บทคัดย่อ
การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) หาประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ โรงเรียนบ้านบาเจาะ 2) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ในการเรียน โดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ โรงเรียนบ้านบาเจาะ และ 3) ศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนต่อการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำ
ที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ โรงเรียนบ้านบาเจาะ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้ คือนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ โรงเรียนบ้านบาเจาะ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต ๒ ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๑ จำนวน ๒๑ คน
ที่ผู้ศึกษาเป็นครูประจำชั้น เครื่องมือที่ใช้ในการศึกษา ประกอบด้วย ๑) แผนการจัดการเรียนรู้
กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช ๒๕๕๑ ระดับชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ๒) แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำ
ที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ๓) แบบทดสอบ
วัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ๔) แบบสอบถามความพึงพอใจ
ของนักเรียน ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ที่มีต่อการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำ
ที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
ผลการศึกษาพบว่า
๑. ประสิทธิภาพของแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ โรงเรียนบ้านบาเจาะ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต ๒ ที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น มีค่าเท่ากับ ๘๒.๗๓/๘๕.๘๗ ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่ตั้งไว้ (E1/E2=80/80)
๒. ผลสัมฤทธิ์ที่เกิดจากการเรียนโดยใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ โรงเรียนบ้านบาเจาะ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต ๒ หลังเรียนสูงกว่าก่อนเรียน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติระดับ .๐๑ ทั้งในภาพรวมและเฉลี่ยรายเรื่อง
๓. ระดับความพึงพอใจของนักเรียนต่อการใช้แบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ โรงเรียนบ้านบาเจาะ สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษายะลา เขต ๒ เฉลี่ยโดยส่วนรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
ข้อเสนอแนะ
๑) ควรนำผลการพัฒนาแบบฝึกเสริมทักษะการอ่านและการเขียนคำที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ โรงเรียนบ้านบาเจาะ ชุดนี้เผยแพร่
ไปยังผู้เกี่ยวข้องและหน่วยงานต่างๆ เพื่อที่จะได้นำผลและเครื่องมือต่างๆ ไปใช้ในการพัฒนาการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนกลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปี ๒ ให้มีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้นต่อไป เพราะจากผลการศึกษายืนยันได้ถึงความสำเร็จในการนำไปใช้แล้ว คือ
การมีประสิทธิภาพเท่ากับ ๘๒.๗๓/๘๕.๘๗ สามารถพัฒนาผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนการอ่านและเขียนที่มีตัวสะกดไม่ตรงมาตรา กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒ ให้สูงขึ้น และนักเรียนมีความพึงพอใจต่อการใช้เฉลี่ยโดยส่วนรวมอยู่ในระดับมากที่สุด
๒) ควรศึกษาเปรียบเทียบผลการใช้แบบฝึกเสริมทักษะกับนวัตกรรมอื่น เพื่อเป็นแนวทาง
ในการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนเพื่อพัฒนาทักษะของนักเรียนควรใช้แหล่งเรียนรู้ในการประกอบการเรียนการสอนที่หลากหลาย เพื่อจัดบรรยากาศให้เอื้อต่อการเรียนการสอน ไม่ควรจัดการเรียนการสอนเฉพาะแต่ในห้องเรียน