การศึกษาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องการเรียงสับเปลี่ยนเชิงเส้นของสิ่งของที่แตกต่างกันทั้งหมด ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 โรงเรียนนางแดดวังชมภูวิทยา รัชมังคลาภิเษก
การวิจัยครั้งนี้มีจุดมุ่งหมายเพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ก่อนการใช้และหลังการใช้แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การเรียงสับเปลี่ยนเชิงเส้นของสิ่งของที่แตกต่างกันทั้งหมด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้เป็นนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนนางแดดวังชมภูวิทยา รัชมังคลาภิเษก อำเภอหนองบัวแดง จังหวัดชัยภูมิ จำนวน 1 ห้องเรียน นักเรียน 32 คน โดยผู้วิจัยเป็นผู้ดำเนินการสอนด้วยตนเองใช้เวลาทั้งสิ้น 4 สัปดาห์
ผลการศึกษาพบว่า ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3 หลังเรียนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องการเรียงสับเปลี่ยนเชิงเส้นของสิ่งของที่แตกต่างกันทั้งหมด สูงกว่าก่อนเรียน
การวิเคราะห์ข้อมูล
การนำเสนอผลการวิเคราะห์ข้อมูลการทดลองดังนี้
การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3 ก่อนการใช้และหลังการใช้แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องการเรียงสับเปลี่ยนเชิงเส้นของสิ่งของที่แตกต่างกันทั้งหมด
ผลการวิเคราะห์ข้อมูล
การเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4/3 ก่อนการใช้และหลังการใช้แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่องการเรียงสับเปลี่ยนเชิงเส้นของสิ่งของที่แตกต่างกันทั้งหมด วิเคราะห์โดยการหาค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ผลปรากฏดังตาราง
ตาราง ค่าเฉลี่ย ( ) และร้อยละของคะแนนผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน ก่อนการใช้และหลังการใช้แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การบวกและการลบจำนวนเต็ม
คะแนน N คะแนนรวม
ร้อยละ
ก่อนสอบ 32 112 3.5 35.84
หลังสอบ 32 252 7.875 80.64
จากตารางพบว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการสอนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะ เพื่อการซ่อมเสริมสูงกว่าผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนก่อนการสอน แสดงว่าการสอนโดยการใช้แบบฝึกเสริมทักษะเพื่อการซ่อมเสริม ทำให้นักเรียนมีผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนหลังการสอนด้วยแบบฝึกเสริมทักษะสูงกว่าก่อนการสอนแบบปกติ
ข้อเสนอแนะ
1.ข้อเสนอแนะทั่วไป
1.1 ก่อนนำแบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การเรียงสับเปลี่ยนเชิงเส้นของสิ่งของที่แตกต่างกันทั้งหมด
ไปใช้ควรมีการแนะนำการใช้แบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ เพื่อให้เข้าใจถึงจุดมุ่งหมายและวิธีการใช้ให้ถูกต้องชัดเจนจนเกิดความเข้าใจ ความชำนาญของครูหรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับนักเรียน
1.2 ครูผู้สอนควรพัฒนาแบบฝึกทักษะคณิตศาสตร์ เรื่อง การเรียงสับเปลี่ยนเชิงเส้นของสิ่งของที่แตกต่างกันทั้งหมด โดยเฉพาะเนื้อหาที่เกี่ยวข้องกับการเรียงสับเปลี่ยนเบื้องต้น ซึ่งมีเนื้อหาค่อนข้างยากและจะส่งผลให้การเรียนรู้ในหัวข้อถัดไปทำได้ไม่ดี หากไม่เข้าใจตั้งแต่แรก ทั้งนี้ควรให้นักเรียนได้ฝึกฝนในเนื้อหานี้ให้มากยิ่งขึ้น
2. ข้อเสนอแนะในการศึกษาครั้งต่อไป
1. ควรมีการพัฒนาและหาประสิทธิภาพแบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 ในเนื้อหาอื่นๆ
2. ควรมีการทดลองเปรียบเทียบวิธีการเรียนรู้ วิชาคณิตศาสตร์ เรื่อง การเรียงสับเปลี่ยนเชิงเส้นของสิ่งของที่แตกต่างกันทั้งหมด ด้วยแบบฝึกเสริมทักษะคณิตศาสตร์กับวิธีการเรียนรู้ในรูปแบบอื่นๆ เพื่อเป็นแนวทางในการตัดสินใจ เลือกวิธีการเรียนรู้ที่เหมาะสมกับเนื้อหาและความพร้อมของนักเรียน