เรื่อง รายงานผลการพัฒนาชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม เรื่อง ระบบย่อยอาหาร รายวิชาสุขศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5
ผู้รายงาน นายวันชัย โอษะคลัง ตำแหน่งครู วิทยฐานะ ชำนาญการ
สถานศึกษา โรงเรียนบัวขาว อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์
องค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์
บทคัดย่อ
บทคัดย่อ
รายงานครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) สร้างและหาประสิทธิภาพของชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม เรื่อง ระบบย่อยอาหาร รายวิชาสุขศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 ให้มีประสิทธิภาพตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนและหลังเรียน โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ และ 3) เพื่อศึกษาความคิดเห็น/ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจัดการเรียนรู้โดยใช้ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ กลุ่มเป้าหมายที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 / 9 จำนวน 41 คน โรงเรียนบัวขาว อำเภอกุฉินารายณ์ จังหวัดกาฬสินธุ์ องค์การบริหารส่วนจังหวัดกาฬสินธุ์ ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2562 ซึ่งได้มาโดยการเลือกแบบเจาะจง (Purposive Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการรายงาน ได้แก่ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วมเรื่อง ระบบย่อยอาหาร รายวิชาสุขศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 จำนวน 5 ชุด แผนการจัดการเรียนรู้จำนวน 14 แผน ใช้เวลาสอน 14 ชั่วโมง แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ชนิดเลือกตอบ 4 ตัวเลือก จำนวน 40 ข้อ ซึ่งมีค่าอำนาจจำแนกรายข้อตั้งแต่ 0.21ถึง 0.69 และมีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.89 และแบบสอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการจักกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิภาพ และสถิติทดสอบที่ (t-test) ผลการศึกษา พบว่า
1.ชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม เรื่อง ระบบย่อยอาหาร รายวิชาสุขศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 มีประสิทธิภาพของกระบวนการ/ผลลัพธ์เท่ากับ 84.70/82.38 สูงกว่าเกณฑ์ 80/80
2.นักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่5 ที่เรียนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้แบบมีส่วนร่วม เรื่อง ระบบย่อยอาหาร รายวิชาสุขศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5 รายวิชาสุขศึกษามีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3.นักเรียนมีความพึงพอใจ ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนด้วยชุดกิจกรรมการเรียนรู้ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก รายข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ ได้บูรณาการเนื้อหา ในแต่ละเรื่องเข้าด้วยกัน ได้อย่างสอดคล้องและเรียงจากง่ายไปหายาก รองลงมา คือ ชุดกิจกรรมการเรียรู้ส่งเสริมทักษะกระบวนการการเรียนรู้ด้วยตนเองมากยิ่งขึ้น รายข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ชุดกิจกรรมการเรียนรู้ส่งเสริมให้นักเรียนมีทักษะการทำงานอย่างเหมาะสม
โดย สรุปแบบมีส่วนร่วม เรื่อง ระบบย่อยอาหาร รายวิชาสุขศึกษา กลุ่มสาระการเรียนรู้สุขศึกษาและพลศึกษา สำหรับนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 5ที่พัฒนาขึ้นมีประสิทธิภาพและเหมาะสมที่จะส่งเสริมสนับสนุนให้ครูและผู้ที่เกี่ยวข้องนำไปพัฒนาในการจัดกิจกรรมการสอนในสาระการเรียนรู้อื่นๆ ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้นต่อไป