ชื่อเรื่อง การพัฒนาแบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำมาตราแม่ ก กา
และมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
ชื่อผู้วิจัย นางสาวปานหทัย วังทะพันธ์
สังกัด โรงเรียนเทศบาล ๑ (หนองแสง) เทศบาลเมืองนครพนม จังหวัดนครพนม
ปีที่พิมพ์ 2561
บทคัดย่อ
การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อหาประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่าน และ
เขียนสะกดคำ มาตรา แม่ ก กาและมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษา
ปีที่ 3 ตามเกณฑ์ 80/80 2) เพื่อเปรียบเทียบผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนระหว่างก่อนเรียนและหลังเรียน
โดยใช้แบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำมาตรา แม่ ก กาและมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระ
การเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 3) เพื่อศึกษาความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบ
ฝึกทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำมาตรา แม่ ก กาและมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 กลุ่มตัวอย่าง เป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 โรงเรียนเทศบาล ๑ (หนองแสง) จำนวน 1 ห้องเรียน นักเรียนจำนวน 30 คนได้มาโดยวิธีการสุ่มอย่างง่าย (Simple Random Sampling) โดยใช้ห้องเรียนเป็นหน่วยสุ่ม เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ 1) แผนการจัดการเรียนรู้ เรื่อง การอ่านและเขียนสะกดคำ มาตราแม่ ก กา และมาตราตัวสะกด จำนวน 18 แผน 2) แบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำมาตราแม่ ก กา และมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 9 ชุด 3) แบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์ทางการเรียน เรื่อง การอ่านและเขียนสะกดคำมาตราแม่ ก กา และมาตราตัวสะกด เป็นข้อสอบแบบเลือกตอบ (Multiple Choice) ชนิด 3 ตัวเลือก จำนวน 30 ข้อ มีค่าความยากง่าย (P) ระหว่าง 0.37 ถึง 0.77 ค่าอำนาจจำแนก (B) ระหว่าง 0.25 ถึง 0.70 และค่าความเชื่อมั่นของแบบทดสอบทั้งฉบับ เท่ากับ 0.95 และ 4) แบบ สอบถามความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำ กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 จำนวน 15 ข้อ ค่าความเชื่อมั่นทั้งฉบับ เท่ากับ 0.84 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และทดสอบสมมติฐานการวิจัยด้วยค่าที (t-test)
ผลการวิจัย พบว่า
1. ประสิทธิภาพของแบบฝึกทักษะการอ่าน และเขียนสะกดคำ มาตราแม่ ก กา และ
มาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 เท่ากับ 81.48/82.00 เป็นไป
เกณฑ์ที่กำหนดไว้ คือ 80/80
2. ผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนของนักเรียนหลังเรียนด้วยแบบฝึกทักษะการอ่าน และเขียน
สะกดคำมาตรา แม่ ก กาและมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3
สูงกว่าก่อนเรียนอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
3. ความพึงพอใจของนักเรียนที่มีต่อแบบฝึกทักษะการอ่านและเขียนสะกดคำมาตรา แม่ ก กาและมาตราตัวสะกด กลุ่มสาระการเรียนรู้ภาษาไทย ชั้นประถมศึกษาปีที่ 3 โดยรวมอยู่ในระดับมาก