บทสรุปสำหรับผู้บริหาร
รายงานการประเมินโครงการวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง โรงเรียนบ้านแม่ขรี (สวิงประชาสรรค์) มีวัตถุประสงค์ของการประเมินโครงการเพื่อ 1) ประเมินด้านสภาพแวดล้อมของโครงการ ได้แก่ วัตถุประสงค์ของโครงการที่สอดคล้องกับความต้องการจำเป็นและวัตถุประสงค์ของโครงการวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 2) ประเมินความเหมาะสมของโครงการในด้านปัจจัยนำเข้า ได้แก่ ความพร้อมและความเหมาะสม ด้านบุคลากร งบประมาณ วัสดุอุปกรณ์ และการบริหารจัดการของโครงการวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง 3) ประเมินความเหมาะสมของโครงการในด้านกระบวนการ ได้แก่ การวางแผน การประชาสัมพันธ์ การรับสมัคร การอำนวยความสะดวก การจัดกิจกรรม ปัญหาและอุปสรรคของโครงการ 4) ประเมินผลผลิตของโครงการ (1) ประเมินความสำเร็จโดยภาพรวมของโครงการ (2) ประเมินผลสำเร็จของกิจกรรม (3) ประเมินความพึงพอใจของ ครู กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครอง และผู้นำชุมชน (4) ประเมินความพึงพอใจของนักเรียน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการประเมิน คือ ครู 26 คน (เลือกเจาะจงเฉพาะครูผู้สอน) กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน จำนวน 13 คน (เลือกเจาะจงเฉพาะบุคคลที่ไม่ได้ดำรงตำแหน่งผู้บริหารและครูโรงเรียนบ้านแม่ขรี(สวิงประชาสรรค์)) ผู้ปกครองนักเรียน จำนวน 79 คน (เลือกเจาะจงเฉพาะผู้ปกครองนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3) ผู้นำชุมชน 12 คน (เลือกเจาะจงเฉพาะผู้ที่ไม่ดำรงตำแหน่งในคณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน) นักเรียนจำนวน 79 คน (เลือกเฉพาะนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 3)
เครื่องมือที่ใช้ในการประเมิน ได้แก่ แบบสอบถามลักษณะมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ จำนวน 7 ฉบับ ฉบับที่ 1 ด้านสภาพแวดล้อม มีข้อคำถาม 10 ข้อ สำหรับถามครูและกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับที่ 2 ด้านปัจจัยนำเข้า มีข้อคำถาม 10 ข้อ สำหรับถามครูและกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับที่ 3 ด้านกระบวนการมีข้อคำถาม 10 ข้อ สำหรับถามครูและกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ฉบับที่ 4 ด้านผลผลิตเกี่ยวกับความสำเร็จของโครงการ มีข้อคำถาม 10 ข้อ สำหรับถามครู กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้นำชุมชน ฉบับที่ 5 ด้านผลผลิตเกี่ยวกับความสำเร็จของกิจกรรม มีข้อคำถาม 10 ข้อ สำหรับถามครู กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้นำชุมชน ฉบับที่ 6 ด้านความพึงพอใจ มีข้อคำถาม 10 ข้อ สำหรับถามครู กรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้นำชุมชนและผู้ปกครอง และฉบับที่ 7 ด้านความพึงพอใจ มีข้อคำถาม 8 ข้อ สำหรับถามนักเรียน
สรุปผลการประเมิน
1. ผลการประเมินในภาพรวมของโครงการ พบว่าผลการประเมินโครงการในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณารายด้านพบว่าทั้ง 4 ด้านอยู่ในระดับมาก โดยเรียงตามลำดับค่าเฉลี่ยจากมากที่สุดไปหาน้อยที่สุด ดังนี้ การประเมินด้านสภาพแวดล้อม อยู่ในระดับมาก( = 4.49, S.D= 0.32 ) การประเมินด้านปัจจัยนำเข้า อยู่ในระดับมาก ( = 4.46, S.D= 0.27 ) การประเมินด้านผลผลิต อยู่ในระดับมาก ( = 4.43, S.D= 0.50 ) และการประเมินด้านกระบวนการ ค่าเฉลี่ย 4.42 อยู่ในระดับมาก( = 4.42, S.D= 0.29)
2. ผลการประเมินด้านสภาพแวดล้อม พบว่า ความคิดเห็นโดยรวมของครู และกรรมการ สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในด้านสภาพแวดล้อมของโครงการโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.49, S.D= 0.32) และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ โครงการสอดคล้องกับนโยบายและเป้าหมายของโรงเรียน และหน่วยงานต้นสังกัด อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.59, S.D= 0.55 ) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ โรงเรียนมีการประชุมเพื่อวางแผนและเตรียมความพร้อมในการดำเนินโครงการ อยู่ในระดับมาก ( = 4.36, S.D = 0.54)
3. ผลการประเมินด้านปัจจัยนำเข้า พบว่า ความคิดเห็นโดยรวมของครู และคณะกรรมการ สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในด้านปัจจัยนำเข้า ของโครงการโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.46, S.D= 0.27 ) และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ การแต่งตั้งคณะกรรมการดำเนินการมีจำนวนและความรู้ ความสามารถเหมาะสมและระยะเวลาที่กำหนดไว้มีความเหมาะสมต่อการดำเนินโครงการ อยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากัน ( = 4.72, S.D= 0.46 ) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ มีการดำเนินงานโครงการอย่างต่อเนื่องและเหมาะสม อยู่ในระดับมาก ( = 4.10, S.D = 0.60 )
4. ผลการประเมินด้านกระบวนการ พบว่า ความคิดเห็นโดยรวมของครู และคณะกรรมการ สถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ในด้านกระบวนการ ของโครงการโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.42, S.D= 0.29 ) และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ โรงเรียนมีการวางแผนการดำเนินโครงการทุกขั้นตอนและรายงานผลทุกขั้นตอน อยู่ในระดับมากที่สุด ซึ่งมีค่าเฉลี่ยเท่ากัน ( = 4.64, S.D = 0.58 ) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ การดำเนินกิจกรรมเป็นไปตามวิธีและขั้นตอนที่ระบุไว้ในโครงการ อยู่ในระดับมาก ( = 4.10, S.D = 0.64 )
5. ผลการประเมินด้านผลผลิต พบว่า
5.1 ผลการประเมินความสำเร็จของโครงการ พบว่า ความคิดเห็นโดยรวมของครู
คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน และผู้นำชุมชนในด้านผลผลิต ความสำเร็จของโครงการโดย ภาพรวมอยู่ในระดับมาก ( = 4.27,S.D = 0.33) และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ โรงเรียนควรดำเนินการโครงการวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงต่อไป อยู่ในระดับมาก ( = 4.43, S.D= 0.54) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ย ต่ำสุด คือ โรงเรียนนำผลผลิตที่ได้จากการจัดกิจกรรมโครงการวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาสนับสนุนโครงการอาหารกลางวัน อยู่ในระดับมาก ( = 4.08,S.D = 0.87)
5.2 ผลการประเมินความสำเร็จของกิจกรรม พบว่า ความคิดเห็นโดยรวมของครู
คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐานและผู้นำชุมชน ในด้านผลผลิต ผลสำเร็จของกิจกรรมโดยภาพ รวมอยู่ในระดับ( = 4.42, S.D = 0.23) และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ โรงเรียนได้รับผลผลิตจากกิจกรรมการเรียนรู้อย่างเหมาะสมและพอเพียง อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.71, S.D= 0.54 ) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ นักเรียนมีความรู้ความเข้าใจกิจกรรมการขนมไทยใจอิ่มบุญ อยู่ในระดับมาก ( = 4.08, S.D = 0.59 )
5.3 ด้านความพึงพอใจ
5.3.1 ผลการประเมินความพึงพอใจ ของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองและผู้นำชุมชน พบว่า ความพึงพอใจของครู คณะกรรมการสถานศึกษาขั้นพื้นฐาน ผู้ปกครองและผู้นำชุมชน ต่อการดำเนินโครงการวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีความพึงพอใจโดยภาพรวมอยู่ในระดับมาก มาก ( = 4.44, S.D = 0.27) และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ ผลการดำเนินโครงการวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงเป็นแบบอย่างแก่โรงเรียนอื่น/หน่วยงานอื่น อยู่ในระดับมากที่สุด ( = 4.66, S.D = 0.58) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ ครูผู้รับผิดชอบโครงการวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมีความรู้และพัฒนาทักษะการทำงาน อยู่ในระดับมาก ( = 4.04, S.D= 0.65)
5.3.2 ผลการประเมินความพึงพอใจ ของนักเรียน พบว่า ความพึงพอใจของนักเรียน ต่อการดำเนินโครงการวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง มีความพึงพอใจโดยภาพ รวมอยู่ในระดับมาก( = 4.47, S.D = 0.27) และเมื่อพิจารณาเป็นรายข้อ พบว่า ข้อที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ นักเรียนสนใจที่จะเข้าร่วมกิจกรรมของโครงการวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง อยู่ในระดับมาก ( = 4.60, S.D = 0.59) ส่วนข้อที่มีค่าเฉลี่ยต่ำสุด คือ กิจกรรมในฐานความรู้โครงการวิถีชีวิตตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงส่งเสริมสนับสนุนการเรียนรู้ของนักเรียน อยู่ในระดับมาก ( = 4.24, S.D = 0.70)
ข้อเสนอแนะ
1. นโยบายการจัดการศึกษาของโรงเรียนในแต่ละปีการศึกษา ควรสื่อสารให้ผู้เกี่ยวข้องทราบและเข้าใจตรงกันเพื่อว่า จะมีการตรวจสอบทบทวนนโยบายของโรงเรียน ซึ่งบริบทของสังคมได้เปลี่ยนแปลงตลอดเวลา
2. การดำเนินงานโครงการ/กิจกรรม ควรมีการประสานความร่วมมือกับบุคคลและหน่วยงานอื่น ๆ เพื่อให้การดำเนินงานบรรลุเป้าหมายและวัตถุประสงค์ที่กำหนด ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากยิ่งขึ้น
3. กิจกรรมต่าง ๆ ของโครงการควรกำหนดขั้นตอนในการปฏิบัติให้ชัดเจนและสื่อความหมายที่เข้าใจได้ง่าย พร้อมปฏิบัติได้ทันที
4. การมอบหมายให้บุคลากรในโรงเรียนรับผิดชอบ ควรพรรณนางานไว้ด้วย เพื่อผู้ปฏิบัติจะรู้ขอบข่ายของงาน และบุคลากรอื่นสามารถปฏิบัติแทนได้เมื่อมีเหตุจำเป็น
5. การจัดกิจกรรมการเรียนการสอน ตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง เป็นการปฏิรูปการเรียนการสอน ตามนโยบายการจัดการศึกษาของกระทรวงศึกษาธิการ ดังนั้นควรส่งเสริมสนับสนุนให้ครูได้ตระหนักถึงการปฏิรูปการเรียนการสอน โดยการใช้เทคนิคและวิธีการอย่างหลากหลาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งการวางแผนการสอน ครูต้องทำแผนการจัดการเรียนรู้ที่สอดคล้องกับแนวทางการนำปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงมาบูรณาการทุกกลุ่มสาระ และจัดทำแผนการจัดการเรียนรู้ให้เป็นปัจจุบัน และสามารถใช้สอนแทนกันได้ โดยผ่านการตรวจสอบจากผู้บริหารหรือผู้ที่ได้รับมอบหมาย
6. กิจกรรมต่าง ๆ ของโครงการ ควรปรับปรุงให้เหมาะสมกับบริบทของโรงเรียนและชุมชน เพื่อเอื้อต่อการเรียนรู้ พร้อมนำไปใช้ในชีวิตประจำวัน
7. การประชาสัมพันธ์โครงการ เป็นสิ่งจำเป็น เพราะชุมชนจะได้ทราบและให้ความร่วมมือ