาเพลิน
ชุดที่ 1 ชุดนาที จะประกอบด้วยแผนกิจกรรม 5 แผน
ชุดที่ 2 ชุดเวลากลางวัน จะประกอบด้วยแผนกิจกรรม 5 แผน
ชุดที่ 3 ชุดเวลากลางคืน จะประกอบด้วยแผนกิจกรรม 5 แผน
3. การเก็บรวบรวมข้อมูล
ในการศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นแบบไม่เข้าขั้นทดลอง (Pre-experimental design) โดยกลุ่มตัวอย่างกลุ่มเดียว ให้นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนและหลังการทดลอง ที่เรียกว่า One group pretest-posttest design (เผชิญ กิจระการ, 2544) ซึ่งมีรูปแบบการทดลอง ดังนี้
O1
(Pretest) X
(Treatment) O2
(Posttest)
ทดสอบก่อนเรียน การจัดการเรียนรู้ ทดสอบหลังเรียน
เมื่อ O1 แทน การทดสอบอ่านค่านาฬิกาก่อนเรียน
X แทน ชุดนาฬิกาพาเพลิน
O2 แทน การทดสอบอ่านค่านาฬิกาหลังเรียน
3.1 ขั้นตอนการดำเนินการทดลอง
1.1 ผู้วิจัยทำการสำรวจเด็ก
1.2 ผู้วิจัยทำการสังเกตผลการเรียนของเด็ก
1.3 ผู้วิจัยทำการเลือกนักเรียน 4 คนโดยใช้หลักเกณฑ์ดังนี้
- ผลการเรียนทักษะวิชาการ (เวลา/นาฬิกา)
1.4 ในการวิจัยครั้งนี้ การเก็บข้อมูลจะทำโดยการใช้แบบทดสอบก่อนและหลัง การใช้ชุดนาฬิกาพาเพลินเข้ามาใช้
3.2 ขั้นดำเนินการทดลอง
2.1 การทดลองนี้เป็นกระบวนการใช้ชุดนาฬิกาพาเพลิน โดยการใช้แผนจัดกิจกรรม เพื่อพัฒนาการอ่านค่านาฬิกาแบบเข็ม ในช่วงเวลา 13.30-14.00น.
2.2 ผู้วิจัยให้เด็กทำแบบทดสอบการอ่านนาฬิกาก่อนการใช้ชุดนาฬิกาพาเพลิน
2.3 เริ่มทำการทดลองโดยผู้วิจัยตั้งเวลาในการทดลองเป็นเวลา 30 นาที
2.4 ดำเนินการตามขั้นตอนที่ได้กำหนดไว้ในแผนการจัดกิจกรรม
3.3 ขั้นหลังการทดลอง
เป็นการนำผลการทดลองมาพิจารณา หากมีข้อบกพร่อง ผู้วิจัยจะได้หาทางแก้ไขปรับปรุงต่อไป
4. การวิเคราะห์ข้อมูล/สถิติที่ใช้ในการวิจัย
การวิเคราะห์ข้อมูล ทำการวิเคราะห์ข้อมูลดังนี้
1. นำผลที่ได้ก่อนและหลังการใช้ชุดนาฬิกาพาเพลินมาทำการเปรียบเทียบผลที่ได้ ว่าอยู่ในระดับใด
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลพื้นฐานโดยคิดเป็นค่าเฉลี่ยร้อยละ
1. ค่าร้อยละ
2. ค่าเฉลี่ย (Arithmetic Mean) (บุญชม ศรีสะอาด, 2545)
เมื่อ แทน ค่าเฉลี่ย
แทน ผลรวมของคะแนนทั้งหมด
แทน จำนวนคนทั้งหมดในกลุ่มเป้าหมาย
ผลการวิจัย
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
1.ภายหลังจากที่ผู้วิจัยเก็บรวบรวมข้อมูลและผลการทำแบบทดสอบการอ่านค่านาฬิกาและผลการการใช้ชุดนาฬิกาพาเพลิน ผู้วิจัยนำข้อมูลมาวิเคราะห์ดังต่อไปนี้
2.นำข้อมูลที่ได้จากการทำแบบทดสอบการอ่านค่านาฬิกา ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 จำนวน 4 คน นำมาเปรียบเทียบหาความแตกต่างของการทำแบบทดสอบก่อนและหลังการใช้ชุดนาฬิกาพาเพลิน
3.นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 จำนวน 4 คน นักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา นักเรียนมีความสามารถในการอ่านค่านาฬิกาแบบเข็มได้ มีความตั้งใจและมีความขยันเรียนดี
4.ผลการวิจัยการพัฒนาความสามารถด้านวิชาการ เรื่อง การอ่านค่านาฬิกา โดยชุดนาฬิกาพาเพลิน นักเรียนที่มีความบกพร่องทางด้านสติปัญญา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 โรงเรียนภูเก็ตปัญญานุกูล
5.แบบทดสอบ กำหนดแบบทดสอบ จำนวน 20 ข้อ แบ่งออกเป็น 3 ตอน คือ นาที
เวลากลางวัน และเวลากลางคืน
5.1 แบบทดสอบก่อนการใช้ชุดพัฒนาการบวก
ผู้วิจัยและดำเนินการทดสอบการอ่านค่านาฬิกาแบบเข็ม จากแบบทดสอบการอ่านค่านาฬิกาก่อนการนำชุดนาฬิกาพาเพลินเข้ามาใช้
5.2 แบบทดสอบหลังการใช้ชุดพัฒนาการบวก
ผู้วิจัยและดำเนินการทดสอบการอ่านค่านาฬิกาแบบเข็ม จากแบบทดสอบการอ่านค่านาฬิกาหลังการนำชุดนาฬิกาพาเพลินเข้ามาใช้
เกณฑ์การตัดสินในการประเมินคะแนนก่อนเรียนและหลังเรียนการใช้ชุดการบวก ดังนี้
คะแนน 16 20 หมายถึง ดีมาก
คะแนน 11 15 หมายถึง ดี
คะแนน 6 10 หมายถึง พอใช้
คะแนน 0 5 หมายถึง ปรับปรุง
ตารางที่ 1 แสดงคะแนนการทดสอบจากชุดนาฬิกาพาเพลิน จำนวน 3 ชุด ๆ ละ 5 ครั้ง พร้อมการใช้แผนการจัดกิจกรรม ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2
คนที่ แบบทดสอบชุดนาที แบบทดสอบชุดกลางวัน แบบทดสอบชุดกลางคืน
1 2 3 4 5 1 2 3 4 5 1 2 3 4 5
1 4 4 5 7 9 2 5 7 8 10 1 3 6 7 9
2 5 5 7 7 10 5 6 8 8 10 1 5 6 7 8
3 5 5 6 7 9 0 5 7 7 10 1 4 6 6 9
4 5 4 7 7 9 4 5 7 7 10 1 4 6 7 9
จากตารางที่ 1 เป็นการแสดงผลการทำแบบทดสอบระหว่างการใช้ชุดนาฬิกาพาเพลิน จำนวน 3 ชุด ๆ ละ 5 ครั้ง ซึ่งผลการทดสอบพร้อมการใช้แผนนักเรียนมีการพัฒนาเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง
ตารางที่ 2 การเปรียบเทียบระดับคะแนนการทดสอบก่อนและหลังการใช้ชุดนาฬิกาพาเพลิน
คนที่ สอบก่อน O1
(20 คะแนน) สอบหลัง O2
(20 คะแนน) ผลต่าง
1 6 17 11
2 8 18 10
3 6 16 10
4 7 17 10
6.75 17
จากตารางที่ 2 เป็นการแสดงผลการทำแบบทดสอบ ก่อนและหลังการใช้ชุดนาฬิกา
พาเพลิน ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 หลังการใช้ชุดนาฬิกาพาเพลินสูงกว่าก่อนใช่ชุดนาฬิกาพาเพลินมีค่าเฉลี่ย ก่อนการใช้ชุดนาฬิกาพาเพลิน 6.75 หลังการใช้ชุดนาฬิกาพาเพลิน 17 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.5
อภิปรายผลวิจัย
จากการวิจัยครั้งนี้ เป็นการศึกษาการเพิ่มความสามารถในการอ่านค่านาฬิกาแบบเข็ม นักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 โดยการนำการใช้ชุดนาฬิกาพาเพลินร่วมกับแผนการจัดกิจกรรม เข้ามาใช้ในการเพิ่มความสามารถในการอ่านค่านาฬิกาแบบเข็ม ซึ่งสอดคล้องกับหลักการพัฒนานุชรินทร์ สุวรรณชาตรี (2556:บทคัดย่อ) ได้ศึกษาเรื่องการแก้ปัญหาการอ่านเวลา โดยใช้นาฬิกาเงา สำหรับนักเรียนออทิสติก ชั้นปีที่ 6/3 โรงเรียนนครศรีธรรมราชปัญญานุกูล โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อแก้ไขปัญหาการอ่านเวลา และเปรียบเทียบความเข้าใจการอ่านเวลาก่อนและหลังใช้นาฬิกาเงา พบว่าคะแนนก่อนการใช้นาฬิกาเงาเท่ากับ 5 คิดเป็นร้อยละ 50 คะแนน หลังการใช้นาฬิกาเงาเท่ากับ 100 คิดเป็นร้อยละ 50 แสงว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนการใช้นาฬิกาเงาและหลังการใช้นาฬิกาเงาแตกต่างกัน โดยผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลักการใช้นาฬิกาเงาสูงกว่าก่อนการใช้นาฬิกาเงา
การสอนคณิตศาสตร์ เรื่อง นาฬิกา (เวลา) เป็นสิ่งที่นักเรียนทุกคนต้องเรียนรู้ให้สามารถอ่านค่านาฬิกาให้ได้ เพราะการรู้เวลาถือว่าเป็นสิ่งที่มีความจำเป็นในการดำเนินกิจวัตรประจำวัน
นักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 จำนวน 4 คนมีความสามารถในการรู้จักตัวเลข รู้จักนาฬิกาแต่ยังไม่สามารถอ่านค่าได้อย่างถูกต้อง ทางผู้วิจัยจึงสร้างนวัตกรรมชุดนาฬิกาพาเพลิน เข้าใช้ในการพัฒนาการอ่านค่านาฬิการ่วมกับแผนการจัดกิจกรรมของนักเรียน จำนวน 4 คน ผลการวิจัยปรากฏว่านักเรียนมีความสามารถในการอ่านค่านาฬิกาแบบเข็มเพิ่มสูงขึ้น ดังจะเห็นได้จากผลการการทำแบบทดสอบการบวกก่อนและหลังการใช้ชุดนาฬิกาพาเพลิน
ซึ่งจะเห็นได้ว่าแบบทดสอบก่อนการใช้ชุดนาฬิกาพาเพลิน นักเรียนมีผลการทดสอบที่ต่ำกว่าและการทำแบบทดสอบหลังการใช้ชุดนาฬิกาพาเพลินที่มีระดับคะแนนเพิ่มสูงขึ้น แสดงในเห็นว่านักเรียนมีความพัฒนาการอ่านค่านาฬิกาแบบเข็ม เพิ่มสูงขึ้นหลังการใช้ชุดนาฬิกาพาเพลินร่วมกับแผนการจัดกิจกรรม
ข้อเสนอแนะ
ข้อเสนอแนะทั่วไป
การเพิ่มความสามารถในการอ่านค่านาฬิกาแบบเข็ม ของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2/2 ควรจะต้องมีการทำวิธีการสร้างนวัตกรรมที่มีความแปลกใหม่ที่หลากหลาย ที่จะช่วยให้นักเรียนเกิดความรู้และความเข้าใจ รวมถึงความสนใจที่ต้องการใช้นวัตกรรมชุดนาฬิกาพาเพลิน
ข้อเสนอแนะในการศึกษาวิจัย
ผู้วิจัยจำเป็นที่จะต้องศึกษาข้อมูลของนักเรียนให้มากเพื่อเพิ่มความรู้และสร้างความเข้าใจในวิธีการวิจัยมากขึ้น
ผู้วิจัยจะต้องศึกษารูปแบบของการจัดเรียงข้อมูลในการวิจัยให้ถูกต้องเพื่อจะทำให้ผู้อ่านเข้าขั้นตอนต่าง ๆ ที่มีอยู่ในงานวิจัยมากขึ้น