บทคัดย่อ
ชื่อผลงาน : รายงานผลการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
สู่การปฏิบัติในสถานศึกษาของโรงเรียนบ้านวังขอน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษา
ประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 1 ปีการศึกษา 2561
ชื่อผู้ศึกษา : นางกาญจนา สุกาญจนรักษ์
สังกัด : โรงเรียนบ้านวังขอน สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาเพชรบูรณ์ เขต 1
ปี พ.ศ. : 2561
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษาการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติในสถานศึกษาของโรงเรียนบ้านวังขอน เพื่อศึกษาผลการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติในสถานศึกษาของโรงเรียนบ้านวังขอน และเพื่อศึกษาข้อเสนอแนะแนวทางการส่งเสริมการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง สู่การปฏิบัติ ในสถานศึกษาของโรงเรียนบ้านวังขอน
กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ ข้าราชการครูและครูอัตราจ้าง โรงเรียนบ้านวังขอน จำนวน 5 คน นักเรียนระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 4 ถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 จำนวน 14 คน และผู้ปกครองนักเรียนระดับชั้นอนุบาล 2 ถึงระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 โรงเรียนบ้านวังขอน ปีการศึกษา 2560 จำนวน 16 คน รวมจำนวนกลุ่มตัวอย่างทั้งสิ้น 30 คน เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ได้แก่ แบบสอบถามการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติในสถานศึกษาของโรงเรียนบ้านวังขอน ปีการศึกษา 2561 มีลักษณะเป็นแบบมาตราส่วนประมาณค่า ซึ่งศึกษาตามกระบวนการ PDCA คือ ขั้นการวางแผน ขั้นการลงมือปฏิบัติ ขั้นการตรวจสอบผลการปฏิบัติงาน และขั้นการแก้ไขปรับปรุง และการสนทนากลุ่ม (Focus Group) แล้วนำข้อมูลมาวิเคราะห์โดยใช้ค่าสถิติ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน นำเสนอในรูปตารางประกอบและเขียนบรรยายเป็นความเรียง
ผลการศึกษา พบว่า
1. การดำเนินงานโครงการส่งเสริมการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติในสถานศึกษาของโรงเรียนบ้านวังขอน ปีการศึกษา 2561 ทั้ง 4 ด้าน คือ ด้านการวางแผน ด้านการลงมือปฏิบัติ ด้านการตรวจสอบผลการปฏิบัติงาน และด้านการแก้ไขปรับปรุง ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก ( = 4.05)
2. ผลการดำเนินงานโครงการส่งเสริมการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ ในสถานศึกษาของโรงเรียนบ้านวังขอน ปีการศึกษา 2561 ด้านผลลัพธ์/ภาพความสำเร็จ ในภาพรวม อยู่ในระดับมาก ( = 4.06)
3. ข้อเสนอแนะแนวทางการส่งเสริมการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติ ในสถานศึกษาของโรงเรียนบ้านวังขอน
3.1 แนวทางการบริหารจัดการสถานศึกษา มีแนวทางการดำเนินงาน ดังนี้ แต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินงาน ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ผู้บริหารโรงเรียน ตัวแทนข้าราชการครูที่รับผิดชอบ และผู้ทรงคุณวุฒิ สำรวจการบริหารจัดการสถานศึกษา จัดทำข้อมูลการบริหารจัดการสถานศึกษา จัดการประชุมคณะกรรมการดำเนินงาน และนำแนวทางการบริหารจัดการสถานศึกษาในด้านการส่งเสริมการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติในสถานศึกษาอย่างต่อเนื่อง
3.2 แนวทางการพัฒนาหลักสูตรและการจัดการเรียนรู้ มีแนวทางการดำเนินงาน ดังนี้ จัดการประชุมผู้ทรงคุณวุฒิ และข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อจัดทำหลักสูตรของสถานศึกษาตาม หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จัดการประชุมชี้แจงการนำหลักสูตรของสถานศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง บูรณาการการจัดการเรียนการสอนในกลุ่มสาระการเรียนรู้ต่างๆ ทุกระดับชั้นนำหลักสูตรบูรณาการตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปจัดการเรียนการสอน และนิเทศ กำกับ ติดตามการจัดการเรียนการสอน
3.3 แนวทางการพัฒนากิจกรรมพัฒนาผู้เรียน มีแนวทางการดำเนินงาน ดังนี้ จัดการประชุมผู้ทรงคุณวุฒิ และข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา เพื่อจัดทำแนวทางการพัฒนากิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง จัดการประชุมชี้แจง นำแนวทางการพัฒนากิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงไปดำเนินการในสถานศึกษา ดำเนินการประเมินการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อย่างน้อยภาคเรียนละ 1 ครั้ง และเผยแพร่ ผลการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียนตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่สาธารณชน ผู้ปกครอง และชุมชน
3.4 แนวทางการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา มีแนวทางการดำเนินงาน ดังนี้ สำรวจ ความต้องการในการประชุม สัมมนา อบรมเชิงปฏิบัติการ และศึกษาดูงานของข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จัดทำโครงการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษา จัดหางบประมาณ ในการดำเนินการพัฒนา และดำเนินการพัฒนาข้าราชการครูและบุคลากรทางการศึกษาเกี่ยวกับ การส่งเสริมการนำหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงสู่การปฏิบัติในสถานศึกษา