รายงานการประเมินโครงการพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษด้วยการจัดการเรียนรู้
รูปแบบ EIS ของโรงเรียนดำรงราษฎร์สงเคราะห์ จังหวัดเชียงราย
ผู้รายงาน : นางศุภรินทร์ พรมรินทร์
ปีที่รายงาน ปีการศึกษา 2562
-------------------------------------------------------------------------
การประเมินโครงการครั้งนี้ทำการประเมินตามรูปแบบซิปป์ (CIPP Model) โดยมีวัตถุประสงค์การประเมิน ประกอบด้วย
1) เพื่อประเมินด้านสภาวะแวดล้อม
2) เพื่อประเมินด้านปัจจัยนำเข้า
3) เพื่อประเมินด้านกระบวนการ
4) เพื่อประเมินด้านผลผลิต
ผู้ให้ข้อมูลที่ใช้ในการประเมินครั้งนี้ แยกตามขั้นตอนการประเมิน ประกอบด้วยคณะกรรมการบริหารฝ่ายวิชาการ จำนวน 27 คน คณะกรรมการดำเนินโครงการ จำนวน 21 คน ครูผู้จัดกิจกรรมการจัดการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษด้วยการจัดการเรียนรู้รูปแบบEIS ปีการศึกษา 2559 จำนวน 53 คน ปีการศึกษา 2560 จำนวน 52 คน นักเรียนปีการศึกษา 2559 จำนวน 318 คน และปีการศึกษา 2560 จำนวน 317 คน ผู้ปกครองของนักเรียนปีการศึกษา 2559 จำนวน 318 คน และปีการศึกษา 2560 จำนวน 317 คน ซึ่งได้มาจากการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลในการประเมินครั้งนี้เป็นแบบสอบถามและแบบรวบรวมผลการประเมิน มีจำนวน 10 ฉบับ เก็บรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างและนำมาวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติค่าเฉลี่ยเลขคณิต , ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.)
ผลการประเมินโครงการในแต่ละด้านดังนี้
1. ด้านสภาพแวดล้อมของโครงการพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษด้วยการจัดการเรียนรู้รูปแบบ EIS ของโรงเรียนดำรงราษฎร์สงเคราะห์ จังหวัดเชียงราย โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ถือว่า ผ่านเกณฑ์การประเมิน ได้คะแนนรวม 9.0 จากคะแนนเต็ม 10 โดยตัวชี้วัด ความเหมาะสมของวัตถุประสงค์ของโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุดและมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมา คือ ความสอดคล้องของกิจกรรมของโครงการกับโครงการปีการศึกษา 2560 อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนความต้องการจำเป็น อยู่ในระดับมากและมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด
2.ด้านปัจจัยนำเข้าของโครงการกับโครงการพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษด้วยการจัดการเรียนรู้รูปแบบ EIS ของโรงเรียนดำรงราษฎร์สงเคราะห์ จังหวัดเชียงราย พบว่า โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ถือว่าผ่านเกณฑ์การประเมิน ได้คะแนนรวม 8.40 จากคะแนนเต็ม 10 โดยตัวชี้วัดความเพียงพอและความเหมาะสมของงบประมาณที่ได้รับการสนับสนุนอยู่ในระดับมากและมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมา คือ ความเหมาะสมและความชัดเจนของวิธีการดำเนินกิจกรรมอยู่ในระดับมาก ส่วนจำนวนและคุณภาพของบุคลากรที่รับผิดชอบ อยู่ในระดับมากเช่นกันและมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด
3. ผลการประเมินความเหมาะสมของกระบวนการดำเนินโครงการกับโครงการพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษด้วยการจัดการเรียนรู้รูปแบบ EIS ของโรงเรียนดำรงราษฎร์สงเคราะห์ จังหวัดเชียงราย โดยภาพรวม พบว่า ปีการศึกษา 2559 อยู่ในระดับมาก และปีการศึกษา 2560 อยู่ในระดับมากเช่นกัน และพบว่า ปีการศึกษา 2560 มีค่าเฉลี่ยความเหมาะสมสูงกว่าปีการศึกษา 2559 เมื่อแยกเป็นรายปีการศึกษา พบว่า ปีการศึกษา 2559 โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อแยกพิจารณารายข้อ พบว่า การดำเนินงาน(Do) อยู่ในระดับมากและมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมา คือ การวางแผน (Plan) อยู่ในระดับมาก ส่วนการนำผลไปปรับปรุงพัฒนา(Action) อยู่ในระดับมากเช่นกันและมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด และปีการศึกษา 2560 โดยภาพรวม อยู่ในระดับมาก เมื่อแยกพิจารณารายข้อ พบว่า การดำเนินงาน (Do) อยู่ในระดับมากที่สุดและมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมา ได้แก่ การวางแผน (Plan)และการติดตามประเมินผล (Check) อยู่ในระดับมาก ส่วนการนำผลไปปรับปรุงพัฒนา(Action) อยู่ในระดับมากเช่นกันและมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด
4. ผลผลิตของโครงการ โดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ถือว่าผ่านเกณฑ์การประเมิน ดังนี้
4.1 ผลการดำเนินกิจกรรมตามโครงการพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ EIS ของโรงเรียนดำรงราษฎร์สงเคราะห์ จังหวัดเชียงราย ปีการศึกษา 2559 โดยภาพรวม โครงการบรรลุวัตถุประสงค์ เป้าหมายที่กำหนด เมื่อพิจารณาแยกกิจกรรมตามโครงการ พบว่า มีกิจกรรมหลักตามโครงการจำนวน 3 กิจกรรมหลัก บรรลุวัตถุประสงค์ จำนวน 3 กิจกรรมหลัก คิดเป็นร้อยละ 100 และปีการศึกษา 2560 โดยภาพรวม โครงการบรรลุวัตถุประสงค์ เมื่อพิจารณาแยกกิจกรรมตามโครงการ พบว่า กิจกรรมหลักตามโครงการจำนวน 2 กิจกรรมหลัก บรรลุวัตถุประสงค์ จำนวน 2 กิจกรรมหลัก คิดเป็นร้อยละ 100
4.2 ระดับการปฏิบัติของครูด้านจัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษด้วยการจัดการเรียนรู้แบบ EIS ของโรงเรียนดำรงราษฎร์สงเคราะห์ จังหวัดเชียงราย ปีการศึกษา 2559 และปีการศึกษา 2560 โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด และพบว่าปีการศึกษา 2560 มีระดับคุณภาพสูงกว่าปีการศึกษา 2559 เมื่อแยกเป็นรายปีการศึกษา พบว่า ปีการศึกษา 2559 โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อแยกพิจารณารายข้อ พบว่า ใช้คำศัพท์เป็นภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้องกับวิชาที่สอน อยู่ในระดับมากที่สุดและมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมา คือ ใช้ประโยคตำถามสั้นๆง่ายๆในการสนทนา ตั้งคำถาม ให้นักเรียนตอบ อยู่ในระดับมากส่วนส่งเสริมนักเรียนแสดงความคิดเห็นเป็นภาษาอังกฤษ อยู่ในระดับมากเช่นกันและมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด และปีการศึกษา 2560 โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อแยกพิจารณารายข้อ พบว่า ใช้คำศัพท์เป็นภาษาอังกฤษที่เกี่ยวข้องกับวิชาที่สอน อยู่ในระดับมากที่สุดและมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุดรองลงมา คือ ใช้ประโยคตำถามสั้นๆง่ายๆในการสนทนา ตั้งคำถาม ให้นักเรียนตอบ อยู่ในระดับมาก ส่วนส่งเสริมนักเรียนนำเสนองานเป็นภาษาอังกฤษ อยู่ในระดับมากเช่นกันและมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด และด้านรางวัลที่ครูผู้จัดกิจกรรมการเรียนรู้เพื่อพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษด้วยการจัดการเรียนรู้รูปแบบ EIS ได้รับ ปีการศึกษา 2559 จำนวน 32 รางวัล คิดเป็นร้อยละ 30.19 ปีการศึกษา 2560 จำนวน 59 รางวัล คิดเป็นร้อยละ 54.63 โดยปีการศึกษา 2560 ได้รับรางวัลมากกว่าปีการศึกษา 2559
4.3 ระดับคุณภาพของนักเรียนด้านทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษด้วยการจัดการเรียนรู้รูปแบบ EIS ของโรงเรียนดำรงราษฎร์สงเคราะห์ จังหวัดเชียงราย แยกตามระดับชั้น ปีการศึกษา 2559 โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุดและปีการศึกษา 2560 โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน และพบว่า ปีการศึกษา 2560 มีระดับคุณภาพสูงกว่าปีการศึกษา 2559 เมื่อแยกพิจารณาเป็นปีการศึกษา พบว่า ปีการศึกษา 2559 โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อแยกพิจารณารายระดับชั้น พบว่า ม.5 ปีการศึกษา 2559 อยู่ในระดับมากที่สุดและมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมา คือ ม.4 ปีการศึกษา 2559 อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน ส่วน ม.1 ปีการศึกษา 2559 อยู่ในระดับมากและมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด และปีการศึกษา 2560 โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อแยกพิจารณารายระดับชั้น พบว่า ม.5ปีการศึกษา 2559 เลื่อนชั้นเป็น ม.6 ปีการศึกษา 2560 อยู่ในระดับมากที่สุดและมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมา คือ ม.4 ปีการศึกษา 2559 เลื่อนชั้นเป็น ม.5 ปีการศึกษา 2560 อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน ส่วน ม.2 ปีการศึกษา 2559 เลื่อนชั้นเป็น ม.3 ปีการศึกษา 2560 อยู่ในระดับมากและมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด
เมื่อแยกตามทักษะการสื่อสาร ปีการศึกษา 2559 โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุดและปีการศึกษา 2560 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน และพบว่าปีการศึกษา 2560 มีระดับคุณภาพสูงกว่าปีการศึกษา 2559 ปีการศึกษา 2559 โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อแยกพิจารณาตามทักษะการสื่อสาร พบว่า การฟัง-เข้าใจและปฏิบัติตาม อยู่ในระดับมากที่สุดและ มีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมา คือ การพูด-การสื่อสาร/ถามตอบในห้องเรียน อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน ส่วนการนำเสนอ/เน้นการพูด อยู่ในระดับมากและมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด และปีการศึกษา 2560 โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อแยกพิจารณาตามทักษะการสื่อสาร พบว่า การฟัง-เข้าใจและปฏิบัติตาม อยู่ในระดับมากที่สุดและมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมา คือ การพูด-การสื่อสาร/ถามตอบในห้องเรียน อยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนการนำเสนอ/เน้นการพูด อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกันและ มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด
ส่วนด้านนักเรียนได้รับรางวัลที่เกิดขึ้นจากการพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษด้วยการจัดการเรียนรู้รูปแบบ EIS ปีการศึกษา 2559 คิดเป็นร้อยละ 1.73 ปีการศึกษา 2560 คิดเป็นร้อยละ 1.99 โดยปีการศึกษา 2560 นักเรียนได้รับรางวัลมากกว่าปีการศึกษา 2559
4.4 ผลผลิตด้านความพึงพอใจของครู นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียนและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีต่อการดำเนินโครงการพัฒนาทักษะการสื่อสารภาษาอังกฤษด้วยการจัดการเรียนรู้รูปแบบ EIS ของโรงเรียนดำรงราษฎร์สงเคราะห์ จังหวัดเชียงราย พบว่า ปีการศึกษา 2559 โดยภาพรวม อยู่ในระดับมากที่สุด และปีการศึกษา 2560 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน และพบว่า ปีการศึกษา 2560 ระดับความพึงพอใจสูงกว่าปีการศึกษา 2559 โดยผลการประเมินความพึงพอใจเป็นไปในทิศทางเดียวกัน โดยปีการศึกษา 2559 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อแยกพิจารณาตามกลุ่มผู้ให้ข้อมูล พบว่า ความพึงพอใจของผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีต่อการดำเนินโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุดและมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมา คือ ความพึงพอใจของครูที่มีต่อการดำเนินโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกัน ส่วนความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการดำเนินโครงการ อยู่ในระดับมากและมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด และปีการศึกษา 2560 โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อแยกพิจารณาตามกลุ่มผู้ให้ข้อมูล พบว่า ความพึงพอใจของผู้ปกครองและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานที่มีต่อการดำเนินโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุดและมีค่าเฉลี่ยสูงที่สุด รองลงมา คือ ความพึงพอใจของครูที่มีต่อการดำเนินโครงการอยู่ในระดับมากที่สุด ส่วนความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อการดำเนินโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุดเช่นกันและมีค่าเฉลี่ยต่ำสุด
ผลการประเมินในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด โดยภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด ถือว่าผ่านเกณฑ์การประเมิน ได้คะแนนรวม 93.40 จากคะแนนเต็ม 100 เมื่อแยกเป็นรายตัวชี้วัด พบว่า ผ่านเกณฑ์ทุกตัวชี้วัด โดยผลผลิตของโครงการ ได้คะแนนสูงสุดคือ 60 จากคะแนนเต็ม 60 รองลงมา คือ กระบวนการ ได้คะแนน 16 จากคะแนนเต็ม 20, สภาพแวดล้อม และปัจจัยนำเข้า ได้คะแนน 8.4 จากคะแนนเต็ม 10 ตามลำดับ