ชื่อเรื่อง การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน กลุ่มสาระการ
เรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมเรื่อง การเป็นเยาวชนที่ดีสำหรับนักเรียน
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1
ผู้วิจัย นายพงฐ์ธร ทองแสน
ปีที่ศึกษา 2562
บทคัดย่อ
การพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมเรื่อง เยาวชนที่ดี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 นี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ1) เพื่อหาประสิทธิภาพของแผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมเรื่อง เยาวชนที่ดี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ที่มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/802) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนก่อนเรียนสูงกว่าหลังเรียนที่เรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมเรื่อง เยาวชนที่ดี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1และ 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมเรื่อง เยาวชนที่ดีสำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 โดยมีกลุ่มตัวอย่างในการวิจัย เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1/1 โรงเรียนเทศบาล 3 บ้านเหล่า สังกัดสำนักการศึกษาเทศบาลนครอุดรธานี ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา2562 จำนวน 33 คน ซึ่งได้มาการซึ่งแบบกลุ่ม โดยใช้หน่วยเป็นห้องเรียน เครื่องมือที่ใช้ ได้แก่ 1) แผนการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง เยาวชนที่ดี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 8 แผน16 ชั่วโมง 2) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง เยาวชนที่ดี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 เป็นแบบปรนัยชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ มีค่าความยากรายข้อ (P) ตั้งแต่ 0.21-0.73 ค่าอำนาจจำแนก (B) ตั้งแต่ 0.32-1.00 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับเท่ากับ 0.98 3) แบบวัดความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานกลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมเรื่อง เยาวชนที่ดี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ซึ่งเป็นแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 20 ข้อ มีค่าอำนาจจำแนกรายข้อ (rxy) ตั้งแต่ 0.22-0.96 ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ ( ) เท่ากับ 0.951 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานโดยใช้การทดสอบค่าที (t-test dependent samples)
จากผลการศึกษาพบว่า
1.การจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐานด้วย กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมเรื่อง การเป็นเยาวชนที่ดี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1มีประสิทธิภาพ E1/ E2 = 86.03/83.51
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนที่เรียนโดยใช้ปัญหาเป็นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนา และวัฒนธรรม เรื่อง เยาวชนที่ดี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. นักเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการเรียนรู้โดยใช้ปัญหาเป็นฐาน กลุ่มสาระการเรียนรู้สังคมศึกษาศาสนาและวัฒนธรรมเรื่อง การเป็นเยาวชนที่ดี สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1อยู่ในระดับมาก