1. ความสำคัญและที่มา
จากการสอนวิชาคอมพิวเตอร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ พบว่า มีนักเรียนจำนวน 10 คน ขาดทักษะพื้นฐานการลงมือปฏิบัติในการใช้งานคอมพิวเตอร์ เป็นผลทำให้ไม่มีงานส่งครูหรือบางคน มีงานส่ง แต่ผลงานอยู่ในเกณฑ์ต้องปรับปรุง เมื่อครูกำหนดชิ้นงานในการลงมือปฏิบัติเกี่ยวกับโปรแกรมต่างๆ ในคอมพิวเตอร์นักเรียนไม่สามารถอธิบายขั้นตอนการทำงานและลงมือปฏิบัติได้
จากปัญหาที่พบ ผู้วิจัยจึงสนใจที่จะแก้ไขปัญหาโดยการใช้โปรแกรมฝึกหัดพิมพ์ดีด นำมาให้นักเรียนได้ฝึกปฏิบัติบ่อยๆจากลำดับความง่ายไปยากเพื่อให้เกิดความชำนาญในการใช้คำสั่ง ซึ่งเป็นพื้นฐานของการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ในระดับสูงต่อไป
2. วัตถุประสงค์ในการวิจัย
1. เพื่อพัฒนาทักษะการลงมือปฏิบัติงานในคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
2. เพื่อให้นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ที่เรียนอ่อนมีผลการเรียนทีดีขึ้น
3. สมมติฐานสำหรับการวิจัย
นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการใช้โปรแกรมฝึกหัดพิมพ์ดีดสูงกว่าก่อนการใช้โปรแกรมฝึกหัดพิมพ์ดีด
4. ขอบเขตของการวิจัย
1. ในการวิจัยพัฒนาครั้งนี้เป็นการใช้โปรแกรมฝึกหัดพิมพ์ดีดเพื่อพัฒนาการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖
2. ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ คือ นักเรียนระดับประถมศึกษาปีที่ ๖ ที่เรียนอ่อน จำนวน 10 คน ของโรงเรียนบ้านเหล็ก ปีการศึกษา 256๒
5. ประโยชน์ที่คาดว่าจะได้รับ
1. สามารถใช้โปรแกรมฝึกหัดพิมพ์ดีดในการพัฒนาความสามารถทางการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์สำหรับเด็กเรียนอ่อนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ ได้
2. นักเรียนมีพัฒนาการในการปฏิบัติงานได้ถูกต้องตามวิธีการและขึ้นตอนดีขึ้นหลังการฝึก
6. วิธีดำเนินการวิจัย
1. กลุ่มเป้าหมาย ได้แก่ นักเรียนชั้น ป.๖ ปีการศึกษา 256๒ จำนวน 10 คน
2. ตัวแปรที่ศึกษา
2.1 ตัวแปรต้น ได้แก่ โปรแกรมฝึกหัดพิมพ์ดีด
2.2 ตัวแปรตาม ได้แก่ ความสามารถทางการเรียนคอมพิวเตอร์ของนักเรียนชั้น ป.๖
3. วิธีการนำไปใช้ ใช้โปรแกรมฝึกหัดพิมพ์ดีดในการฝึก ภาคเรียน ๑ ปีการศึกษา 256๒โดยมีการทดสอบทักษะความสามารถทางการเรียน ดังนี้
3.1 ทดสอบวัดความสามารถในการเรียนก่อนการฝึก 1 ครั้ง
3.2 ทดสอบความสามารถในการฝึกปฏิบัติเป็นระยะ ๆ เมื่อจบขึ้นตอนการฝึกแต่ละบทเรียน
3.3 ทดสอบวัดความสามารถในการเรียนหลังการฝึก 1 ครั้ง
๗. การเก็บรวบรวมข้อมูล
ข้อมูล/ผลที่จะเก็บ วิธีการ เครื่องมือ จำนวนครั้ง/ระยะเวลาที่เก็บ
คะแนนความสามารถในการเรียนคอมพิวเตอร์ การทดสอบ แบบทดสอบ
จำนวน 1 ฉบับ ทดสอบ 2 ครั้ง
ก่อนการฝึก 1 ครั้ง
หลังการฝึก 1 ครั้ง
คะแนนทักษะการปฏิบัติงาน การตรวจผลงาน แบบฝึกปฏิบัติ ตรวจผลงาน 4 ครั้ง
เมื่อจบแต่ละบทเรียน
๘. วิธีการวิเคราะห์ข้อมูล
1. หาค่าเฉลี่ยคะแนนความสามารถทางการเรียนคอมพิวเตอร์ก่อนและหลังการฝึก
2. เปรียบเทียบคะแนนความแตกต่างระหว่างก่อนฝึกและหลังฝึกเป็นรายบุคคล
3. หาค่าร้อยละจำนวนนักเรียนที่มีข้อบกพร่องในการเรียนคอมพิวเตอร์ด้านต่าง ๆ
๙. สถิติที่ใช้ ได้แก่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย
๑๐. ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
๑๐.1 คะแนนเฉลี่ยความก้าวหน้าทางการเรียนคอมพิวเตอร์ของนักเรียน
ตารางที่ 1 ค่าสถิติพื้นฐานคะแนนความก้าวหน้าทางการเรียนคอมพิวเตอร์ของนักเรียน ชั้น ป.๖
จากการทดสอบ 2 ครั้ง
จากตารางที่ 1 พบว่า ความสามารถในการเรียนคอมพิวเตอร์ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ จากการทดสอบ 2 ครั้ง เท่ากับ 5.80 และ 12.90 ซึ่งแสดงให้เห็นอย่างชัดเจนว่า นักเรียนมีความก้าวหน้าในการเรียนสูงขึ้น
๑๐.2 คะแนนความสามารถในการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ ก่อนและหลังการฝึก
ตารางที่ 2 เปรียบเทียบคะแนนความสามารถในการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ของนักเรียน ชั้น ป.๖
ก่อนและหลังการฝึก จำนวน 10 คน
นักเรียนคนที่ คะแนนก่อนเรียน คะแนนหลังเรียน ความก้าวหน้า
ได้ ร้อยละ ได้ ร้อยละ ได้ ร้อยละ
1 7 35 12 60 5 25
2 8 4q 15 75 7 35
3 5 25 12 60 7 35
4 7 35 13 65 6 30
5 4 20 11 55 7 35
6 8 40 14 70 6 30
๗ 6 30 13 65 7 35
๘ 4 20 12 60 8 40
๙ 6 30 13 65 7 35
๑๐ 3 15 14 70 11 55
คะแนนรวม 58 129 71
คะแนนเฉลี่ย 5.80 12.90 7.1q
จากตารางที่ 2 พบว่า คะแนนเฉลี่ยก่อนเรียนของนักเรียนเท่ากับ 5.80 คะแนนเฉลี่ยหลังเรียนเท่ากับ 12.90
ดังนั้น นักเรียนมีคะแนนเฉลี่ยเพิ่มขึ้นโดยเฉลี่ย = 12.90 5.80
= 7.10
นั่นคือ ภายหลังการใช้โปรแกรมฝึกหัดพิมพ์ดีด นักเรียนมีความสามารถในการเรียนคอมพิวเตอร์สูงขึ้น
สรุปผล
ภายหลังการพัฒนาความสามารถทางการเรียนคอมพิวเตอร์สำหรับนักเรียนที่มีความสามารถในการเรียนคอมพิวเตอร์อ่อนในระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖ โดยใช้โปรแกรมฝึกหัดพิมพ์ดีด ปรากฏว่า นักเรียนมีการพัฒนาความสามารถทางการเรียนดีขึ้น
อภิปรายผล
จากผลการใช้โปรแกรมฝึกหัดพิมพ์ดีด ปรากฏว่า นักเรียนมีความสามารถในการเรียนคอมพิวเตอร์ดีขึ้น ซึ่งเมื่อพิจารณาความก้าวหน้าในการเรียนของนักเรียน พบว่า นักเรียนสามารถพัฒนาได้ตามระยะเวลาและจำนวนกิจกรรมที่ฝึกและเมื่อสิ้นสุดการฝึก พบว่า นักเรียนมีทักษะการปฏิบัติที่ดีขึ้น ทั้งนี้อาจเป็นเพราะเครื่องมือที่ใช้ในการพัฒนามีการจัดลำดับความยากง่ายที่เหมาะสมกับผู้เรียน แสดงว่าโปรแกรมฝึกหัดพิมพ์ดีดนี้ ช่วยให้นักเรียนมีความสามารถทางการเรียนวิชาคอมพิวเตอร์ดีขึ้น
ข้อเสนอแนะ
1. ควรฝึกเพิ่มเติมให้กับนักเรียนที่ยังมีข้อบกพร่องในด้านทักษะการปฏิบัติ โดยปรับเปลี่ยนกิจกรรมให้เหมาะสมกับลักษณะของข้อบกพร่องนั้นๆ