รายงานการวิจัยในชั้นเรียน
ชื่อเรื่อง การพัฒนาทักษะการเขียนด้วยชุดแบบฝึกการเขียน บันได 9 ขั้นสู่การเขียนชื่อ สกุล ของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ระดับชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/3 โรงเรียนภูเก็ตปัญญานุกูล
ชื่อผู้วิจัย นางสุกุล ศิลารักษ์
ทักษะ วิชาการ รหัสทักษะ ทว 21101 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562
ความเป็นมาและความสำคัญของปัญหา
การเขียนเป็นการถ่ายทอดความคิดความรู้สึกและความเข้าใจของตนเองออกมาเป็นตัวอักษร เพื่อสื่อความหมายให้ผู้อื่นเข้าใจทั้งยังเป็นเครื่องมือในการพัฒนาความคิด และสติปัญญา การเขียนจึงเป็นทักษะการแสดงออกทางภาษาที่สำคัญในการสอบและการเรียนทุกวิชา ต้องอาศัยการเขียนเพื่อบันทึกและแสดงความรู้สึกของตนออกมา การเขียนเป็นทักษะที่มีความยากและต้องอาศัยพื้นฐานความรู้ความสามาจึงจะเขียนตัวอักษรได้ การเขียนยังเป็นทักษะที่สลับซับซ้อนกว่าทักษะอย่างอื่น จะเห็นได้ว่าเด็กสามารถเขียนได้จะต้องสามารถฟัง พูด และอ่านได้มาก่อนในตอนเริ่มแรกเด็กจะต้องหัดเขียนเส้นต่างๆก่อนหลายอย่างประกอบกัน กล่าวคือ ต้องใช้ความสามารถทางสมอง สายตา และกล้ามเนื้อมือให้ประสานสัมพันธ์กัน เพื่อแสดงออกในรูปของลายลักษณ์อักษรเพื่อให้เด็กคนอื่นเข้าใจ ดังนั้น การฝึกเขียนให้กับเด็กก่อนวัยเรียน ครูผู้สอนต้องเข้าใจพัฒนาการและความพร้อมของเด็กแต่ละคน นอกจากนี้ครูจะต้องเข้าใจหลักการสอนเขียน เทคนิคและวิธีการจัดองค์ประกอบที่สามารถสนองตอบการเรียนรู้ของเด็กเป็นอย่างดี เพื่อเด็กได้ฝึกและเรียนรู้ได้เต็มศักยภาพที่มีอยู่ในตัวเด็ก การเขียนเป็นทักษะที่มีความยากมากกว่าทักษะการฟัง พูด และอ่าน เพราะการเขียนที่ดีต้องอาศัยความสามารถหลายอย่างประกอบกัน กล่าวคือ ผู้เขียนจะต้องใช้ความสามารถทางด้านสมอง สายตา และกล้ามเนื้อมือให้ประสานสัมพันธ์กันแล้วแสดงออกในรูปของระบบสื่อสารที่มนุษย์คิดขึ้นสาหรับใช้ติดต่อกัน ภาษาเขียนจึงช่วยพัฒนาความคิดสติปัญญาและทัศนคติ ความพร้อมในการเขียนของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาจะเกิดขึ้นได้ ถ้าครูจัดกิจกรรมการเตรียมความพร้อมในการเขียนที่เหมาะสมและมีประสิทธิภาพ การจัดกิจกรรมการเตรียมความพร้อมที่เหมาะและมีประสิทธิภาพควรคำนึงถึงลักษณะของเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาจะมีลักษณะความจำไม่ดี ลืมสิ่งที่เรียนไปแล้วเร็วกว่าเด็กปกติ ดังนั้น การให้เด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญามีโอกาสทำกิจกรรมซ้ำๆ บ่อยๆ จะช่วยให้เด็กเกิดความชำนาญ ทำได้ถูกต้อง ส่งผลให้เด็กมีการเรียนรู้ที่ดีขึ้น (พัชรีวัลย์ เกตุแก่นจันทร์, 2540) การฝึกเขียนเป็นการฝึกให้เด็กเริ่มใช้การขีดเขียนนับตั้งแต่ท่าทางในการนั่ง การจับดินสอ ให้เขียนลากเส้นโดยอิสระ ตามที่เด็กต้องการและเขียนเส้นในลักษณะต่างๆตามแนวหรือทิศทางที่กำหนด ซึ่งอาจพัฒนาเป็นเกมเล่นก็ได้ฝึกเขียนเส้นโดยอิสระ ฝึกเขียนตามที่กำหนดเพื่อคล่องมือเพื่อเตรียมเขียนอักษร (บันลือ พฤกษะวัน,2557)
จากการจัดการเรียนการสอนนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/3 พบว่านักเรียนจำนวน 3 คนไม่สามารถเขียนชื่อ สกุลของตนเองได้โดยจากการวิเคราะห์ผู้เรียนรายบุคคลพบว่านักเรียนทั้งหกคนสามารถเขียนตามรอยประได้แต่ไม่สามารถเขียนเส้นอิสระและพยัญชนะได้ เพื่อแก้ปัญหาดังกล่าวผู้ศึกษาได้ศึกษางานวิจัยและเอกสารทางวิชาการต่างๆพบว่ากิจกรรมการให้เด็กทำแบบฝึกจะช่วยให้เด็กได้มีโอกาสฝึกฝนทักษะต่างๆ ที่มีในแบบฝึกจนเกิดการเรียนรู้และแบบฝึกยังเป็นเครื่องมือสำคัญอย่างหนึ่งที่นำมาใช้ในการฝึกทักษะทางภาษาให้ได้ผลดีดังนั้น การจัดกิจกรรมการเรียนการสอนสำหรับเด็กที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาจะต้องมีเทคนิค วิธีการ หรือกลเม็ดต่างๆ ที่จะช่วยให้วิธีการสอนหรือกระบวนการสอนเกิดผล และบรรลุจุดมุ่งหมายอย่างมีประสิทธิภาพ โดยต้องอาศัยการทำซ้ำ ย้ำทวน และฝึกฝนบ่อยๆ เพื่อให้เกิดทักษะ เกิดการจาและสามารถนำไปใช้ได้ ชุดกิจกรรม ชุดฝึกทักษะ แบบฝึกหัดหรือแบบฝึกทักษะก็เป็นสื่อการเรียนอีกประเภทหนึ่งสำหรับให้นักเรียนฝึกปฏิบัติ (วิมลรัตน์ สุนทรโรจน์, 2545)ด้วยเหตุนี้ผู้วิจัยจึงมีความสนใจในการพัฒนาชุดฝึกการเขียนการเขียนให้กับนักเรียนที่มีความความบกพร่องทางสติปัญญา ซึ่งเป็นงานวิจัยที่
วัตถุประสงค์ของการวิจัย
1. พัฒนาชุดแบบฝึกการเขียน บันไดทักษะ 9 ขั้นสู่การเขียนชื่อ สกุล ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์มาตรฐาน 80/80
2. เพื่อพัฒนาทักษะการเขียนของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/3 โรงเรียนภูเก็ตปัญญานุกูล ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562
ขอบเขตของการวิจัย
การวิจัยครั้งนี้เป็นการศึกษาศึกษา เรื่องการพัฒนาทักษะการเขียนชื่อ สกุลของนักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/3 โดยใช้ชุดแบบฝึกการเขียน 9 ขั้นสู่การเขียนชื่อ สกุล
1. ประชากร/กลุ่มตัวอย่าง
ประชากรที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ นักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 ที่มีปัญหาด้านการเขียน
กลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ นักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 ที่มีปัญหาด้านการเขียน จำนวน 3 คน ได้มาโดยการสุ่มตัวอย่างแบบเจาะจง
2. เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย/นวัตกรรม
2.1 แผนการจัดการเรียนรู้เรื่องการฝึกการเขียน
2.2 แบบทดสอบกระบวนการสอนฝึกเขียนด้วยแบบฝึกการเขียน 9 ขั้นสู่การเขียนชื่อ สกุล
ขั้นที่ 1 การเขียนเส้นตรงตามแนวดิ่งและแนวนอนอย่างอิสระ
ขั้นที่ 2 การเขียนเส้นตรงแนวดิ่ง ตามตัวอย่าง
ขั้นที่ 3 การเขียนเส้นตรงแนวนอน ตามตัวอย่าง
ขั้นที่ 4 การเขียนเส้นวงกลมบวกกับเส้นตรงแนวดิ่งแบ่งออกเป็น 4 รูปแบบ
4.1 รูปแบบที่ 1 คือ q ตัวอย่าง =
4.2 รูปแบบที่ 2 คือ P ตัวอย่าง =
4.3 รูปแบบที่ 3 คือ d ตัวอย่าง =
4.4 รูปแบบที่ 4 คือ b ตัวอย่าง =
ขั้นที่ 5 การเขียนเส้นวงกลมบวกกับเส้นโค้งบวกกับเส้นตรงแนวดิ่ง ตามตัวอย่าง O M I
ขั้นที่ 6 การเขียนเส้นฟันปลา W ตามตัวอย่าง
ขั้นที่ 7 การเขียนตัวพยัญชนะไทยชื่อของตนเองตามรอยประ
ขั้นที่ 8 การเขียนชื่อพยัญชนะไทยชื่อของตนเองตามตัวอย่าง
ขั้นที่ 9 การเขียนตัวพยัญชนะไทยชื่อของตนเองตามคำสั่งได้ถูกต้อง
3. การเก็บรวบรวมข้อมูล ผู้วิจัยได้ดำเนินตามขั้นตอนดังนี้
1. นักเรียนทำแบบทดสอบก่อนเรียน ( Pre-test ) ได้นักเรียนกลุ่มตัวอย่างที่ทำคะแนนแบบทดสอบต่ำกว่าร้อย
2. สร้างและกำหนดรูปแบบการพัฒนาทักษะการเขียน และแบบฝึกเพื่อพัฒนาทักษะการเขียน ตามขั้นตอน 9 ขั้นตอน ต่อไปนี้
2.1 ทดสอบก่อนเรียน
2.2 ทบทวนความรู้เกี่ยวกับการเขียน
2.3 นักเรียนฝึกเขียนด้วยแบบฝึกการเขียน 9 ขั้นสู่การเขียนชื่อ สกุล
3. นักเรียนทำแบบทดสอบหลังเรียน ( Post-test )
4. ขั้นวิเคราะห์ข้อมูล
4.1 วิเคราะห์ข้อมูล
- วิเคราะห์ผลจากคะแนนที่ได้จากการทำแบบทดสอบก่อนเรียน แบบฝึกหัด และแบบทดสอบ
หลังเรียน
4.2 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล
4.2.1 การหาค่าเฉลี่ย ( x )
( x ) = x
N
เมื่อ x = ค่าเฉลี่ย
X = คะแนนที่ได้
N = จำนวนนักเรียนทั้งหมด
= ผลรวมของคะแนนทั้งหมด
4.2.2 การหาค่าร้อยละ
ค่าร้อยละ = คะแนนที่ได้ x 100
คะแนนเต็ม
4.2.3 การคำนวณหาค่าประสิทธิภาพของนวัตกรรมคำนวณโดยใช้สูตร
E 1 = 100
เมื่อ E 1 หมายถึง ประสิทธิภาพของกระบวนการ
X หมายถึง คะแนนรวมของแบบฝึกหัดหรืองาน
A หมายถึง คะแนนเต็มของแบบฝึกหัดทุกชิ้นรวมกัน
N หมายถึง จำนวนผู้เรียน
E2 = 100
เมื่อ E2 หมายถึง ประสิทธิภาพผลลัพธ์
 F หมายถึง คะแนนรวมของการสอบหลังเรียน
B หมายถึง คะแนนเต็มของแบบทดสอบ
N หมายถึง จำนวนผู้สอบ
4.2.4 ค่าเฉลี่ย (Mean) กาญจนา วัฒายุ (๒๕๔๕, หน้า ๑๐๖) ได้ให้ความหมายไว้ว่า เป็นค่ากลางของจำนวนข้อมูล ใช้สูตรสัญลักษณ์ทางสถิติว่า มีสูตรสำหรับการคิดคำนวณ ดังนี้
=
เมื่อ หมายถึง ค่าเฉลี่ย
หมายถึง ผลรวมของคะแนนทั้งหมด
N หมายถึง จำนวนนักเรียน
4.2.5 การหาค่าดัชนีประสิทธิผล ( The Effectivenss Index) ของชุดการสอน แกะสลักเอกลักษณ์ไทย โดยใช้วิธีกูดแมน เฟลทเชอร์ และชไลเดอร์ (Goodman, Flecther and Schneider)อ้างถึงใน ( เตชินทร์ แสงสอดแก้ว : 49)
E.I =
เมื่อ P1 แทน ผลรวมคะแนนก่อนเรียนทุกครั้ง
P2 แทน ผลรมคะแนนหลังเรียนทุกครั้ง
T๐tal แทน ผลคูณของจำนวนนักเรียนกับคะแนนเต็ม
4. การวิเคราะห์ข้อมูล/สถิติที่ใช้ในการวิจัย ผลการวิจัย การประเมินผลจากการอ่านของนักเรียนจากเกณฑ์ที่กำหนดของแต่ละชุด คือ
ตารางที่ 1 ตารางแสดงการพัฒนาทักษะการเขียนด้วยแบบฝึกชุดฝึกเขียนด้วยแบบฝึกการเขียน 9 ขั้นสู่การเขียนชื่อ สกุล
จำนวนนักเรียน (N) ก่อนเรียน หลังเรียน ร้อยละ
1 2 3 4
5 6 7 8 9
ด.ญ กนกกานต์ บุตรหล้า 5 8 9 9 8 8 8 9 7 8 9 90.00
ด.ชวรัตถ์ ช่วยเมือง 5 8 8 9 8 8 8 9 8 7 8 80.00
ด.ญ วนัสนันท์ เครือวัลย์ 6 8 9 9 9 9 9 9 7 7 9 90.000
จากตาราง 1 พบว่านักเรียนที่มีความบกพร่องทางสติปัญญาที่เรียนด้วยแบบฝึกชุดสนุกลากเส้น มีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ย (X ̅) จากการทำแบบทดสอบท้ายบทเรียน เท่ากับ 223 คะแนนจากคะแนนเต็ม 90 คะแนนซึ่ง
คิดเป็นร้อยละ 82.59 และมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนเฉลี่ย (X ̅) จากการทำแบบทดสอบหลังเรียนเท่ากับ 9 คะแนน คิดเป็นร้อยละ 86.67
แสดงว่าประสิทธิภาพของกระบวนการ (E_1) เท่ากับ 82.59 และประสิทธิภาพของผลลัพธ์ (E_2) เท่ากับ 86.67 สรุปได้ว่าประสิทธิภาพของพัฒนาแบบฝึกชุดพัฒนาทักษะการเขียนด้วยแบบฝึกชุดฝึกเขียนด้วยแบบฝึกการเขียน 9 ขั้นสู่การเขียนชื่อ สกุลเท่ากับ 82.59/86.67 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ 80/80 ความมุ่งหมายของการศึกษาค้นคว้าที่กำหนดไว้เป็นไปตามเกณฑ์ 80/80
ตารางที่ 2: แสดงผลการคำนวณดัชนีประสิทธิผล แบบฝึกชุดสนุกลากเส้น
จำนวนนักเรียน
(N) คะแนนเต็ม ผลรวมคะแนนก่อนเรียน ผลรวมคะแนนหลังเรียน ดัชนีประสิทธิผล
3 10 17 26 0.69
จากตารางที่ 2 ตารางเปรียบเทียบคะแนนก่อนและหลังการพัฒนาทักษะการเขียน
จากตารางเปรียบเทียบพบว่า หลังการพัฒนาทักษะการเขียนด้วยแบบฝึกชุดพัฒนาทักษะการเขียนด้วยแบบฝึกชุดฝึกเขียนด้วยแบบฝึกการเขียน 9 ขั้นสู่การเขียนชื่อ สกุล พบว่า นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนสูงขึ้น มีค่าประสิทธิผล 0.69
อภิปรายผลการวิจัย
จากการวิจัยในครั้งนี้ พบว่า หลังจากนักเรียนได้ฝึกเขียนด้วยแบบฝึกการเขียนด้วยแบบฝึกการเขียน 9 ขั้นสู่การเขียนชื่อ สกุลนักเรียนมีทักษะการเขียนดีขึ้น และมีความมั่นใจในการเขียนมากขึ้นเนื่องการการพัฒนาแบบฝึกการเขียนยึดผู้เรียนเป็นสำคัญและพัฒนาขึ้นตามความเหมาะสมของผู้เรียนและให้นักเรียนฝึกซ้ำๆ
ข้อเสนอแนะ
การอ่าน - เขียนเป็นทักษะซึ่งจะสัมฤทธิ์ผลได้จากการกระทำอย่างต่อเนื่อง และหรือสม่ำเสมอ ดังนั้นจึงควรมีการพัฒนาทักษะการเขียนต่อไป โดยการกระตุ้น ให้นักเรียนเห็นความสำคัญและรักการเขียน โดยครูผู้สอนสังเกตการเขียนเป็นระยะๆ และควรพัฒนาทักษะการเขียน กับนักเรียนในระดับชั้นอื่นๆ
ภาพตัวอย่างสื่อนวัตกรรม