การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงประเมิน มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินการบริหารโครงการ การเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบ้านพุตุม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2 ในประเด็นต่อไปนี้ 1) ด้านบริบท 2) ด้านปัจจัยนำเข้า 3) ด้านกระบวนการ 4) ด้านผลผลิต ประกอบด้วย ด้านผลกระทบ ด้านประสิทธิผล และด้านความยั่งยืน ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน จำนวน 1 คน ครูผู้สอนจำนวน 7 คน คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานจำนวน 9 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 6 จำนวน 44 คน ผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 2 6 จำนวน 44 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 105 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถามความคิดเห็น และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียน และแบบสอบถามความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียน สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน
ผลการวิจัย พบว่า
1. ผลการประเมินการบริหารโครงการ การเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบ้านพุตุม สังกัดงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2 พบว่า โดยภาพรวมมีการดำเนินงานอยู่ในระดับมากที่สุด (X = 4.56 S.D.= .06) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านมีการดำเนินงานอยู่ในระดับมากที่สุด ยกเว้น ด้านปัจจัยนำเข้า และด้านกระบวนการ มีการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก ด้านที่มีการดำเนินงานอยู่ในระดับมากที่สุดเรียงตามลำดับคะแนนเฉลี่ย ดังนี้ ด้านความยั่งยืน (X = 4.64 S.D.= .04) ด้านผลกระทบ (X = 4.61 S.D.= .03) ด้านบริบท (X = 4.60 S.D.= .06) ด้านผลผลิต (X = 4.58 S.D.= .03) ด้านประสิทธิผล (X = 4.52 S.D.= .02) ด้านปัจจัยนำเข้า (X = 4.49 S.D.= .05) และด้านกระบวนการ (X = 4.49 S.D.= .16)
2. ผลการประเมินด้านบริบท พบว่า โดยภาพรวมการดำเนินงานอยู่ในระดับมากที่สุด (X = 4.60 S.D.= .06) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ทุกด้านมีการดำเนินงานอยู่ในระดับมากที่สุดเรียงตามลำดับ ดังนี้ ด้านวัตถุประสงค์ของโครงการ (X = 4.63 S.D.= .04) และด้านสภาพแวดล้อมทางังคมของชุมชน (X = 4.57 S.D.= .08)
3. ผลการประเมินปัจจัยนำเข้า พบว่า โดยภาพรวมมีการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก (X = 4.49 S.D.= .05) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านบุคลากรและด้านทรัพยากร มีการดำเนินงานอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยดังนี้ ด้านบุคลากร (X = 4.66 S.D.= .06) ด้านทรัพยากร (X = 4.63 S.D.= .03) ส่วนด้านงบประมาณมีการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก (X = 4.18 S.D.= .04)
4. ผลการประเมินด้านกระบวนการ พบว่า โดยภาพรวมมีการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก (X = 4.49 S.D.= .06) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการวางแผน ด้านการดำเนินงานตามแผน ด้านการตรวจสอบและประเมินผล มีการดำเนินงานอยู่ในระดับมากที่สุด เรียงตามลำดับคะแนนเฉลี่ยดังนี้ ด้านการวางแผน (X = 4.67 S.D.= .06) ด้านการดำเนินงานตามแผน (X = 4.62 S.D.= .03) ด้านการตรวจสอบและประเมินผล (X = 4.55 S.D.= .04) ส่วนด้านการปรับปรุงแก้ไข มีการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก (X = 4.12 S.D.= .08)
5. ผลการประเมินด้านผลผลิต พบว่า โดยภาพรวมมีการดำเนินงานอยู่ในระดับมากที่สุด (X = 4.58 S.D.= .03) นักเรียนมีคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ประการ ได้แก่ 1) รักชาติ ศาสน์ กษัตริย์ 2) ซื่อสัตย์ สุจริต 3) มีวินัย 4) ใฝ่เรียนรู้ 5) อยู่อย่างพอเพียง 6) มุ่งมั่นในการทำงาน 7) รักความเป็นไทย 8) มีจิตสาธารณะ
5.1 ผลการประเมินด้านผลกระทบ พบว่า โดยภาพรวมมีการดำเนินงานอยู่ในระดับมากที่สุด (X = 4.61 S.D.= .03) ผู้เกี่ยวข้อง ได้แก่ ผู้อำนวยการโรงเรียน ครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความพึงพอใจต่อคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า นักเรียนและผู้ปกครองนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการบริหารโครงการ การเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์อยู่ในระดับมาก ความพึงพอใจของนักเรียน (X = 4.19 S.D.= .02) และความพึงพอใจของผู้ปกครองนักเรียน (X = 4.08 S.D.= .08)
5.2 ผลการประเมินด้านประสิทธิผล พบว่า มีการดำเนินงานอยู่ในระดับมากที่สุด (X = 4.52 S.D.= .02) นักเรียนมีพฤติกรรมที่แสดงออกถึงคุณลักษณะอันพึงประสงค์ได้เหมาะสมถูกต้องตามกาลเทศะ และคุณลักษณะอันพึงประสงค์ 8 ประการ สอดคล้องกับความต้องการของนักเรียน
5.3 ผลการประเมินด้านความยั่งยืน พบว่า มีการดำเนินงานอยู่ในระดับมากที่สุด (X = 4.64 S.D.= .04) นักเรียนสามารถพัฒนาตนเองอย่างสม่ำเสมอ และโครงการ การเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์สอดคล้องกับนโยบายการศึกษาชาติและหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐาน ซึ่งต้องดำเนินงานอย่างต่อเนื่อง
ข้อค้นพบจากการวิจัยครั้งนี้แสดงให้เห็นว่า การบริหารโครงการิ การเสริมสร้างคุณลักษณะอันพึงประสงค์ของนักเรียนโรงเรียนบ้านพุตุม สังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบุรี เขต 2 ต้องอาศัยการประสานความร่วมมือกันทุกภาคส่วน ทั้งผู้บริหารโรงเรียน คณะครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียนและชุมชน จึงจะทำให้โครงการประสบความสำเร็จตามวัตถุประสงค์