ชื่อเรื่อง การพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์ในการคิดที่เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้
โดยใช้วิธีสอนแบบโครงงาน สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3
ผู้วิจัย ทัศนีย์ อันติมานนท์
ปีการศึกษา 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ คือ 1) เพื่อศึกษาข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์ในการคิดที่เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ โดยใช้วิธีสอนแบบโครงงาน สำหรับเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 2) เพื่อสร้างและหาประสิทธิภาพรูปแบบการจัดประสบการณ์ในการคิดที่เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ โดยใช้วิธีสอนแบบโครงงาน สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3ตามเกณฑ์ 80/80 3) เพื่อศึกษาผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์ในการคิดที่เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ โดยใช้วิธีสอนแบบโครงงาน เพื่อเปรียบเทียบพัฒนาการของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 ก่อนและหลังการเรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดประสบการณ์ในการคิดที่เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ โดยใช้วิธีสอนแบบโครงงานและเพื่อศึกษาความสามารถในการคิดที่เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 โดยใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์ในการคิดที่เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ และ 4) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 ที่มีต่อรูปแบบการจัดประสบการณ์ในการคิดที่เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ โดยใช้วิธีสอนแบบโครงงาน สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3ประชากรที่ใช้ในการวิจัยในครั้งนี้ คือ เด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3 ที่กำลังศึกษาในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนเทศบาลบ้านศรีตะกั่วป่า สังกัดเทศบาลเมืองตะกั่วป่า อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงา จำนวนทั้งสิ้น 77 คน ได้แก่ ชั้นอนุบาลปีที่ 3/1 จำนวน 39 คน และชั้นอนุบาลปีที่ 3/2 จำนวน 38 คนกลุ่มตัวอย่าง ที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ เด็กชั้นอนุบาลปีที่ 3/2 โรงเรียนเทศบาลบ้านศรีตะกั่วป่า สังกัดเทศบาลเมืองตะกั่วป่า อำเภอตะกั่วป่า จังหวัดพังงาจำนวน 38 คน ในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 ซึ่งได้มาโดยการเลือกสุ่มแบบกลุ่ม (Cluster Random Sampling) เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ประกอบด้วย 1) แผนการจัดประสบการณ์ตามแนวคิดรูปแบบการจัดประสบการณ์ในการคิดที่เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ โดยใช้วิธีสอนแบบโครงงาน Working 4Pro Model สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3จำนวน 40 แผน 2) แบบทดสอบวัดความสามารถในการคิดที่เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ จำนวน 20 ข้อ 3) แบบประเมินความสามารถในการทำโครงงาน จำนวน 10 ข้อ4) แบบสอบถามความพึงพอใจของเด็กปฐมวัย ชั้นอนุบาลปีที่ 3 ที่มีต่อรูปแบบการจัดประสบการณ์ในการคิดที่เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ โดยใช้วิธีสอนแบบโครงงาน จำนวน 5 ข้อสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่าประสิทธิภาพ และวิเคราะห์ความแตกต่างโดยใช้ t-test(Dependent Samples)
ผลการวิจัยพบว่า
1. ข้อมูลพื้นฐานในการพัฒนารูปแบบการจัดประสบการณ์ในการคิดที่เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ โดยใช้วิธีสอนแบบโครงงาน สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 จากการวิเคราะห์เอกสารมีหลากหลายความต้องการ
2. รูปแบบการจัดประสบการณ์ในการคิดที่เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ โดยใช้วิธีสอนแบบโครงงาน สำหรับเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีค่าประสิทธิภาพ (E1/E2) เท่ากับ 82.27/83.29 ซึ่งสูงกว่าเกณฑ์ที่กำหนดไว้ (80/80)
3. ผลการทดลองใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์ในการคิดที่เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ โดยใช้วิธีสอนแบบโครงงาน พบว่า
3.1ความสามารถในการคิดที่เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 หลังการใช้รูปแบบการจัดประสบการณ์ในการคิดที่เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้โดยใช้วิธีสอนแบบโครงงานแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .01 โดยคะแนนหลังการจัดประสบการณ์สูงกว่าก่อนการจัดประสบการณ์
3.2 ความสามารถในการทำโครงงานของเด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 ที่เรียนรู้ด้วยรูปแบบการจัดประสบการณ์ในการคิดที่เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ โดยใช้วิธีสอนแบบโครงงานโดยภาพรวม อยู่ในระดับดี คือ เด็กปฐมวัยมีความสามารถในการทำโครงงานได้ มีความตั้งใจ กระตือรือร้นในการศึกษาค้นคว้า มีความรับปิดชอบในการทำงานตามที่ได้รับมอบหมาย มีการวางแผนการทำงาน มีส่วนร่วมในการแก้ปัญหาและสรุปผลงานกลุ่ม
4. เด็กปฐมวัยชั้นอนุบาลปีที่ 3 มีความพึงพอใจต่อรูปแบบการจัดประสบการณ์ในการคิดที่เป็นพื้นฐานในการเรียนรู้ โดยใช้วิธีสอนแบบโครงงาน พบว่า มีความพึงพอใจในระดับมาก