บทคัดย่อ
ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็กโดยใช้หลักปรัชญา
ของเศรษฐกิจพอเพียงและชุมชนมีส่วนร่วม โรงเรียนบ้านทุ่งราม(รามรุ่งอรชัย)
ผู้วิจัย เจษฎา ลาภจิตร
ปีการศึกษา 2561
การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาสภาพปัจจุบัน ปัญหาและความต้องการการบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็กโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและชุมชนมีส่วนร่วม โรงเรียนบ้านทุ่งราม(รามรุ่งอรชัย) 2) พัฒนารูปแบบการบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็กโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและชุมชนมีส่วนร่วม โรงเรียนบ้านทุ่งราม(รามรุ่งอรชัย) และ 3) ประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็ก โดยใช้หลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียงและชุมชนมีส่วนร่วม โรงเรียนบ้านทุ่งราม(รามรุ่งอรชัย) มีวิธีการดำเนินการวิจัย ประกอบด้วย 4 ขั้นตอน ดังนี้ 1) การวิเคราะห์และกำหนดกรอบแนวคิดในการพัฒนารูปแบบโดยใช้วิธีสังเคราะห์เอกสาร ศึกษาวิเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับการบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็กโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและชุมชนมีส่วนร่วม 2) การสร้างและพัฒนารูปแบบ 3) การทดลองใช้รูปแบบ และ 4) การประเมินผลการใช้รูปแบบ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ครูผู้สอน จำนวน 7 คน นักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 1 - 6 จำนวน 69 คน ผู้ปกครอง จำนวน 69 คน และคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 8 คน รวมทั้งสิ้นจำนวน 153 คน ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 โดยเลือกวิธีสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามตารางของเคร็จซี่และมอร์แกน (Kerjcie & Mogan 1970 : 608) และสุ่มเป็นตัวแทนแต่กลุ่มด้วยวิธีการสุ่มแบบแบ่งชั้น (Stratified Random Sampling) โดยวิธีการจับฉลาก เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ แบบสอบถาม และแบบตรวจสอบรายการ (Checklist) วิเคราะห์ข้อมูล โดยการวิเคราะห์เนื้อหา (Content Analysis) ค่าความถี่ (Frequency) ร้อยละ (Percentage) ค่าเฉลี่ย (Mean) และส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน (Standard Deviation) ผลการวิจัยสรุปได้ดังนี้
1. สภาพการบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็กโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและชุมชนมีส่วนร่วม โรงเรียนบ้านทุ่งราม(รามรุ่งอรชัย) พบว่า ในภาพรวม มีการดำเนินการอยู่ในระดับมาก (x̄ = 4.47) เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน พบว่า ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน มีการดำเนินการอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.52) รองลงมาคือ ด้านการติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา (x̄ = 4.47) ด้านหลักสูตรและการเรียนการสอน (x̄= 4.46) และด้านการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา (x̄ = 4.43) ตามลำดับ
2. รูปแบบการบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็กโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและชุมชนมีส่วนร่วม โรงเรียนบ้านทุ่งราม(รามรุ่งอรชัย) มีสาระสำคัญ ได้แก่ 1) หลักการและเหตุผลของรูปแบบ 2) วัตถุประสงค์ของรูปแบบ 3) องค์ประกอบของรูปแบบตามกรอบตัวชี้วัด 4 ด้าน ได้แก่ ด้านการพัฒนาบุคลากรของสถานศึกษา ด้านหลักสูตรและการเรียนการสอน ด้านการจัดกิจกรรมพัฒนาผู้เรียน และด้านการติดตาม และประเมินผลการจัดการศึกษา และ 4) ตัวชี้วัด ความสำเร็จของรูปแบบ ตามความคิดเห็นของผู้ทรงคุณวุฒิโดยภาพรวม มีความเหมาะสม ความถูกต้อง และมีความเป็นไปได้ในการนำไปใช้ประโยชน์
3. การประเมินผลการใช้รูปแบบการบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็กโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและชุมชนมีส่วนร่วมโรงเรียนบ้านทุ่งราม(รามรุ่งอรชัย) พบว่า
3.1 ความคิดเห็นของนักเรียนชั้นประถมศึกษาเกี่ยวกับทักษะชีวิตตามหลักปรัชญา ของเศรษฐกิจพอเพียง ที่ได้รับการจัดการศึกษาตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและชุมชน มีส่วนร่วม โดยภาพรวม มีการดำเนินการอยู่ในระดับมาก โดยด้านการรู้เท่าทันการเปลี่ยนแปลงของสภาพสังคม มีผลการดำเนินการอยู่ในระดับมากที่สุด (x̄ = 4.48) รองลงมา คือ ด้านการไม่เอาเปรียบผู้อื่นและไม่ทำให้ผู้อื่นเดือดร้อน ( = 4.47) ด้านการวางแผนการใช้ชีวิตประจำวันบนพื้นฐานของข้อมูลข่าวสาร (x̄ = 4.46) และด้านการใช้ทรัพยากรของส่วนรวมอย่างประหยัด (x̄ = 4.45) ตามลำดับ
3.2 ผู้บริหาร ครูและคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการบริหารจัดการศึกษาโรงเรียนขนาดเล็กโดยใช้หลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงและชุมชนมีส่วนร่วม โรงเรียนบ้านทุ่งราม(รามรุ่งอรชัย) ภาพรวมอยู่ในระดับพึงพอใจมากที่สุด (x̄ = 4.52) ซึ่งเมื่อพิจารณาแยกแต่ละด้าน พบว่า มีความพึงพอใจในระดับมากที่สุดในทุกด้าน ด้านความพอประมาณ ด้านความมีเหตุผล ด้านการมีภูมิคุ้มกันที่ดี ด้านความรู้ และด้านคุณธรรม)