รายงานการประเมินโครงการเกษตรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในโรงเรียนบ้านหนองปรือน้อย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ปราจีนบุรี เขต 1 โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPP Model
ชื่อผลงาน รายงานการประเมินโครงการเกษตรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในโรงเรียนบ้านหนองปรือน้อย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษา ปราจีนบุรี เขต 1 โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPP Model
ชื่อผู้ประเมินโครงการ นายณัฐธนพล ปะจีน
ปีที่ศึกษา 2561
บทสรุปผู้บริหาร
รายงานการประเมินโครงการเกษตรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงใน โรงเรียนบ้านหนองปรือน้อย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 1 โดยใช้รูปแบบ การประเมินแบบ CIPP Model มีวัตถุประสงค์เพื่อประเมินบริบทของโครงการเกี่ยวกับความต้องการจำเป็นและความเป็นไปได้ของโครงการ ปัจจัยนำเข้าของโครงการเกี่ยวกับความเหมาะสมของบุคลากรที่รับผิดชอบและงบประมาณที่ใช้ในการดำเนินงาน กระบวนการของโครงการเกี่ยวกับกิจกรรมที่ดำเนินการและการติดตามโครงการและผลผลิตของโครงการ มีการประเมินใช้รูปแบบการประเมินแบบซิปป์ (CIPP Model) กลุ่มผู้ให้ข้อมูลมีจำนวน 30 คน ประกอบด้วย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถามแบบมาตราส่วนประเมินค่า (Rating Scale) 5 ระดับ แบบประเมินพฤติกรรม และแบบทดสอบ จำนวน 9 ฉบับ สถิติที่ในการวิเคราะห์ข้อมูลใช้ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบค่าที (t-test) ผลการประเมิน และข้อเสนอแนะสรุปได้ดังนี้
ผลการประเมิน
ผลการประเมินพบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมินตัวชี้วัดทุกตัวชี้วัด ประเด็นการประเมินทุกประเด็น และภาพรวมของโครงการดังนี้
1. การประเมินบริบท (Context Evaluation) ประเมินเกี่ยวกับความเหมาะสมความชัดเจน ความสอดคล้องของวัตถุประสงค์และเป้าหมายกับกิจกรรมของโครงการเกษตรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนบ้านหนองปรือน้อย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 1 โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPP Model โดย ผู้อำนวยการโรงเรียนและกรรมการสถานศึกษา เห็นว่าวัตถุประสงค์ มีความสอดคล้องหรือความเหมาะสมในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.51 ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมิน
เมื่อพิจารณารายด้าน ผู้อำนวยการโรงเรียน และกรรมการสถานศึกษา มีความคิดเห็นว่า วัตถุประสงค์มีความเป็นไปได้ในการดำเนินการ ชัดเจนจำเพาะเจาะจง และสามารถวัดและประเมินได้ มีความสอดคล้อง กับปัญหาและความต้องการของชุมชนมีความเหมาะสมในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.62 และ 4.57 ตามลำดับ รองลงมาคือ วัตถุประสงค์ มีความสอดคล้องกับบริบทของโรงเรียนและชุมชน และวัตถุประสงค์ มีความสอดคล้องกับเป้าหมายของโครงการ มีความเหมาะสมในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.38 และ 4.24 ตามลำดับ ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมิน
2. การประเมินปัจจัยนำเข้า (Input Evaluation) ด้านบุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ และเครื่องมือ สถานที่ดำเนินโครงการและ กิจกรรมต่าง ๆ ของโครงการเกษตรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนบ้านหนองปรือน้อย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 1 โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPP Model ตามความคิดเห็นของ ผู้อำนวยการและครูผู้สอน โดยภาพรวมเห็นว่าปัจจัยนำเข้า มีความสอดคล้องหรือความเหมาะสมในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.26 ซึ่งผ่านเกณฑ์ การประเมิน
เมื่อพิจารณารายด้าน ทุกด้านมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก ด้านบุคลากร วัสดุอุปกรณ์ และเครื่องมือ มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.32 ส่วนด้านสถานที่ดำเนินโครงการและงบประมาณ มีค่าเฉลี่ย เท่ากับ 4.32 และ 4.25 ตามลำดับ ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมิน
3. การประเมินกระบวนการ (Process Evaluation) ประเมินเกี่ยวกับประสิทธิภาพของกระบวนการดำเนินโครงการ ได้แก่ การเตรียมการ การดำเนินการปฏิบัติกิจกรรม การประเมินผลและการสรุปรายงานผล ของโครงการเกษตรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงใน โรงเรียนบ้านหนองปรือน้อย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 1 โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPP Model ตามความคิดเห็น ของครูผู้สอนโดยภาพรวมเห็นว่า กระบวนการตามประสิทธิภาพของการดำเนินโครงการ มีความสอดคล้องหรือมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.30 ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมิน
เมื่อพิจารณารายด้านของประสิทธิภาพการดำเนินโครงการ ด้านการดำเนินการปฏิบัติกิจกรรม การประเมินผล และการเตรียมการ ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน เห็นว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.29, 4.18 และ 4.12 ตามลำดับ ส่วนด้านการสรุปรายงานผล ครูผู้สอนมีความเห็นว่า มีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.62 ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมิน
ความเหมาะสมของการดำเนินการปฏิบัติงานตามกิจกรรมของโครงการเกษตรตามหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนบ้านหนองปรือน้อย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 1 โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPP Model เกี่ยวกับกิจกรรมการผลิตปุ๋ยชีวภาพและสารกำจัดแมลง กิจกรรมการปลูกผักปลอดสารพิษ และกิจกรรมการเลี้ยงปลาเพื่อบริโภค ตามความคิดเห็นของครูผู้สอน โดยภาพรวมเห็นว่า กระบวนการดำเนินการปฏิบัติตามกิจกรรมของโครงการ มีความสอดคล้อง หรือมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.52 ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมิน
เมื่อพิจารณารายกิจกรรม พบว่า กิจกรรมการผลิตปุ๋ยชีวภาพและสารกำจัดแมลง และกิจกรรม การปลูกผักปลอดสารพิษ ตามความคิดเห็นของครูผู้สอนมีความเหมาะสมอยู่ในระดับมากที่สุด มีค่าเฉลี่ย 4.61 และ 4.50 ตามลำดับ ส่วนกิจกรรมการเลี้ยงปลาเพื่อบริโภค ครูผู้สอนมีความเห็นว่า มีความเหมาะสม อยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ยเท่ากับ 4.46 ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมิน
4. ผลการประเมินด้านผลผลิต (Product) คือประเมินผลสัมฤทธิ์ของโครงการ ได้แก่ ความรู้ ความเข้าใจของนักเรียนในเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง ทักษะการปฏิบัติงานทางด้านกิจกรรมเกษตรเศรษฐกิจพอเพียง คุณลักษณะของนักเรียนตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง ความรู้ความเข้าใจของผู้ปกครอง ในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงการผลิตปุ๋ยชีวภาพและสารกำจัดแมลง ความพึงพอใจของนักเรียน ความพึงพอใจ ของครูผู้สอน ผู้อำนวยการโรงเรียน ผู้ปกครอง และกรรมการสถานศึกษาที่มีต่อโครงการ มีผลการประเมินดังนี้
4.1 ความรู้ความเข้าใจของนักเรียนในเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง นักเรียนทำแบบทดสอบ ก่อนดำเนินโครงการ ได้ถูกต้องมีคะแนนเฉลี่ย 11.14 คะแนน ทำแบบทดสอบหลังดำเนินโครงการได้ถูกต้อง มีคะแนนเฉลี่ย 14.56 ค่า t = 8.538 แสดงว่านักเรียนมีความรู้ความเข้าใจ ในเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง หลังดำเนินโครงการสูงกว่าก่อนดำเนินโครงการ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4.2 ทักษะการปฏิบัติงานทางด้านกิจกรรมเกษตรเศรษฐกิจพอเพียง ของโรงเรียน บ้านหนองปรือน้อย โดยรวมร้อยละ 83.34 เมื่อพิจารณารายการประเมินของทักษะการปฏิบัติ พบว่า นักเรียนมีทักษะด้านการเก็บรักษาอุปกรณ์ มากที่สุด ร้อยละ 94.45 รองลงมาคือ มีทักษะในการทำงาน ตามขั้นตอน ผลงานมีคุณภาพ สามารถเลือกใช้อุปกรณ์ และสามารถนำผลงานมาสร้างสรรค์ได้ ร้อยละ 88.89, 83.33, 77.78 และ 72.22 ตามลำดับ ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินทุกด้าน
4.3 คุณลักษณะตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงของนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 4-6 โรงเรียนบ้านหนองปรือน้อย โดยรวมร้อยละ 85.56 เมื่อพิจารณารายการประเมินของคุณลักษณะของนักเรียน พบว่า นักเรียนมีคุณลักษณะด้านความพอประมาณ มากที่สุด ร้อยละ 94.45 รองลงมาคือ ด้านความมีเหตุผล ความมีภูมิคุ้มกันในตัวที่ดี เงื่อนไขความรู้ และเงื่อนไขคุณธรรม ร้อยละ 88.89, 83.33, 83.33 และ 77.75 ตามลำดับ ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมินทุกด้าน
4.4 ความรู้ความเข้าใจของผู้ปกครองในเรื่องเศรษฐกิจพอเพียงการผลิตปุ๋ยชีวภาพ และสารกำจัดแมลง พบว่า ผู้ปกครองทำแบบทดสอบก่อนอบรมได้ถูกต้องมีคะแนนเฉลี่ย 10.12 คะแนน ทำแบบทดสอบหลังการอบรมได้ถูกต้องมีคะแนนเฉลี่ย 15.69 ค่า t = 22.875 แสดงว่าผู้ปกครองมีความรู้ความเข้าใจ ในเรื่อง เศรษฐกิจพอเพียง การผลิตปุ๋ยชีวภาพและสารกำจัดแมลง หลังการอบรมสูงกว่า ก่อนการอบรม อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01
4.5 ความพึงพอใจของนักเรียน พบว่า ระดับความพึงพอใจของนักเรียนต่อโครงการเกษตรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนบ้านหนองปรือน้อย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 1 โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPP Model โดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อ นักเรียนมีทักษะจากการปฏิบัติงานเกษตรเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียน โครงการเกษตรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนบ้านหนองปรือน้อย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 1 โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPP Model น่าสนใจและเรียนได้ อย่างสนุกสนาน ปฏิบัติกิจกรรมตามโครงการอย่างมีความสุข ได้เรียนรู้โดยการปฏิบัติจริงและได้เรียนรู้ โดยกระบวนการกลุ่ม นักเรียนมีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ส่วนหัวข้อ โครงการนี้สามารถนำไปประกอบอาชีพได้ ได้รับประทานอาหารที่มีคุณค่าอย่างเพียงพอและถูกหลักโภชนาการ ได้นำความรู้จากสิ่งที่เรียนไปใช้ในชีวิตประจำวัน และมีภาวะโภชนาการที่ดี มีสุขภาพพลานามัยแข็งแรง นักเรียนมีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนหัวข้อ มีส่วนร่วมและมีการแลกเปลี่ยนเรียนรู้ ซึ่งกันและกันในกิจกรรม ของนักเรียนนักเรียนมีความเห็นอยู่ในระดับปานกลาง ข้อนี้ไม่ผ่านเกณฑ์ การประเมิน
4.6 ความพึงพอใจของ ผู้อำนวยการโรงเรียน ครูผู้สอน ผู้ปกครอง และกรรมการสถานศึกษาที่มีต่อโครงการเกษตรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนบ้านหนองปรือน้อย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 1 โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPP Model พบว่า ระดับความพึงพอใจของผู้อำนวยการโรงเรียน ครูผู้สอน ผู้ปกครอง และกรรมการสถานศึกษา ที่มีต่อโครงการเกษตรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนบ้านหนองปรือน้อย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 1 โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPP Model โดยรวมอยู่ในระดับมาก มีค่าเฉลี่ย 4.50, 4.40, 4.38 และ 4.43 ตามลำดับ เมื่อพิจารณารายกลุ่ม ของแหล่งข้อมูลพบว่า ผู้อำนวยการโรงเรียนมีความพึงพอใจต่อการจัดการเรียนรู้บูรณาการตามโครงการ การจัดการเรียนรู้โดยให้นักเรียนได้ปฏิบัติจริง การจัดกิจกรรมผลิตปุ๋ยชีวภาพและสารกำจัดแมลง การจัดกิจกรรมการปลูกผักปลอดสารพิษการประชาสัมพันธ์โครงการเกษตรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนบ้านหนองปรือน้อย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 1 โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPP Model และการยอมรับของชุมชนในโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด มีความพึงใจต่อการดำเนินงานตามโครงการเกษตรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในโรงเรียนบ้านหนองปรือน้อย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 1 โดยใช้รูปแบบ การประเมินแบบ CIPP Model ความร่วมมือของผู้ปกครองและหน่วยงานที่ให้ความสนับสนุน และการนำความรู้ของนักเรียนไปใช้ในชีวิตประจำวัน อยู่ในระดับมาก ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมิน ส่วนการจัดกิจกรรม การเลี้ยงปลาเพื่อบริโภค ผู้อำนวยการโรงเรียน มีความพึงพอใจอยู่ในระดับปานกลาง ข้อนี้ไม่ผ่านเกณฑ์การประเมิน
ครูผู้สอนมีความพึงพอใจต่อการจัดกิจกรรมการปลูกผักปลอดสารพิษ การจัดกิจกรรมผลิตปุ๋ยชีวภาพและสารกำจัดแมลง และ การจัดการเรียนรู้บูรณาการตามโครงการเกษตรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนบ้านหนองปรือน้อย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 1 โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPP Model อยู่ในระดับมากที่สุด มีความพึงพอใจต่อ การดำเนินงาน ตามโครงการเกษตรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนบ้านหนองปรือน้อย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 1 โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPP Model การจัดการเรียนรู้ โดยให้นักเรียนได้ปฏิบัติจริง การนำความรู้ของนักเรียนไปใช้ในชีวิตประจำวัน การยอมรับของชุมชน ในโครงการ การประชาสัมพันธ์โครงการ และความร่วมมือของผู้ปกครองและหน่วยงานที่ให้ความสนับสนุน อยู่ในระดับมาก ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมิน
ผู้ปกครอง มีความพึงพอใจ การดำเนินงานตามโครงการเกษตรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนบ้านหนองปรือน้อย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 1 โดยใช้รูปแบบ การประเมินแบบ CIPP Model การนำความรู้ของนักเรียนไปใช้ในชีวิตประจำวัน และความร่วมมือ ของผู้ปกครองและหน่วยงานที่ให้ความสนับสนุน อยู่ระดับมากที่สุด ส่วนหัวข้ออื่น ๆ อยู่ในระดับมาก ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมิน
และกรรมการสถานศึกษา มีความพึงพอใจต่อ การดำเนินงานตามโครงการเกษตรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนบ้านหนองปรือน้อย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 1 โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPP Model การจัดการเรียนรู้บูรณาการตามโครงการ และการนำความรู้ของนักเรียนไปใช้ในชีวิตประจำวัน อยู่ระดับมากที่สุด ส่วนหัวข้ออื่น ๆ อยู่ในระดับมาก ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมิน
ความพึงพอใจต่อโครงการของ ผู้อำนวยการโรงเรียน ครูผู้สอน ผู้ปกครอง และกรรมการสถานศึกษาโดยรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายข้อของรายการประเมิน พบว่า การดำเนินงานตามโครงการเกษตรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงในโรงเรียนบ้านหนองปรือน้อย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 1 โดยใช้รูปแบบการประเมินแบบ CIPP Model การนำความรู้ของนักเรียนไปใช้ในชีวิตประจำวัน และความร่วมมือของผู้ปกครองและหน่วยงานที่ให้ความสนับสนุน มีความพึงพอใจ อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วน หัวข้ออื่น มีความพึงพอใจอยู่ในระดับมาก ซึ่งผ่านเกณฑ์การประเมิน
ผลการประเมินโครงการในภาพรวมของโครงการเกษตรตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง ในโรงเรียนบ้านหนองปรือน้อย สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาปราจีนบุรี เขต 1 โดยใช้รูปแบบ การประเมินแบบ CIPP Model พบว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน และอยู่ในระดับมาก ประเด็นตัวชี้วัด อยู่ในระดับมากที่สุด 21 ตัวชี้วัด ระดับมาก 35 ตัวชี้วัด และระ